พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

อุปวาณเถราปทานที่ ๒ (๒๒) ว่าด้วยผลแห่งการถวายธง

 
บ้านธัมมะ
วันที่  26 พ.ย. 2564
หมายเลข  41011
อ่าน  342

[เล่มที่ 71] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 84

เถราปทาน

สุภูติวรรคที่ ๓

อุปวาณเถราปทานที่ ๒ (๒๒)

ว่าด้วยผลแห่งการถวายธง


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 71]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 84

อุปวาณเถราปทานที่ ๒ (๒๒)

ว่าด้วยผลแห่งการถวายธง

[๒๔] พระสัมพุทธชินเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ ทรงรู้จบธรรม ทั้งปวง ทรงรุ่งเรืองดังกองไฟ เสด็จปรินิพพานแล้ว.

มหาชนมาประชุมกันบูชาพระตถาคต กระทำจิตกาธาร อย่างสวยงามแล้วปลงพระสรีระ.

มหาชนทั้งหมดพร้อมทั้งเทวดาและมนุษย์ทำสรีรกิจเสร็จ แล้ว รวบรวมพระธาตุไว้ ณ ที่นั้น ได้สร้างพระพุทธสถูปไว้.

ชั้นที่ ๑ แห่งพระพุทธสถูปนั้นสำเร็จด้วยทอง ชั้นที่ ๒ สำเร็จด้วยแก้วมณี ชั้นที่ ๓ สำเร็จด้วยเงิน ชั้นที่ ๔ สำเร็จ ด้วยแก้วผลึก. ชั้นที่ ๕ ในพระพุทธสถูปนั้น สำเร็จด้วยแก้ว ทับทิม ชั้นที่ ๖ สำเร็จด้วยแก้วลาย ชั้นบนสำเร็จด้วยรัตนะ ล้วน.

ทางเดินสำเร็จด้วยแก้วมณี ไพที่สำเร็จด้วยรัตนะ พระสถูปสำเร็จด้วยทองล้วนๆ สูงสุดหนึ่งโยชน์ เวลานั้น เทวดา ทั้งหลายมาร่วมประชุมปรึกษากัน ณ ที่นั้นว่า แม้พวกเราก็จัก สร้างพระสถูปถวายแด่พระโลกนาถผู้คงที่.

พระธาตุจะได้ไม่เรี่ยราย พระสรีระจะรวมเป็นอันเดียวกัน เราทั้งหลายจักทำกุญแจใส่ในพระพุทธสถูปนี้.

เทวดาทั้งหลายจึงยังโยชน์อื่นให้เจริญด้วยรัตนะ ๗ ประการ (เทวดาทั้งหลายจึงนิรมิตพระสถูปให้สูงเพิ่มขึ้นอีกโยชน์

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 85

หนึ่ง ด้วยรัตนะ ๗ ประการ) พระสถูปจึงสูง ๒ โยชน์ สว่าง ไสวขจัดความมืดได้.

นาคทั้งหลายมาประชุมร่วมปรึกษากัน ณ ที่นั้นในเวลานั้น ว่า มนุษย์และเทวดาได้สร้างพระพุทธสถูปแล้ว.

เราทั้งหลายอย่าได้ประมาทเลย ดังมนุษย์กับเทวดาไม่ ประมาท แม้พวกเราก็จักสร้างพระสถูปถวายแด่พระโลกนาถ ผู้คงที่.

นาคเหล่านั้น จึงร่วมกันรวบรวมแก้วอินทนิล แก้วมหา นิล และแก้วมณีมีรัศมีโชติช่วงปกปิดพระพุทธสถูป พระพุทธเจดีย์ประมาณเท่านั้น สำเร็จด้วยแก้วมณี ล้วน สงสุด ๓ โยชน์ ส่งแสงสว่างไสวในเวลานั้น.

ฝูงครุฑมาประชุมร่วมปรึกษาในเวลานั้นว่า มนุษย์ เทวดาและนาคได้สร้างพระพุทธสถูปแล้ว. เราทั้งหลายอย่า ประมาทเลย ดังมนุษย์เป็นต้นกับเทวดาไม่ประมาท แม้พวก เราก็จักสร้างสถูปถวายแด่พระโลกนาถผู้คงที่.

ฝูงครุฑจึงได้สร้างสถูปอันสำเร็จด้วยแก้วมณีล้วน และ กุญแจก็เช่นนั้น ได้สร้างพระพุทธเจดีย์ต่อขึ้นไปให้สูงอีก โยชน์หนึ่ง.

