พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

โสปากเถราปทานที่ ๙ (๑๙) ว่าด้วยผลแห่งการถวายอาสนะดอกไม้

 
บ้านธัมมะ
วันที่  26 พ.ย. 2564
หมายเลข  41008
อ่าน  317

[เล่มที่ 71] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 54

เถราปทาน

สีหาสนิยวรรคที่ ๒

โสปากเถราปทานที่ ๙ (๑๙)

ว่าด้วยผลแห่งการถวายอาสนะดอกไม้


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 71]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 54

โสปากเถราปทานที่ ๙ (๑๙)

ว่าด้วยผลแห่งการถวายอาสนะดอกไม้

[๒๑] พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าสิทธัตถะ เสด็จมายังสำนัก ของเรา ซึ่งกำลังชำระเงื้อมเขาอยู่ที่ภูเขาสูงอันประเสริฐ เรา เห็นพระพุทธเจ้าเสด็จเข้ามา ได้ตกแต่งเครื่องลาดแล้ว ได้ ปูลาดอาสนะดอกไม้ถวายแด่พระโลกเชษฐ์ผู้คงที่ ประทับนั่ง พระภาคเจ้า พระนามว่าสิทธัตถะนายกของโลก ประทับนั่ง บนอาสนะดอกไม้ ทรงทราบคติของเรา ได้ตรัสความที่ สังขารไม่เที่ยงว่า สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงหนอ มีความเกิด ขึ้นและเสื่อมไปเป็นธรรมดา เกิดขึ้นแล้วย่อมดับไป ความที่ สังขารเหล่านั้นสงบระงับเป็นสุข. พระสัพพัญญูเชษฐบุรุษของโลก เป็นพระผู้ประเสริฐ ทรงเป็นนักปราชญ์ ตรัสดังนี้แล้ว เสด็จเหาะขึ้นในอากาศ ดังพระยาหงส์ในอัมพร.

เราละทิฏฐิของตนแล้ว เจริญอนิจจสัญญา ครั้นเราเจริญ อนิจจสัญญาได้วันเดียวก็ทำกาละ ณ ที่นั้นเอง เราเสวยสมบัติ ทั้งสอง อันกุศลมูลตักเตือนแล้วเถิดในภพที่สุด เข้าถึงกำเนิด พ่อครัว.

เราออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต เรามีกาลฝน ๗ โดย กำเนิด ได้บรรลุพระอรหัต เราปรารภความเพียร มีใจแน่ว แน่ตั้งมั่นอยู่ในศีลด้วยดี ยังพระมหานาคให้ทรงยินดีแล้ว ได้

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 55

อุปสมบท ในกัปที่ ๙๔ แต่กัปนี้ เราได้ทำกรรมใดในกาลนั้น ด้วยผลแห่งกรรนั้นเรา ไม่รู้ทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการถวาย อาสนะดอกไม้ในกัปที่ ๙๔ แต่กัปนี้ เราได้เจริญสัญญาใด ในกาลนั้น เราเจริญสัญญานั้นอยู่ ได้บรรลุอาสวขัยแล้ว.

คุณวิเศษเหล่านี้ คือปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้าเรา ได้ทำเสร็จแล้วฉะนี้.

ทราบว่า ท่านพระโสปากเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้แล.

จบโสปากเถราปทาน

๑๙. อรรถกถาโสปากเถราปทาน

อปทานของท่านพระโสปากเถระ มีคำเริ่มต้นว่า ปพฺภารํ โสธยนฺ- ตสฺส ดังนี้.

