พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

สุมังคลเถราปทานที่ ๑๐ (๒๐) ว่าด้วยผลแห่งการถวายอาหาร

 
บ้านธัมมะ
วันที่  26 พ.ย. 2564
หมายเลข  41009
อ่าน  353

[เล่มที่ 71] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 60

เถราปทาน

สีหาสนิยวรรคที่ ๒

สุมังคลเถราปทานที่ ๑๐ (๒๐)

ว่าด้วยผลแห่งการถวายอาหาร


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 71]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 60

สุมังคลเถราปทานที่ ๑๐ (๒๐)

ว่าด้วยผลแห่งการถวายอาหาร

[๒๒] เราประสงค์จะบูชาเครื่องเซ่นสรวง จึงให้ตกแต่งโภชนาหาร ยืนอยู่ที่โรงใหญ่ คอยต้อนรับพราหมณ์ทั้งหลาย ครั้งนั้น เราได้เห็นพระผู้มีพระภาคสัมพุทธเจ้า พระนามว่าปิยทัสสี ทรงมียศมาก ทรงนำโลกทั้งปวงให้วิเศษ เป็นสยัมภู อัครบุคคลผู้โชติช่วง อันพระสาวกทั้งหลายแวดล้อม รุ่งเรืองดัง พระอาทิตย์ เสด็จดำเนินไปในถนน จึงประนมอัญชลียังจิต ของตนให้เลื่อมใส นิมนต์ด้วยใจเท่านั้นว่า ขอเชิญพระมหา มุนีเสด็จมา.

พระศาสดาผู้ยอดเยี่ยมในโลก ทรงทราบความดำริของเรา เสด็จมาสูประตู. (เรือน) เรากับพระขีณาสพหนึ่งพัน (เรา ทูลว่า) ขอนอบน้อมแด่พระองค์ผู้บุรุษอาชาไนย ขอนอบน้อม แด่พระองค์ผู้อุดมบุรุษ ขอเชิญเสด็จขึ้นปราสาทประทับนั่งบน อาสนะอันอุดมเถิด พระเจ้าข้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงฝึกพระองค์แล้ว มีบริวารอันฝึก แล้ว ทรงข้ามพ้นแล้ว ประเสริฐกว่าบรรดาผู้ข้าม เสด็จขึ้น ปราสาทแล้ว ประทับนั่งบนอาสนะอันประเสริฐ อามิสใด ที่เรารวบรวมไว้อันมีอยู่ในเรือนตน เรามีจิตเลื่อมใส ได้ถวาย อามิสนั้น แด่พระพุทธเจ้าด้วยมือทั้งสองของตนโดยเคารพ เรามีจิตเลื่อมใส มีใจผ่องแผ้ว เกิดโสมนัส ประนมอัญชลี นมัสการพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุดว่า โอ พระพุทธเจ้าผู้

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 61

ประเสริฐ ในระหว่างพระอริยบุคคล ๘ นั่งฉันอยู่ ผู้เป็นพระขีณาสพเป็นอันมาก พระองค์ทรงมีอานุภาพโอฬาร เรา นับถือพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นเป็นสรณะ.

พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าปิยทัสสี ผู้เป็นเชษฐบุรุษ ของโลก ประเสริฐกว่านระ ประทับนั่งในท่ามกลางภิกษุสงฆ์ แล้วตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า

ผู้ใดได้นิมนต์สงฆ์ผู้ซื่อตรง มีจิตมั่นคง และพระตถาคต สัมพุทธเจ้าให้ฉัน เราจักพยากรณ์ผู้นั้น ท่านทั้งหลายจงฟัง เรากล่าว

ผู้นั้นจักได้เสวยเทวราชสมบัติ ๒๗ ครั้ง จักยินดียิงใน กรรมของตน รื่นรมย์อยู่ในเทวโลก จักได้เป็นพระเจ้าจักร พรรดิ ๘๐ ครั้ง จักได้เป็นพระราชาในแผ่นดินครอบครองพสุธา ๕๐๐ ครั้ง

เราเข้าป่าไพรวันอันสัตว์ร้าย (เสือโคร่ง) อาศัยอยู่ เริ่ม ตั้งความเพียรแล้ว เผากิเลสได้ ในกัปที่ ๑,๘๐๐ เราได้ให้ ทานใดในเวลานั้น ด้วยผลแห่งทานนั้น เราไม่รู้ทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการถวายอาหาร

คุณวิเศษเหล่านี้ คือปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และอภิญญา๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้าเราได้ทำเสร็จ แล้วฉะนี้แล.