พระพุทธสถูปสูงสุด ๔ โยชน์รุ่งเรืองอยู่ ยังทิศทั้งปวงให้ สว่างไสว ดังพระอาทิตย์อุทัยฉะนั้น และพวกกุมภัณฑ์ก็มา ประชุมร่วมปรึกษากันในเวลานั้นว่า พวกมนุษย์และพวกเทวดา ฝูงนาคและฝูงครุฑ ได้สร้างสถูปอันอุดม ถวายเฉพาะแด่

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 86

พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ พวกเราอย่าได้ประมาทเลย ดังมนุษย์ เป็นต้นกับเทวดาไม่ประมาท.

แม้พวกเราก็จักสร้างสถูป ถวายแด่พระโลกนาถผู้คงที่ พวกเราจักปกปิดพระพุทธเจดีย์ต่อขึ้นไปด้วยรัตนะ พวก กุมภัณฑ์ได้สร้างพระพุทธเจดีย์ต่อขึ้นไปในที่สุดอีกโยชน์หนึ่ง.

เวลานั้น พระสถูปสูงสุด ๕ โยชน์ สว่างไสวอยู่ พวก ยักษ์มาประชุมร่วมปรึกษากัน ณ ที่นั้นในเวลานั้นว่า

เวลานั้น มนุษย์ เทวดา นาค กุมภัณฑ์ (และ) ครุฑ ได้พากันสร้างสถูปอันอุดม ถวายเฉพาะแด่พระพุทธเจ้าผู้ ประเสริฐสุด พวกเราอย่าได้ประมาทเลย ดังมนุษย์เป็นต้น พร้อมกับเทวดาไม่ประมาท.

แม้พวกเราก็จักสร้างสถูปถวายแด่พระโลกนาถผู้คงที่ พวก เราจักปกปิดพระพุทธเจดีต่อขึ้นไปด้วยแก้วผลึก พวกยักษ์ จึงสร้างพระพุทธเจดีย์ ต่อขึ้นไปในที่สุดอีกโยชน์หนึ่ง เวลา นั้น พระสถูปจึงสูงสุด ๖ โยชน์ สว่างไสวอยู่.

พวกคนธรรพ์พากันมาประชุมร่วมปรึกษากันในเวลานั้นว่า สัตว์ทั้งปวง คือ มนุษย์ เทวดา นาค ครุฑ กุมภัณฑ์และ ยักษ์ พากันสร้างพระพุทธสถูปแล้ว บรรดาสัตว์เหล่านี้ พวก เรายังไม่ได้สร้าง แม่พวกเราก็จักสร้างสถูปถวายแด่พระโลกนาถผู้คงที่.

พวกคนธรรพ์จึงพากันสร้างไพที ๗ ชั้น ได้สร้างตลอด

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 87

ทั้งทางเดิน เวลานั้น พวกคนธรรพ์ได้สร้างสถูปสำเร็จด้วย ทองคำล้วน.

ในกาลนั้น พระสถูปจึงสูงสุด ๗ โยชน์ สว่างไสวอยู่ ไม่ปรากฏกลางคืน กลางวัน แสงสว่างมีอยู่เสมอไป.

พระจันทร์พระอาทิตย์พร้อมทั้งดาว ครอบงำรัศมีพระสถูป นั้นไม่ได้ ก็แสงสว่างโพลงไปไกลร้อยโยชน์โดยรอบ (พระสถูป).

ในเวลานั้น มนุษย์เหล่าใดจะบูชาพระสถูป พวกเขาไม่ ต้องขึ้นพระสถูป พวกเขายกขึ้นไว้ในอากาศ ยักษ์ตนหนึ่ง ที่พวกเทวดาตั้งไว้ ชื่อว่าอภิสัมมตะ ยกธงหรือพวงดอกไม้ ให้ขึ้นไปในเบื้องสูง.

มนุษย์เหล่านั้นมองไม่เห็นยักษ์ เห็นแต่พวงดอกไม้ขึ้นไป ครั้นเห็นเช่นนี้แล้วก็กลับไป มนุษย์ทั้งหมดย่อมไปสู่สุคติ.

มนุษย์เหล่าใดชอบใจในปาพจน์ และเหล่าใดเลื่อมใส ในพระศาสนา ต้องการจะเห็นปาหาริย์ ย่อมบูชาพระสถูป.

เวลานั้น เราเป็นคนยากไร้อยู่ในเมืองหังสวดี เราได้เห็น หมู่ชนเบิกบาน จึงคิดอย่างนี้ในเวลานั้นว่า เรือนพระธาตุ เช่นนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าองค์ใด พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นี้โอฬาร ก็หมู่ชนเหล่านี้มีใจยินดี ไม่รู้จักอิ่มใน สักการะที่ทำอยู่.