ท่านพระโสปากะแม้นี้ ได้บำเพ็ญบุญญาธิการไว้ในพระพุทธเจ้าองค์ ก่อนๆ สั่งสมบุญทั้งหลายอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานในภพนั้นๆ ใน กาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า สิทธัตถะบังเกิดเป็นบุตรแห่ง กุฎุมพีคนหนึ่ง. วันหนึ่ง เห็นพระศาสดาแล้วได้น้อมนำผลมะงั่วเข้าไป ถวายพระศาสดา. พระศาสดาเสวยแล้ว เพราะทรงอาศัยความอนุเคราะห์ แก่ท่าน. ภิกษุนั้นเลื่อมใสยิ่งในพระศาสดาและในพระสงฆ์ เริ่มตั้งสลากภัต ได้ถวายภัตเจือน้ำมันตลอดอายุแก่ภิกษุ ๓ รูป ด้วยอำนาจสังฆุทเทส. ท่านเสวยสมบัติในเทวโลก และมนุษยโลก ไปๆ มาๆ ด้วยบุญเหล่านั้น

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 56

ครั้งหนึ่งบังเกิดในกำเนิดมนุษย์ ได้ถวายภัตเจือน้ำนมแก่พระปัจเจกพุทธเจ้ารูปหนึ่ง.

ท่านบำเพ็ญบุญในภพนั้นๆ อย่างนี้ ท่องเที่ยวไปในสุคตินั้นเอง ในพุทธุปบาทกาลนี้ ถือปฏิสนธิในท้องของหญิงเข็ญใจคนหนึ่งในกรุงสาวัตถี ด้วยผลอันไหลออกแห่งกรรมในก่อน. นางบริหารครรภ์ตลอด ๑๐ เดือน เมื่อครรภ์แก่ ในเวลาตลอดไม่สามารถจะตลอด ท่านได้ถึงความ สลบ นอนเหมือนตายไปหลายเวลา. พวกญาตินำนางไปสู่ป่าช้าด้วยสำคัญ ว่าตายแล้ว ยกขึ้นสู่จิตกาธาร เมื่อพายุฝนตั้งขึ้น ด้วยอานุภาพของเทวดา จึงไม่ได้จุดไฟ พากันหลีกไป. ทารกเป็นผู้ไม่มีโรคออกจากท้องมารดา ด้วยอานุภาพแห่งเทวดานั้นเอง เพราะเธอเกิดในภพสุดท้าย. ฝ่ายมารดา ได้ทำกาละแล้ว. เทวดาเข้ามาด้วยรูปเป็นมนุษย์พาเด็กนั้นไปวางไว้ในเรือน ของตนเฝ้าป่าช้า เลี้ยงดูด้วยอาหารอันสมควร ตลอดเวลาเล็กน้อย. เบื้อง หน้าแต่นั้น คนเฝ้าป่าช้ากระทำให้เป็นเหมือนบุตรของตนให้เจริญแล้ว. ท่านเมื่อเจริญอย่างนั้น เที่ยวเล่นกับเด็กชื่อว่า สุปปิยะ อันเป็นบุตรข้องคน เฝ้าป่าช้านั้น. เขาได้ชื่อว่า โสปากะ เพราะเกิดเติบโตในป่าช้า.

ภายหลังวันหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแผ่ข่าย คือพระญาณไปใน เวลาใกล้รุ่ง ทรงตรวจดูเฉพาะสัตว์ผู้เป็นเผ่าพันธุ์ผู้จะแนะนำได้ จึงทอด พระเนตรเห็นท่านอยู่ในข่ายคือพระญาณ จึงได้เสด็จไปสู่ที่ป่าช้า. ทารกอัน บุพเหตุตักเตือน จึงมีใจเลื่อมใสเข้าไปเฝ้าพระศาสดา ถวายบังคมได้ยืน อยู่แล้ว. พระศาสดาทรงแสดงธรรมแก่เธอ. เธอฟังธรรมแล้วทูลขอ บรรพชา ถูกพระศาสดาตรัสถามว่า เธอเป็นผู้อันบิดาอนุญาตแล้วหรือ? จึงได้นำบิดาไปยังสำนักพระศาสดา. บิดาของเธอถวายบังคมพระศาสดา