ทราบว่า ท่านพระสุมังคลเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้แล.

จบสุมังคลเถราปทาน

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 62

๒๐. อรรถาถาสุมังคลเถราปทาน

อปทานของท่านพระสุมังคลเถระ มีคำเริ่มต้นว่า อาหุตึ ยิฏฺฐุ- กาโมหํ ดังนี้.

แม้ท่านสุมังคละนี้ ได้บำเพ็ญบุญญาธิการในพระพุทธเจ้าองค์ก่อนๆ สั่งสมบุญทั้งหลายอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานในภพนั้นๆ ในกาล แห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า ปิยทัสสี บังเกิดเป็นรุกขเทวดา. วันหนึ่งท่านเห็นพระศาสดาทรงสรงสนาน มีจีวรผืนเดียวประทับยืน ถึง โสมนัสปรบมือ ด้วยบุญนั้นท่านท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์ ใน พุทธุปบาทกาลนี้ บังเกิดในตระกูลแห่งคนเข็ญใจ ด้วยวิบากเครื่องไหล ออกแห่งกรรมเช่นนั้น ในหมู่บ้านตำบลหนึ่ง ไม่ไกลแต่กรุงสาวัตถี. ท่านได้มีชื่อว่า สุมังคละ ดังนี้. ท่านเจริญวัยแล้ว เป็นผู้มีเดียว มีไถ. มี จอบอันเป็นสมบัติของคนค่อมเป็นบริขาร เลี้ยงชีพด้วยการไถ. วันหนึ่ง เมื่อพระเจ้าปเสนทิโกศลทรงบำเพ็ญมหาทานให้เป็นไปแก่พระผู้มีพระภาคเจ้าและภิกษุสงฆ์ เขาถือหม้อนมส้มเดินรวมกันกับมนุษย์ทั้งหลายผู้ถือเอา เครื่องอุปกรณ์ทานเดินมา เห็นเครื่องสักการะและสัมมานะของพระผู้มี พระภาคเจ้า ของภิกษุทั้งหลาย จึงคิดว่าสมณศากยบุตรเหล่านี้ นุ่งผ้า เนื้อละเอียด เสวยโภชนะดีๆ อยู่ในที่สงัดลม ไฉนหนอ แม้เราก็จะพึง บวช จึงเข้าไปหาพระเถระรูปหนึ่งแล้วแจ้งความประสงค์ของตน. พระมหาเถระนั้นมีความกรุณาท่าน จึงให้ท่านบวชแล้วบอกกรรมฐาน. ท่าน อยู่ในป่าเบื่อหน่ายกระสันในที่อยู่ผู้เดียว ใคร่จะสึก จึงไปบ้านญาติ เห็น มนุษย์ในระหว่างทาง ต่างถกกระเบนไถนาอยู่ นุ่งผ้าปอนๆ มีร่างกาย เปื้อนด้วยธุลีโดยรอบซูบซีดด้วยลมและแดดไถนาอยู่ จึงได้ความสังเวชว่า

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 63

สัตว์เหล่านี้เสวยทุกข์มีชีวิตเป็นเครื่องหมายอย่างใหญ่หนอ. ก็เพราะญาณ ของท่านแก่รอบ กรรมฐานตามที่ท่านถือเอา จึงปรากฏแก่ท่าน. ท่าน เข้าไปยังโคนไม้แห่งหนึ่งได้ความสงัด มนสิการโดยแยบคายอยู่ เจริญ วิปัสสนาก็บรรลุพระอรหัตตามลำดับแห่งมรรค.