แม้เราก็จักทำสักการะแด่พระโลกนาถผู้คงที่บ้าง เราจัก เป็นทายาทในธรรมของพระองค์ในอนาคต.

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 88

เราจึงต้องเอาเชือกผูกผ้าห่มของเราอันซักขาวสะอาดแล้ว คล้อง ไว้ที่ยอดไม้ไผ่ ยกเป็นธงขึ้นไว้ในอากาศ.

ยักษ์อภิสัมมตะจับธงของเรานำขึ้นไปในอัมพร เราเห็นธง อันลมสะบัด ได้เกิดความยินดีอย่างยิ่ง เรายังจิตให้เลื่อมใส ในพระสถูปนั้นแล้ว เข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง กราบไหว้ภิกษุนั้น ได้สอบถามถึงผลในถารถวายธง.

ท่านยังความเพลิดเพลินและปีติให้เกิดแก่เรา กล่าวแก่เรา ว่า ท่านจักได้เสวยวิบากของธงนั้นในกาลทั้งปวง.

จตุรงคเสนา คือ พลช้าง พลม้า พลรถ และพลเดินเท้า จักแวดล้อมท่านอยู่เป็นนิตย์ นี้เป็นผลแห่งการถวายธง.

ดนตรี ๖ หมื่นและกลองเภรีอันประดับสวยงามจะประโคม แวดล้อมท่านเป็นนิตย์ นี้เป็นผลแห่งการถวายธง.

หญิงสาวแปดหมื่นหกพันผู้ประดับงดงาม มีผ้าและ อาภรณ์วิจิตร สวมใส่แก้วมณีและกุณฑล หน้าแฉล้ม แย้มยิ้ม มีตะโพกผึ่งผาย เอวบาง จักแวดล้อม (บำเรอ) ท่านเป็นนิตย์ นี้เป็นผลแห่งการถวายธง.

ท่านจักรื่นรมย์อยู่ในเทวโลกตลอด ๓ หมื่นกัป จักได้เป็น จอมเทวดาเสวยเทวรัชสมบัติอยู่ ๘๐ ครั้ง จักได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๑,๐๐๐ ครั้ง จักได้เป็นพระเจ้าประเทศราชอัน ไพบูลย์โดยคณานับมิได้.

ในแสนกัป พระศาสดาทรงพระนามว่าโคดม ซึ่งทรง สมภพในวงศ์พระเจ้าโอกกากราช เสด็จอุบัติในโลก ท่าน

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 89

อันกุศลมูลตักเตือน เคลื่อนจากทวโลกแล้ว ประกอบด้วย บุญธรรม จักเกิดเป็นบุตรพราหมณ์ ท่านจักละทรัพย์ ๘๐ โกฏิ ทาสและกรรมกรเป็นอันมาก ออกบวชในพระศาสนาของ พระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่าโคดม ท่านจักยังพระสัมพุทธเจ้า พระนามว่าโคดมศากยบุตรผู้ประเสริฐให้โปรดปราน แล้ว จักได้เป็นสาวกของพระศาสดา มีชื่อว่า อุปวาณะ.

กรรมที่เราทำแล้วในแสนกัป ให้ผลแก่เราในที่นี้แล้ว เราเผากิเลสของเราแล้ว ดุจกำลังลูกศรพ้นแล่งไปแล้ว เมื่อ เราเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ เป็นใหญ่ในทวีปทั้ง ๔ ธงทั้งหลาย จักยกขึ้นโดยรอบ ๓ โยชน์ทุกเมื่อ ในแสนกัปแต่กัปนี้ เรา ได้ทำกรรมใดไว้ ในเวลานั้น ด้วยผลแห่งกรรมนั้น เราไม่ รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการถวายธง คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และแม้อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้ง ชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้าเราได้ทำเสร็จแล้วฉะนี้แล. ทราบว่า ท่านพระอุปวาณเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประ ฉะนี้แล.

จบอุปวาณเถราปทาน

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 90

๒๒. อรรถกถาอุปวาณเถราปทาน

อปทานของท่านพระอุปวาณเถระ มีคำเริ่มต้นว่า ปทุมุตฺตโร นาม ชิโน ดังนี้.