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 57

แล้ว อนุญาตด้วยคำว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระองค์โปรดให้ บรรพชาเด็กนี้เถิด. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงให้เธอบรรพชาแล้ว ทรง แนะนำด้วยเมตตาภาวนา เธอกำหนดกรรมฐานมีเมตตาเป็นอารมณ์อยู่ใน ป่าช้าไม่นานนัก กระทำฌานมีเมตตาเป็นอารมณ์ให้เป็นบาท เจริญ วิปัสสนาทำให้แจ้งซึ่งพระอรหัตแล้ว. ท่านแม้เป็นพระอรหันต์แล้ว ก็ได้ แสดงเมตตาภาวนาวิธีแก่ภิกษุในป่าช้าเหล่าอื่น จึงได้กล่าวคาถาว่า ยถาปิ เอกปุตฺตสฺมึ ดังนี้เป็นต้น. ท่านกล่าวคำอธิบายไว้ว่า มารดาและบิดาพึง เป็นผู้มีความฉลาด แสวงหาประโยชน์เกื้อกูลโดยส่วนเดียวในบุตรน้อย คนเดียวผู้เป็นที่รักที่ชอบใจฉันใด พึงเป็นผู้มีความฉลาดในสัตว์ทั้งปวง ผู้สถิตอยู่ในทิศทั้งปวง ต่างด้วยทิศตะวันออกเป็นต้น หรือในภพทั้งปวง ต่างด้วยกามภพเป็นต้น แม้ในสถานที่มั่นคงทั้งปวง ต่างด้วยคนหนุ่มเป็นต้น ฉันนั้น ไม่กระทำเขตแดนว่า มิตร ผู้เป็นกลาง ผ้าเป็นข้าศึก พึงเจริญ เมตตามีรสเป็นอันเดียวกัน ในที่ทุกสถาน ด้วยอำนาจความแตกต่างแห่ง เขตแดน ก็แลครั้นกล่าวคาถานี้แล้วได้ให้โอวาทว่า ถ้าท่านผู้มีอายุทั้งหลาย พึงเจริญเมตตาอย่างนี้ไซร้ และอานิสงส์เมตตา ๑๑ อย่างที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสโดยนัยมีอาทิว่า ย่อมหลับเป็นสุข ดังนี้ ท่านทั้งหลานจงเป็น ผู้มีส่วนแห่งอานิสงส์ของเมตตา ๑๑ อย่างนั้นโดยส่วนเดียว.

ท่านได้บรรลุผลอย่างนี้แล้ว พิจารณาบุญที่คนทำแล้วเกิดโสมนัส เมื่อจะแสดงปุพพจริตาปทานจึงกล่าวคำมีอาทิว่า ปพฺภารํ โสธยนฺตสฺส ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปพฺภารํ ได้แก่ ที่อันสงัดแห่งภูเขาอัน ล้วนแล้วแต่หิน. ท่านกระทำที่นั่นให้เป็นกำแพงอิฐ เพราะเป็นสถานที่ สมควรแก่บรรพชิต ประกอบบานประตูไว้ ถวายเพื่อเป็นที่อยู่ของพวก

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 58

ภิกษุ. ชื่อว่า ปพฺภาร เพราะจะต้องปรารถนาภาระหนักโดยประการ. พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า สิทธัตถะ เสด็จมา คือเสด็จถึงสำนักของเรา ผู้ชำระเงื้อมเขานั้นให้สะอาด.

บทว่า พุทธํ อุปคตํ ทิสฺวา ความว่า เราเห็นพระพุทธเจ้าเสด็จ มาสู่สำนักของเราอย่างนี้แล้ว ให้ปูลาดเครื่องลาด คือเครื่องหญ้าและใบ ไม้เป็นต้น เครื่องลาดไม้ให้สำเร็จ ถวายอาสนะดอกไม้ คืออาสนะอัน สำเร็จด้วยดอกไม้ แต่พระพุทธเจ้า ผู้เป็นโลกเชษฐ์ ผู้คงที่คือชื่อว่า ประกอบด้วยดอกเครื่องคงที่ เพราะเป็นผู้ไม่หวั่นไหวในอิฏฐารมณ์และ อนิฏฐารมณ์เป็นสภาวะ.