ท่านบรรลุพระอรหัตตผลอย่างนี้แล้ว ระลึกถึงบุพกรรมของตน เมื่อ จะประกาศปุพพจริตาปทานด้วยอำนาจโสมนัส จึงกล่าวคำมีอาทิว่า อาหุตึ ยิฏฺฐุกาโมหํ ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อาหุตึ ได้แก่ เครื่อง อุปกรณ์บูชาและสักการะมิใช่น้อย มีข้าวและน้ำเป็นต้น. บทว่า ยิฏฺฐุกาโม แปลว่า ผู้ใคร่เพื่อจะบูชา, ข้าพเจ้าเป็นผู้ใคร่จะให้ทาน. บทว่า ปฏิยาเทตฺวาน โภชนํ ความว่า จัดแจงอาหารให้สำเร็จ. บทว่า พฺราหฺมเณ ปฏิมาเนนฺโต ความว่า แสวงหาปฏิคาหกคือบรรพชิตผู้บริสุทธิ์. บทว่า วิสาเล มาฬเก ิโต ความว่า ยืนอยู่ในโรงอันกว้างขวาง มีพื้นทรายขาว สะอาดน่ารื่นรมย์ยิ่ง.

บทว่า อถทฺทสาสึ สมฺพุทฺธํ เชื่อมความว่า เราได้เห็นพระสัมพุทธเจ้า ทรงพระนามว่า ปิยทัสสี ผู้มียศใหญ่ มีบริวารมาก ผู้แนะนำ โลกทั้งปวง คือสัตว์โลกทั้งสิ้น คือนำไปโดยพิเศษ ให้สัตว์ถึงพระนิพพาน เป็นพระสยัมภูผู้เป็นเอง ผู้ไม่มีอาจารย์ ผู้เป็นบุคคลเลิศ เป็นบุคคล ประเสริฐ เป็นผู้จำแนกแจกธรรม ผู้ประกอบด้วยคุณมีความเป็นผู้มี ภคยธรรม มีความรุ่งเรือง สมบูรณ์ด้วยรัศมีสีเขียวและสีเหลืองเป็นต้น แวดล้อมไปด้วยสาวกทั้งหลาย รุ่งโรจน์งดงามเหมือนพระอาทิตย์ คือ เหมือนพระสุริโยทัย ดำเนินไปในถนนคือในวิถี. บทว่า อญฺชลึ ปคฺคเหตฺวาน ความว่า เราประคองวางหม้อน้ำไว้บนศีรษะประคองอัญชลี กระทำจิตใจของเราให้เลื่อมใส ในคุณของพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นเช่นนี้

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 64

อธิบายว่า ทำจิตให้เลื่อมใส. บทว่า มนสา ว นิมนฺเตสึ แปลว่า ทูล อาราธนาด้วยใจ. บทว่า อาคจฺฉตุ มหามุนิ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ควรแก่การบูชาในแผ่นดิน เป็นมุนี ขอเชิญเสด็จมาสู่นิเวศน์ของ ข้าพระองค์เถิด.

บทว่า มม สงฺกปฺปมญฺาย ความว่า พระศาสดา ไม่มีผู้ยิ่งกว่า คือเว้นจากผู่ยิ่งกว่าในโลก คือในสัตว์โลก ทรงทราบความดำริแห่งจิต ของเราแล้ว แวดล้อมด้วยพระขีณาสพ ๑,๐๐๐ องค์ คือพระอรหันต์ ๑,๐๐๐ องค์ เสด็จเข้าไปใกล้คือเสด็จถึงประตูของเรา คือประตูเรือนของ เรา. เราได้กระทำนมัสการอย่างนี้แด่พระศาสดาผู้ถึงพร้อมแล้วนั้น ข้าแต่ พระองค์ผู้บุรุษอาชาไนย คือผู้อาชาไนย ผู้ประเสริฐของบุรุษทั้งหลาย ขอความนอบน้อมของเราด้วยดีจงมีแต่ท่าน. ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นบุรุษสูงสุด คือสูงสุดประเสริฐด้วยคุณยิ่งของบุรุษทั้งหลาย ขอความนอบน้อม ของเราจงมีแต่ท่าน. อธิบายว่า เราขอเธอเชื้อเชิญ ซึ่งพระองค์ขึ้นสู่ปราสาท อันเป็นที่น่าเลื่อมใสคือยังความเลื่อมใสให้เกิดแล้วประทับนั่งบนสีหาสนะ คือบนอาสนะอันสูงสุด.

