พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

อันนสังสาวกเถราปทานที่ ๕ (๒๕) ว่าด้วยผลแห่งการถวายภิกษา

 
บ้านธัมมะ
วันที่  26 พ.ย. 2564
หมายเลข  41014
อ่าน  332

[เล่มที่ 71] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 101

เถราปทาน

สุภูติวรรคที่ ๓

อันนสังสาวกเถราปทานที่ ๕ (๒๕)

ว่าด้วยผลแห่งการถวายภิกษา


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 71]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 101

อันนสังสาวกเถราปทานที่ ๕ (๒๕)

ว่าด้วยผลแห่งการถวายภิกษา

[๒๗] เราได้ปีติอย่างยิ่ง เพราะได้เห็นพระสัมพุทธเจ้า ผู้มี พระฉวีวรรณดังทองคำ พระนามว่าสิทธัตถะ เสด็จดำเนิน อยู่ในระหว่างตลาด เช่นกับเสาค่ายทอง มีพระลักษณะ ประเสริฐ ๓๒ ประการ ดังดวงประทีปส่องโลกให้โชติช่วง หาประมาณมิได้ ไม่มีใครเปรียบ ฝึกพระองค์แล้ว ทรงความ รุ่งเรือง.

เราถวายอภิวาทพระสัมพุทธเจ้า นิมนต์พระองค์ผู้มหามุนี ให้เสวย พระมุนีผู้ประกอบด้วยกรุณาในโลก ทรงอนุโมทนา แก่เราในกาลนั้น เรายังจิตให้เลื่อมใสในพระพุทธเจ้า ผู้ทรง พระมหากรุณาพระองค์นั่น ทรงทำความชื่นชมอย่างยิ่งแล้ว บันเทิงอยู่ในสวรรค์ตลอดกัปหนึ่ง.

ในกัปที่ ๙๔ แต่กัปนี้ เราได้ถวายทานใดในเวลานั้น ด้วย ผลแห่งทานนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการถวาย ภิกษา.

คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า เราได้ทำเสร็จแล้วฉะนี้แล.

ทราบว่า ท่านพระอันนสังสาวกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย ประการฉะนี้แล.

จบอันนสังสาวกเถราปทาน

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 102

๒๕. อรรถกถาอันนสังสาวกเถราปทาน

อปทานแห่งท่านพระอันนสังสาวกเถระ มีคำเริ่มต้นว่า สุวณฺณวณฺณํ สมฺพุทธํ ดังนี้.

พระเถระแม้นี้ ได้บำเพ็ญบุญญาธิการไว้ในพระพุทธเจ้าองค์ก่อนๆ สั่งสมบุญทั้งหลายอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานในภพนั้นๆ ในกาล แห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าสิทธัตถะ บังเกิดในเรือนแห่งตระกูล แห่งหนึ่ง เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้งดงามด้วยมหาปุริสลักษณะ ๓๒ และ มณฑลแห่งพระรัศมีด้านละวา กำลังเสด็จเที่ยวบิณฑบาต มีจิตเลื่อมใส เชื้อเชิญพระผู้มีพระภาคเจ้านำไปสู่เรือน ให้บริโภคอิ่มหนำสำราญ ด้วยข้าว และน้ำอันประเสริฐ. ด้วยจิตที่เลื่อมใสนั้นนั่นแล ท่านจุติจากอัตภาพ นั้นแล้วบังเกิดในเทวโลก เสวยทิพยสมบัติ ต่อจากนั้นเสวยเทวสมบัติและ มนุษย์สมบัติบ่อยๆ ในพุทธุปบาทกาลนี้ บังเกิดในตระกูลหนึ่ง เลื่อมใส ในพระศาสนาแล้วบวช เจริญวิปัสสนา บรรลุพระอรหัตแล้ว. ท่าน ได้เป็นมีผู้นามปรากฏว่า อันนสังสาวกเถระ ด้วยอำนาจนามแห่งบุญที่ตน ทำไว้ในกาลก่อน.

อยู่มาภายหลัง ท่านระลึกถึงบุพกรรมของตนได้ เกิดโสมนัส เมื่อจะ ประกาศปุพพวริตาปทานของตน ด้วยอำนาจอุทานว่า เราบรรลุพระอรหัต ด้วยอานุภาพแห่งบุญสมภารนี้ ด้วยประการฉะนี้ จึงกล่าวคำเป็นต้นว่า สุณฺณวณฺณํ ดังนี้. ในคำนั้นมีอธิบายว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใด มีวรรณะเพียงดังว่าวรรณะแห่งทอง พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นี้นั้น ชื่อว่ามีวรรณะเพียงว่าวรรณะแห่งทอง. ซึ่งพระสัมพุทธะคือพระสิทธัตถะ ผู้มีวรรณะเพียงดังว่าวรรณะแห่งทองพระองค์นั้น. บทว่า คจฺฉนฺตํ

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 103

อนฺตราปเณ ความว่า ผู้เสด็จไปอยู่ในระหว่างทางแห่งแถวร้านของ พ่อค้าทั้งหลาย. บทว่า กญฺจนคฺฆิยสงฺกาสํ เชื่อมความว่า เห็นพระ. สิทธัตถะเสมือนกับเสาระเนียดอันสำเร็จด้วยทอง มีพระลักษณะ ๓๒ คือ สมบูรณ์ด้วย พระลักษณะอันประเสริฐ ๓๒ ผู้ยังโลกให้โชติช่วง คือผู้เป็น ดุจประทีปส่องโลกทั้งสิ้นไม่มีประมาณคือเว้นจากประมาณ ไม่มีผู้ใดเปรียบ คือเว้นจากผู้เปรียบเทียบ ผู้ทรงไว้ซึ่งความรุ่งเรือง ทรงไว้ซึ่งพระรัศมี คือทรงไว้ซึ่งพระพุทธรัศมีมีวรรณะ ๖ ได้รับปีติอย่างยิ่งคือสูงสุด. คำที่ เหลือรู้ได้ง่ายทั้งนั่นแล.

จบอรรถกถาอันนสังสาวกเถราปทาน