บทว่า ปุปฺผาสเน นิสีทิตฺวา ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า สิทธัตถะ ผู้นำโลก ประทับนั่งบนอาสนะดอกไม้ ที่เขาตบแต่ง ไว้นั้น. บทว่า มมญฺจ คติมญฺาย ความว่า ทราบคือรู้คติ คือสถานที่ อุบัติต่อไปของเรา แล้วทรงเปล่งคือแสดง อนิจจตา คือภาวะเป็นของ ไม่เที่ยง.

บทว่า อนิจฺจา วต สงฺขารา ความว่า สังขารทั้งปวงอันอาศัย ปัจจัยตบแต่งขึ้นโดยส่วนเดียว คือมีความเป็นไปตามปัจจัยเป็นธรรมดา ชื่อว่าไม่เที่ยงหนอ เพราะอรรถว่ามีแล้วกลับไม่มี. บทว่า อุปฺปาทวยธมฺมิโน ความว่า สังขารเหล่านั้นเกิดขึ้นแล้ว มีความพินาศไปเป็น สภาวะ คือเกิดขึ้นแล้ว ปรากฏแล้ว ย่อมดับไปคือย่อมพินาศไป. บทว่า เตสํ วูปสโม สุโข ความว่า การเข้าไปสงบแห่งสังขารเหล่านั้นโดยพิเศษ เป็นสภาพนำมาซึ่งความสุข. อธิบายว่า พระนิพพานอันกระทำความสงบ แห่งสังขารเหล่านั้นนั่นแล เป็นสุขโดยส่วนเดียว.

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 59

บทว่า อิทํ วตฺวาน สพฺพฺญู เชื่อมความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้รู้ธรรมทั้งปวง เป็นผู้ประเสริฐที่สุดคือเป็นผู้เจริญแห่งโลก เป็นผู้ยิ่งใหญ่ เป็นประธาน เป็นวีรบุรุษแห่งนระ ตรัสคือแสดงพระธรรมเทศนาอัน เกี่ยวด้วยสภาวะไม่เที่ยงนี้ เหาะไปสู่ท้องฟ้า คือสู่อากาศ เหมือนพญาหงส์ ในอัมพรคือบนอากาศฉะนั้น.

ละ คือทิ้งทิฏฐิของตนคือลัทธิ ความยินดีความชอบใจ ได้แก่ อัธยาศัยของตน. บทว่า ภาวยานิจฺจสญฺหํ ความว่า เราทำสัญญาอันเป็น ไปในสภาวะอันไม่เที่ยง ว่าไม่เที่ยงให้เกิดมี คือให้เจริญ ได้แก่ ทำไว้ในใจ. บทว่า ตตฺ กาลํ กโต อหํ ความว่า ทำกาละในชาตินั้นๆ จากชาตินั้น คือตักเตือนไป. บทว่า เทฺว สมฺปตฺตี อนุโภตฺวา ความว่า เสวยสมบัติทั้ง ๒ กล่าวคือ มนุษย์สมบัติ และทิพยสมบัติ. บทว่า สุกฺกมูเลน โจทิโต ความว่า อันกุศลแต่ก่อน หรืออันกุศลมูลอันเป็นเดิม เร้าใจแล้ว คือทักเตือนแล้ว. บทว่า ปจฺฉิเม ภเว สมฺปตฺเต ความว่า เมื่อภพสุดท้าย ถึงพร้อมแล้วคือมาถึงแล้ว. บทว่า สปากโยนุปาคมึ ความว่า เข้าถึง กำเนิดพ่อครัว ทำภัตให้สุกแล้วเอง. ภัตเพื่อสกุลใดอันตนให้สุกแล้ว สกุลอื่นไม่พึงบริโภค อธิบายว่า เราบังเกิดในตระกูลจัณฑาลนั้น. อีกอย่างหนึ่ง สุนัขท่านเรียกว่า สา (หมา). อธิบายว่า เกิดในตระกูล จัณฑาลผู้บริโภคภัตอันเป็นเดนจากสุนัข. คำที่เหลือมีอรรถง่ายทั้งนั้นแล.

จบอรรถกถาโสปากเถราปทาน