ท่านอุปวาณเถระแม้นี้ ได้บำเพ็ญบุญญาธิการไว้ในพระพุทธเจ้า องค์ก่อนๆ สั่งสมบุญทั้งหลายอันเป็นอุปนิสัย แห่งพระนิพพานในภพนั้นๆ ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตระ บังเกิดในตระกูล แห่งคนขัดสน บรรลุนิติภาวะแล้ว เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าปรินิพพาน เมื่อมนุษย์ เทวดา นาค ครุฑ กุมภัณฑ์ ยักษ์ และคนธรรพ์ทั้งหลาย ต่างถือเอาพระธาตุของพระองค์มากกระทำพระสถูปสำเร็จด้วยรัตนะทั้ง ๗ สูง ๗ โยชน์ เขาได้เอาผ้าอุตราสงค์ของตน ซึ่งขาวสะอาดบริสุทธิ์ ผูก ปลายไม้ไผ่ทำเป็นธงแล้วทำการบูชา. ยักษ์เสนาบดี นามว่า อภิสัมมตกะ อันเทวดาทั้งหลายแต่งตั้งไว้ เพื่ออารักขาสถานที่บูชาพระเจดีย์ มีกายไม่ ปรากฏ ถือธงในอากาศการทำประทักษิณพระเจดีย์ ๓ รอบ. เขาเห็น ดังนั้นได้เป็นผู้มีใจเลื่อมใสเกินประมาณ ด้วยบุญกรรมนั้น เขาท่องเที่ยว ไปในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เกิดในตระกูลพราหมณ์ ในพุทธุปบาทกาลนี้ ได้นามว่า อุปวาณะ เจริญวัยแล้ว เห็นพุทธานุภาพในคราวทรง รับมอบพระเชตวันวิหาร เป็นผู้ได้ศรัทธาบวชแล้ว กระทำกรรมใน วิปัสสนา บรรลุพระอรหัตแล้ว ได้เป็นผู้อภิญญา ๖. ในกาลใดความ ไม่ผาสุกได้มีแก่พระผู้มีพระภาคเจ้า ในกาลนั้น พระเถระได้น้อมนำน้ำร้อน น้ำปานะ และเภสัช เห็นปานนั้นเข้าไปถวายพระผู้มีพระภาคเจ้า. ด้วย เหตุนั้น พระโรคของพระศาสดานั้นจึงสงบ. พระศาสดาได้ทรงกระทำ อนุโมทนาแก่ท่าน.

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 91

ท่านได้บรรลุอรหัตตผล ได้รับตำแหน่งเอตทัคคะอย่างนี้แล้ว ระลึก ถึงบุพกรรมของตน เมื่อจะประกาศปุพพจริตาปทาน จึงกล่าวคำมีอาทิ ว่า ปทุมตฺตโร นาม ชิโน ดังนี้. เชื่อมความว่า พระชินเจ้าคือ พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ทรงชนะมาร ๕ พระนามว่าปทุมุตตระ ผู้ถึงฝั่งคือ โลกิยธรรม และโลกุตตธรรมทั้งปวงในที่นั้น บรรลุถึงที่สุดคือพระนิพพาน ทรงโพลงพระพุทธรัศมีมีพรรณะ ๖ ให้สว่างไสวดุจกองเพลิง ทรงยังสัตว์โลกทั้งปวงให้สว่างไสวด้วยความโชติช่วงคือพระสัทธรรม เป็น พระสัมพุทธะ คือเป็นผู้ตรัสรู้ดี ทรงปลุกหมู่สัตว์ผู้ตกอยู่ในความหลับ คืออวิชา ให้ตื่นจากกิเลสนิทราพร้อมทั้งวาสนา ทรงมีพระเนตรเบิกบาน เต็มที่ ดุจดอกบัวแย้มบาน ทรงปรินิพพาน คือปรินิพพานด้วยกิเลส นิพาน ถึงสถานที่ใครๆ ไม่เห็น.

บทว่า ชงฺฆา ความว่า มีบันไดที่ผูกพันไว้ เพื่อประโยชน์แก่อัน ตั้งไว้ซึ่งอิฐที่จะพึงก่อในเวลากระทำพระเจดีย์.

บทว่า สุโธตํ รชเกนาหํ ความว่า เราได้ทำผ้าอุตราสงค์ที่บุรุษผู้ ซักผ้าซักดีแล้วที่ปลายไม้ไผ่ แล้วโยนขึ้นไปให้เป็นธง อธิบายว่า ให้ยก ขึ้นไว้ในอัมพรอากาศ. คำที่เหลือ รู้ได้ง่ายทั้งนั้น.

จบอรรถกถาอุปวสาณเถราปทาน