พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

อุตติยเถราปทานที่ ๘ (๒๘) ว่าด้วยผลแห่งการส่งข้ามฟาก

 
บ้านธัมมะ
วันที่  26 พ.ย. 2564
หมายเลข  41017
อ่าน  441

[เล่มที่ 71] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 109

เถราปทาน

สุภูติวรรคที่ ๓

อุตติยเถราปทานที่ ๘ (๒๘)

ว่าด้วยผลแห่งการส่งข้ามฟาก


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 71]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 109

อุตติยเถราปทานที่ ๘ (๒๘)

ว่าด้วยผลแห่งการส่งข้ามฟาก

[๓๐] เวลานั้น เราเป็นจระเข้อยู่ใกล้ฝั่งแม่น้ำจันทภาคา เรา ขวนขวายหาเหยื่อของตน ได้ไปยังท่าน้ำ สมัยนั้น พระสยัมภูผู้อัครบุคคลพระนามว่าสิทธัตถะ พระองค์ประสงค์จะ เสด็จข้ามแม่น้ำ จึงเสด็จเข้ามาสู่ท่าน้ำ.

ก็เมื่อพระสัมพุทธเจ้าเสด็จมาถึง แม้เราก็มาถึงที่ท่าน้ำนั้น เราได้เข้าไปใกล้พระสัมพุทธเจ้าแล้ว ได้กราบทูลดังนี้ว่า เชิญ เสด็จขึ้น (หลังข้าพระองค์) เถิด พระมหาวีรเจ้า ข้าพระองค์ จักข้ามส่งพระองค์ ขอพระองค์ทรงอนุเคราะห์วิสัยของความ เป็นบิดาแก่ข้าพระองค์เถิด พระมหามุนีเจ้าข้า พระมหามุนี ทรงสดับคำทูลเชิญของเราแล้วเสด็จขึ้น (หลัง) เราร่าเริง มีจิต ยินดี ได้ข้ามส่งพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้นายกของโลก ที่ฝั่ง แม่น้ำโน้น พระผู้มีพระภาคเจ้าสิทธัตถะผู้นายกของโลก ทรง ยังเราให้พอใจ ณ ที่นั้นว่า ท่านจักได้บรรลุอมตธรรม.

เราเคลื่อนจากกายนั่นแล้ว ได้ไปสู่เทวโลกแวดล้อมด้วย นางอัปสร เสวยสุขอันเป็นทิพย์อยู่ เราได้เป็นจอมเทวดา เสวยเทวรัชสมบัติอยู่ ๗ ครั้ง ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิผู้เป็น ใหญ่ในแผ่นดิน ๓ ครั้ง.

เราขวนขวายในวิเวก มีปัญญาและสำรวมแล้วด้วยดี ทรงกายอันเป็นที่สุดอยู่ในศาสนาพระสัมมาสัมพุทธเจ้า.

ในกัปที่ ๙๔ แต่กัปนี้ เราได้ข้ามส่งพระนราสภ ด้วย

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 110

กรรมนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการข้ามส่งพระ นราสภ.

คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า เราได้ทำเสร็จแล้ว ฉะนี้แล.

ทราบว่า ท่านพระอุตติยเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ ฉะนี้แล. จบอุตติยเถราปทาน

๒๘. อรรถกถาอุตติยเถราปทาน

อปทานของท่านพระอุตติยเถระ มีคำเริ่มต้น ว่า จนฺทภาคานทีตีเร ดังนี้.

พระเถระแม้นี้ ได้บำเพ็ญบุญญาธิการไว้ในพระพุทธเจ้าองค์ก่อนๆ สั่งสมบุญทั้งหลายอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานในภพนั้นๆ ในกาลแห่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่าสิทธัตถะ บังเกิดเป็นจระเข้ในแม่น้ำ ชื่อว่าจันทภาคา เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จเข้ามาใกล้ฝั่งแม่น้ำ มีจิต เลื่อมใส ประสงค์จะนำไปสู่ฝั่ง จึงนอนที่ใกล้ฝั่งนั่นเอง. พระผู้มีพระภาคเจ้าวางพระบาททั้งสองไว้บนหลัง เพื่ออนุเคราะห์แก่จระเข้นั้น. เธอ ยินดี มีใจฟูขึ้น เกิดความอุตสาหะมากด้วยกำลังแห่งปีติ จึงว่ายตัดกระแส น้ำ รีบนำพระผู้มีพระภาคเจ้าไปสู่ฝั่งโน้น โดยเร็ว. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง ทราบความเลื่อมใสแห่งจิตของเธอ จึงทรงพยากรณ์ว่า จระเข้นี้ จุติจาก

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 111

อัตภาพนี้แล้วจักบังเกิดในเทวโลก จำเดิมแต่นั้น เธอก็ท่องเที่ยวไปใน สุคตินั่นเอง ในกัปที่ ๘๔ แต่ภัทรกัปนี้ จักบรรลุอมตนิพพาน ดังนี้แล้ว ก็เสด็จหลีกไป.

