พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

ปุลินปูชกเถราปทานที่ ๗ (๒๗) ว่าด้วยผลแห่งการเกลี่ยทราย

 
บ้านธัมมะ
วันที่  26 พ.ย. 2564
หมายเลข  41016
อ่าน  339

[เล่มที่ 71] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 106

เถราปทาน

สุภูติวรรคที่ ๓

ปุลินปูชกเถราปทานที่ ๗ (๒๗)

ว่าด้วยผลแห่งการเกลี่ยทราย


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 71]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 106

ปุลินปูชกเถราปทานที่ ๗ (๒๗)

ว่าด้วยผลแห่งการเกลี่ยทราย

[๒๙] เราขนเอาทรายเก่าที่โพธิมณฑลอันอุดม แห่งพระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่าวิปัสสีออกทิ้ง แล้วเกลี่ยทรายอัน สะอาดไว้.

ในกัปที่ ๙๑ แต่กัปนี้ เราได้ถวายทรายใด ด้วยผลการ ถวายทรายนั้นเราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการถวายทราย.

ในกัปที่ ๕๓ แต่กัปนี้ เราได้เป็นพระราชาครอบครองคน ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิมีกำลังมาก มีพระนามว่ามหาปุลินะ.

คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า เราได้ทำเสร็จแล้ว ฉะนี้แล.

ทราบว่า ท่านพระปุลินปูชกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย ประการฉะนี้แล.

จบปุลินปูชกเถราปทาน

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 107

๒๗. อรรถกถาปุลินปูชกเถราปทาน

อปทานของท่านพระปุลินปูชกเถระ มีคำเรื่มค้นว่า วิปสฺสิสฺส ภควโต ดังนี้.

พระเถระแม้นี้ ได้บำเพ็ญบุญญาธิการไว้ในพระพุทธเจ้าองค์ก่อนๆ สั่งสมบุญทั้งหลายอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานในภพนั้นๆ ในกาลแห่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าวิปัสสี บังเกิดในตระกูลแห่งหนึ่ง มีจิต เลื่อมใสในพระศาสนา นำทรายเก่าๆ ที่เนินแห่งเจดีย์และเนินโพธิ์ออก แล้วเกลี่ยทรายขาวเสมือนกับเกล็ดแก้วมุกดาใหม่ๆ แล้วประดับพวงมาลัย. ด้วยกรรมนั้น ท่านบังเกิดในเทวโลก เสวยทิพย์สมบัติในวิมานทองหลาย โยชน์ รุ่งโรจน์ไปด้วยแก้วอันเป็นทิพย์ในที่นั้น จุติจากอัตภาพนั้นแล้ว เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ สมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ เสวยมนุษย์สมบัติ ท่องเที่ยวไปๆ มาๆ ในพุทธุปบาทกาลนี้ บังเกิดในตระกูลหนึ่งที่สมบูรณ์ ด้วยสมบัติ เลื่อมใสในพระศาสนาบวชแล้ว เจริญวิปัสสนา บรรลุพระอรหัตแล้ว. ท่านปรากฏโดยนามที่เหมือนกันนามแห่งบุญที่ตนกระทำไว้ว่า ปุลินปูชกเถระ ดังนี้.

ท่านระลึกถึงบุพกรรมของตนเกิดโสมนัส เมื่อจะแสดงปุพพจริตาปทาน จึงกล่าวคำมีอาทิว่า วิปสฺสิสฺส ภควโต ดังนี้. ในคำนั้น ชื่อว่า วิปสฺสี เพราะเห็นต่างๆ หรือชื่อว่า วิปสฺสี เพราะเห็นแจ้งแทงตลอด หรือชื่อว่า วิปสฺสี เพราะเห็นประโยชน์ ต่างด้วยประโยชน์ตน และ ประโยชน์ผู้อื่นเป็นต้นต่างๆ หรือชื่อว่า วิปสฺสี เพราะเห็นสภาวธรรม

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 108

อันต่างโดยบัญญัติและปรมัตถ์เป็นต้นต่างๆ ที่ขนทรายเก่าๆ ทิ้งเกลี่ยทราย ใหม่ๆ อันขาวบริสุทธิ์ ที่ต้นโพธิ์อันสูงสุด คือที่โรงกลมแห่งโพธิพฤกษ์ อันสูงสุด. คำที่เหลือมีอรรถง่ายทั้งนั้นแล.

จบอรรถกถาปุลินปูชกเถราปทาน