ปัญจสีลสมาทานิยเถราปทานที่ ๔ (๒๔) ว่าด้วยผลแห่งการรักษาเบญจศีล
[เล่มที่ 71] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 97
เถราปทาน
สุภูติวรรคที่ ๓
ปัญจสีลสมาทานิยเถราปทานที่ ๔ (๒๔)
ว่าด้วยผลแห่งการรักษาเบญจศีล
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 71]
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 97
ปัญจสีลสมาทานิยเถราปทานที่ ๔ (๒๔)
ว่าด้วยผลแห่งการรักษาเบญจศีล
[๒๖] เวลานั้น เราเป็นคนทำงานรับจ้างอยู่ในนครจันทวดี เรามัว ประกอบในการนำมาซึ่งการงานของผู้อื่น จึงไม่ได้บวช โลก ทั้งหลายถูกความมืดใหญ่หลวงปิดบังแล้ว ย่อมถูกไฟ ๓ กอง เผา เราควรจะปลีกตัวออกไปด้วยอุบายอะไรหนอ.
ไทยธรรมของเราไม่มี และเราเป็นคนยากไร้ ทำงาน รับจ้างอยู่ ถ้ากระไร เราพึงรักษาเบญจศีลให้บริบูรณ์เถิด.
เราจึงเข้าไปหาพระภิกษุชื่อนี้นสภะ ผู้เป็นสาวกของพระมุนี พระนามว่าอโนมทัสสี แล้วได้รับสิกขาบท ๕.
เวลานั้น เรานี้อายุแสนปี เรารักษาเบญจศีลให้บริบูรณ์ ตลอดเวลาเท่านั้น เมื่อเวลาใกล้ตายมาถึงเข้า ทวยเทพย่อม ยังเราให้ชื่นชม (เชื้อเชิญเรา) ว่า ท่านผู้นิรทุกข์ รถอันเทียม ด้วยม้าพันหนึ่งนี้ปรากฏแล้วเพื่อท่าน. เมื่อจิตดวงสุดท้ายเป็นไป เราได้ระลึกถึงศีลของเรา ด้วย กรรมดีที่ได้ทำแล้วนั้น เราได้ไปสู่ภพดาวดึงส์ ได้เป็น จอมเทวดาเสวยราชสมบัติในเทวโลก ๓๐ ครั้ง แวดล้อมด้วย นางอัปสรทั้งหลาย เสวยสุขอันเป็นทิพย์อยู่.
และได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๗๕ ครั้ง ได้เป็นพระเจ้า ประเทศราชอันไพบูลย์โดยคณานับมิได้.
เราอันกุศลมูลตักเตือนแล้วเคลื่อนจากเทวโลก มาเถิด ในตระกูลพราหมณ์มหาศาลอันมั่งคั่งในนครเวสาสี.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 98
เมื่อศาสนาของพระชินเจ้ายังรุ่งเรืองอยู่ มารดาและบิดา ของเราได้รับสิกขาบท ๕ในเวลาเข้าพรรษา เราฟังเรื่องศีลอยู่ พร้อมกับมารดาบิดา จึงระลึกถึงศีลของเราได้ เรานั่งอยู่ บนอาสนะอันเดียว ได้บรรลุอรหัตแล้ว.
เราได้บรรลุอรหัตนับแต่เกิดได้ ๕ ปี พระพุทธเจ้าผู้มีจักษุ ทรงทราบคุณของเราแล้ว ได้ประทานอุปสมบทให้เรา เรา รักษาสิกขาบท ๕ ให้บริบูรณ์แล้ว ไม่ได้ไปสู่วินิบาตเลย ตลอดกัปหาประมาณมิได้แต่กัปนี้ เรานั้นได้เสวยยศเพราะ กำลังแห่งศีลเหล่านั้น.
เมื่อจะประกาศผลของศีลที่เราได้เสวยแล้ว โดยจะนำมา ประกาศตลอดโกฏิกัปป์ ก็พึงประกาศได้เพียงส่วนเดียว.
เรารักษาเบญจศีลแล้ว ย่อมได้เหตุ ๓ ประการ คือเรา เป็นผู้มีอายุยืนนาน ๑ มีโภคสมบัติมาก ๑ มีปัญญาคมกล้า ๑.
เมื่อประกาศผลของศีลทั้งปวงกะหมู่มนุษย์อันมีประมาณ ยิ่ง เราท่องเที่ยวอยู่ในภพน้อยภพใหญ่ ย่อมได้ฐานะเหล่านี้.
พระสาวกของพระชินเจ้าทั้งหลาย ประพฤติอยู่ในศีล หาประมาณมิได้ ถ้าจะพึงยินดีอยู่ในภพ จะพึงมีผลเช่นไร.