เธอท่องเที่ยวไปในสุคตินั้นแหละเหมือนอย่างนั้น ในพุทธุปบาทกาลนี้ บังเกิดเป็นบุตรของพราหมณ์คนหนึ่งในกรุงสาวัตถี. พวกพราหมณ์ ได้ตั้งชื่อเธอว่า อุตติยะ. เธอเจริญวัยแล้ว คิดว่า เราจักแสวงหาอมตธรรม จึงบวชเป็นปริพาชก วันหนึ่ง เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงเข้าไปเฝ้าถวาย บังคมแล้วฟังธรรม เป็นผู้ใดศรัทธา บวชในพระศาสนา เพราะความที่ ตนไม่ชำระศีลและทิฏฐิให้หมดจด จึงไม่อาจให้คุณวิเศษบังเกิดได้ เห็น ภิกษุรูปอื่นยังคุณวิเศษให้เกิดขึ้น พยากรณ์พระอรหัตตผล จึงเข้าไปเฝ้า พระศาสดาทูลขอโอวาทโดยสังเขป. ฝ่ายพระศาสดา ได้ประทานโอวาทแก่ เธอโดยสังเขปนั่นแล โดยนัยมีอาทิว่า เพราะเหตุนั้นนั่นแล อุตติยะ เธอ จงชำระเบื้องต้นนั่นแลให้หมดจด. เธอตั้งอยู่ในโอวาทเริ่มวิปัสสนาแล้ว. เมื่อเธอเริ่มวิปัสสนาอาพาธเกิดขึ้นแล้ว เมื่ออาพาธเกิดขึ้น เธอเกิดความ สังเวช ทราบถึงเรื่องการปรารภความเพียร จึงเจริญวิปัสสนาบรรลุพระอรหัตแล้ว.

ท่านบรรลุพระอรหัตตผล ตามสมควรแก่กุศลสมภารที่ได้บำเพ็ญมา ด้วยประการฉะนี้แล้ว ระลึกถึงบุพกรรมของตนแล้ว เกิดโสมนัส เมื่อ จะประกาศปุพพจริตาปทาน จึงกล่าวคำมีอาทิว่า จนฺทภาคานทีตีเร ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า จนฺทภาคานทีตีเร ความว่าชื่อว่า จันทภาคานที เพราะเปล่งแสงสว่างประกอบด้วยสิริอันกลมกลืนกับแสงสว่างแห่งดวงจันทร์ กระทำเสียงไหลไปตามพื้นทรายขาวสะอาด และเพราะสมบูรณ์ด้วย

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 112

รัศมี และด้วยน้ำใสและมีรสอร่อย. เชื่อมความว่า เราได้เป็นจระเข้ อาศัยอยู่ที่ฝั่งแห่งแม่น้ำจันทภาคานั้น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สุํสุมาโร ความว่า ชื่อว่า สุงสุมาระ เพราะกระทำการฆ่าฝูงปลาเล็กๆ ให้เป็นชิ้นเล็ก ชิ้นน้อย ความว่า ปลาร้ายคือจระเข้ บทว่า สโภชนปสุโตหํ ความว่า เราขวนขวายคือพยายามในโภชนะของตนคือในที่หาอาหารของตน. บทว่า นทีติตฺถํ อคจฺฉหํ ความว่า ในกาลเสด็จมาของพระผู้มีพระภาคเจ้า เรา ได้ไปถึงท่าแม่น้ำ.

บทว่า สิทฺธตฺโถ ตมฺหิ สมเย ความว่า ในกาลที่เราไปสู่ท่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าสิทธัตถะเป็นบุคคลเลิศ ประเสริฐสุดในหมู่ สัตว์ทั้งปวง แม้พระสยัมภู คือผู้เป็นเอง พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จอุบัติ แล้ว ปรารถนาจะข้ามฝั่ง คือเข้าถึงฝั่งแม่น้ำ. บทว่า เปตฺติกํ วิสยํ มยฺหํ ความว่า การที่เรานำพระองค์ให้ข้ามจากแม่น้ำให้อันบิดาและปู่เป็นต้น นำสืบกันมานั้น เป็นการข้ามไปแห่งมหานุภาพ อันเราให้สำเร็จเรียบ ร้อยแล้ว. บทว่า มม อุคฺคชฺชนํ สุตฺวา เชื่อมความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้มหามุนี ทรงสดับคำเชื้อเชิญของเราเสด็จขึ้นแล้ว. คำที่เหลือง่ายทั้ง นั้นแล.

จบอรรถกถาอุตติยเถราปทาน