บทว่า ทนฺ โต ทนฺตปริวาโร ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ฝึก พระองค์แล้วด้วยทวารทั้ง ๓ ด้วยพระองค์เอง ทรงแวดล้อมไปด้วย บริษัท ๔ คือภิกษุ ภิกษุณี อุบาสกและอุบาสิกา ผู้ฝึกแล้วเหมือนกัน บทว่า ตณฺโณ ตารยตํ วโร ความว่า พระองค์เองทรงข้ามแล้ว คือ ข้ามขึ้นแล้ว จากสงสารออกไปแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้ประเสริฐ สูงสุดกว่าบุรุษผู้วิเศษผู้ข้ามอยู่ เสด็จขึ้นปราสาทด้วยการอาราธนาของเรา ประทับ นั่งคือสำเร็จการนั่ง บนอาสนะอันประเสริฐ คือสูงสุด.

บทว่า ยํ เม อตฺถิ สเก เคเห ความว่า อามิสใดที่เรารวบรวมไว้

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 65

ที่มีปรากฏอยู่ในเรือนตน. บทว่า ตาหํ พุทธสฺส ปาทาสึ ความว่า เรา มีจิตเลื่อมใสได้ถวายอามิสนั้นแด่พระสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน โดย เคารพ หรือโดยเอื้อเฟื้อ. บทว่า ปสนฺโน เสหิ ปาณิภิ ความว่า เรา มีจิตเลื่อมใส มีจิตผ่องใสถือเอาอามิสถวายด้วยมือทั้งสองของตน. เรามี จิตเลื่อมใส มีความดำริแห่งใจอันผ่องใสแล้ว มีใจดี มีใจงาม. อธิบายว่า เราเกิดความปลื้มใจ เกิดโสมนัสการทำอัญชลี ประคองอัญชลีไว้เหนือ เศียรเกล้า นอบน้อมพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ. บทว่า อโห พุทธสฺสุฬารตา ความว่า ภาวะที่พระศาสดาผู้ตรัสรู้อริยสัจ ๔ เป็นภาวะที่ยิ่งใหญ่ น่าอัศจรรย์หนอ.

บทว่า อฏฺนฺนํ ปยิรุปาสตํ ความว่า ในระหว่างพระอริยบุคคล ๘ นั่งฉันอยู่ มีพระขีณาสพอรหันต์เป็นอันมาก. บทว่า ตุยฺเหเวโส อานุภาโว ความว่า พระองค์เท่านั้นมีอานุภาพ คือมีการเที่ยวไปในอากาศและผุดขึ้น ดำลงเป็นต้น. ไม่ใช่คนเหล่าอื่น. บทว่า สรณํ ตํ อุเปมหํ ความว่า เราขอถึง คือถึงหรือทราบว่า ท่านผู้เป็นเช่นนี้นั้นเป็นที่พึ่ง เป็นที่ต้าน ทาน เป็นที่เร้น เป็นที่ไปในเบื้องหน้า. อธิบายว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า ปิยทัสสี เป็นผู้ประเสริฐกว่าสัตว์โลกเป็นนระผู้องอาจ ประทับนั่ง ณ ท่ามกลางภิกษุสงฆ์ ได้ภาษิต คือตรัสพยากรณ์คาถาเหล่านี้. คำที่เหลือง่ายทั้งนั้นแล.

จบอรรถกถาสุมังคลเถราปทาน

จบอรรถกถาสีหาสนิยวรรคที่ ๒

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 66

รวมอปทานที่มีในวรรคนี้ คือ

    ๑. สีหาสนทายกเถราปทาน

๒. เอกถัมภิกเถราปทาน

๓. นันทเถราปทาน

๔. จุลลปันถกเถราปทาน

๕. ปิลินทวัจฉเถราปทาน

๖. ราหุลเถราปทาน

๗. อุปเสนวังคันตปุตตเถราปทาน

๘. รัฐปาลเถราปทาน

๙. โสปากเถราปทาน

๑๐. สุมังคลเถราปทาน.

ในวรรคนี้ท่านประกาศคาถาไว้ ๑๓๗ คาถา.

จบสีหาสนิยวรรคที่ ๒