เบญจศีลอันเราผู้เป็นคนรับจ้าง มีความเพียรประพฤติแล้ว เราพ้นจากเครื่องผูกทั้งปวงได้ในวันนี้ด้วยศีลนั้น ในกัปอัน ประมาณมิได้แต่กัปนี้ เรารักษาเบญจศีลแล้ว ไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่ง (การรักษา) เบญจศีล.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 99
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสันภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และแม้ อภิญญา ๖ เราพึงทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า เราได้ทำเสร็จแล้วฉะนี้แล.
ทราบว่า ท่านพระปัญจสีลสมาทานิยเถระได้กล่าวคาถาเหล่านั้น ด้วยประการฉะนี้แล.
จบปัญจสีลสมาทานนิยเถราปทาน
๒๔. อรรถกถาปัญจสีลสมาทานิยเถราปทาน
อปทานแห่งท่านพระปัญจสีลสมาทานิยเถระมีคำเริ่มต้นว่า นคเร จนฺทวติยา ดังนี้.
พระเถระแม้นี้ ได้ทำบุญาธิการไว้ในพระพุทธเจ้าองค์ก่อนๆ สั่งสมบุญทั้งหลายอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานนั้นๆ ในกาลแห่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าอโนมทัสสี บังเกิดในตระกูลหนึ่ง เป็น คนขัดสนตามสมควรแก่กุศลกรรมที่คนทำไว้ในภพก่อน จึงมีข้าวน้ำและ โภชนะน้อย ทำการรับจ้างคนเหล่าอื่นเลี้ยงชีพ รู้ถึงโทษในสงสาร แม้ ประสงค์จะบวชก็มิได้บวช สมาทานศีล ๕ ในสำนักของท่านนิสภเถระ สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าอโนมทัสสี. รักษาศีลตลอดแสนปี เพราะคนเกิดในกาลมีอายุยืน. ด้วยกรรมนั้นท่านจึงท่องเที่ยวไปในเทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย ในพุทธุปบาทกาลนี้ บังเกิดในตระกูลมหาศาลในกรุง สาวัตถี. เห็นมารดาบิดาสมาทานศีล ระลึกถึงศีลของตน เจริญวิปัสสนา บรรลุพระอรหัตบวชแล้ว.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 100
ท่านระลึกถึงบุพกรรมของตน เกิดโสมนัส เมื่อจะประกาศปุพพจริตาปทานด้วยอำนาจอุทาน จึงกล่าวคำมีอาทิว่า นคเร จนฺทวติยา ดังนี้. บทว่า ภตโก อาสหํ ตทา ความว่า ในกาลนั้น คือในกาลที่เราบำเพ็ญบุญ เราเป็นคนรับจ้างคือเป็นผู้กระทำการงานเพื่อค่าจ้าง. บทว่า ปรกมฺมายเน ยุตฺโต ความว่า เราประกอบแล้วคือกระทำแล้วซึ่งการทำการงานของผู้อื่น เพื่อค่าจ้าง จึงไม่ได้บวชเพื่อประโยชน์แก่การหลุดพ้นจากสงสาร เพราะ ไม่มีโอกาส.
บทว่า มหนฺธการปิหิตา ความว่า ผู้อันความมืดคือกิเลสใหญ่ ปิดกันไว้. บทว่า ติวิธคฺคีหิ ฑยฺหเร ความว่า อันไฟ ๓ กองกล่าวคือ ไฟคือนรก ไฟคือเปรต ไฟคือสงสาร หมกไหม้อยู่. อธิบายว่า เราพึง เป็นผู้ปลีกตนออกไปด้วยอุบายนั้น คือด้วยเหตุนั้น. อธิบายว่า ไทยธรรม คือวัตถุที่ควรจะพึงให้มีข้าวและน้ำเป็นต้นของเราไม่มี เพราะไม่มีข้าว และน้ำเป็นต้นนั้น เราจึงเป็นคนกำพร้าทุกข์ยาก ต้องทำการรับจ้าง เลี้ยงชีพ. คำว่า ยนฺนูนาหํ ปญฺจสีลํ รกฺเขยฺยํ ปริปูรยํ ความว่า เราพึง สมาทานศีล ๕ ให้บริบูรณ์. ถ้ากระไรแล้ว เราพึงรักษา คือคุ้มครองให้ดี เจริญงาม.
บทว่า สฺวาหํ ยสมนุภวึ ความว่า เรานั้นเสวยยศใหญ่ในเทวดา และมนุษย์ทั้งหลายเนืองๆ ด้วยอานุภาพแห่งศีลเหล่านั้น. อธิบายว่า การ ยกย่องผลของศีลเหล่านั้นแม้สิ้นโกฏิกัปป์ พึงประกาศทำให้ปรากฏเพียง ส่วนเดียวเท่านั้น. คำที่เหลือมีอรรถง่ายทั้งนั้นแล.
จบอรรถกถาปัญจสีลสมาทานิยเถราปทาน