พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

เอกัญชลิกเถราปทานที่ ๙ (๒๙) ว่าด้วยผลแห่งการประนมอัญชลี

 
บ้านธัมมะ
วันที่  26 พ.ย. 2564
หมายเลข  41018
อ่าน  371

[เล่มที่ 71] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 113

เถราปทาน

สุภูติวรรคที่ ๓

เอกัญชลิกเถราปทานที่ ๙ (๒๙)

ว่าด้วยผลแห่งการประนมอัญชลี


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 71]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 113

เอกัญชลิกเถราปทานที่ ๙ (๒๙)

ว่าด้วยผลแห่งการประนมอัญชลี

[๓๑] เราได้เห็นพระสัมพุทธเจ้า ผู้นี้พระฉวีวรรณเปล่งปลั่งดัง ทอง พระนานว่าวิปัสสี เลิศกว่าผู้นำหมู่ เป็นนระผู้แกล้วกล้า ทรงแนะนำดี ทรงฝึกผู้ที่ยังมิได้ฝึก ผู้คงที่ ทรงมี วาทะมาก มีมติมาก เสด็จดำเนิน ระหว่างตลาด จึงมีจิต เลื่อมใส มีใจโสมนัส ได้ประนมอัญชลีไหว้.

ในกัปที่ ๙๑ แต่กัปนี้ เราได้ประนมอัญชลีไหว้อันใด เวลานั้น ด้วยกรรมนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่ง การประนมอัญชลีไหว้.

คุณวิเศษเหล่านี้ คือปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้. ทราบว่า ท่านพระเอกัญชลิกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ ฉะนี้แล.

จบเอกัญชลิกเถราปทาน

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 114

๒๙. อรรถกถาเอกัญชลิกเถราปทาน

อปทานของท่านพระเอกัญูชลิกเถระ มีคำเริ่มต้นว่า สุวณฺณวณฺณํ ดังนี้.

พระเถระแม้นี้ ได้บำเพ็ญบุญญาธิการไว้ในพระพุทธเจ้าองค์ก่อนๆ สั่งสมบุญทั้งหลายอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานในภพนั้นๆ ในกาล แห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าวิปัสสี บังเกิดในเรือนมีตระกูลแห่ง หนึ่ง บรรลุนิติภาวะแล้ว เลื่อมใสในพระรัตนตรัย เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่าวิปัสสีกำลังเที่ยวบิณฑบาต มีจิตเลื่อมใส ได้ยืน ประคองอัญชลีอยู่แล้ว. ด้วยบุญกรรมนั้น เขาท่องเที่ยวไปในเทวดาและ มนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้ควรแก่การบูชาในทุกสถาน เสวยสมบัติทั้งสอง ใน พุทธุปบาทกาลนี้ บังเกิดในตระกูลผู้สมบูรณ์ด้วยสมบัติ เลื่อมใสในพระศาสนา บวชแล้วเจริญวิปัสสนา ดำรงอยู่ในพระอรหัตแล้ว. ด้วยอำนาจ แห่งบุญที่บำเพ็ญมาในกาลก่อน ท่านจึงปรากฏนามว่า เอกัญชลิกเถระ ดังนี้.

ท่านระลึกถึงบุพกรรมของตน เห็นบุพกรรมนั้น เหมือนผลมะขามป้อมอยู่ในฝ่ามือ เมื่อจะประกาศปุพพจริตาปทาน จึงกล่าวคำมีอาทิว่า สุวณฺณวณฺณํ ดังนี้. บทว่า วิปสฺสึ สตฺถวาหคฺคํ ความว่า ชื่อว่า สัตถวาหะ เพราะนำพวกพ่อค้าเกวียนให้ข้ามกันดาร. อธิบายว่า ให้ข้าม คือให้ข้ามขึ้น ให้ข้ามออก ให้ข้ามพ้น จากวาฬกันดาร โจรกันดาร ทุพภิกขกันดาร ยักขกันดาร อัปปภักขกันดาร (กันดารมีภักษาน้อย) ให้ถึง ภูมิอันเป็นแดงเกษม. ใครนั้น ชื่อว่า เป็นหัวหน้าใหญ่แห่งพ่อค้า พระผู้มีพระภาคเจ้าแม้นี้ ชื่อว่าสัตถวาหะ ผู้นำพวกพ่อค้าเกวียน เพราะเป็นผู้

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 16 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 115

เสมือนผู้นำพวก. จริงอย่างนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้านั้นย่อมยังเหล่าสัตว์ ผู้ ปรารถนาพระโพธิญาณ ๓ อย่าง ผู้ใดสร้างบุญสมภารไว้ให้ข้าม คือให้ขึ้น ให้ข้ามออก ให้ข้ามพ้น จากชาติกันดาร จากพยาธิกันดาร จากมรณกันดาร และจากโสกะปริเทวะทุกข์โทมนัสและอุปายาสกันดาร จากสงสารกันดาร ทั้งปวง อธิบายว่า ให้ถึงบกคือพระนิพพาน. ชื่อว่า สตฺลวาหคฺโค เพราะ ท่านเป็นผู้นำหมู่พ่อค้าเกวียนผู้เลิศ ประเสริฐและเป็นประธาน เชื่อมความ ว่า ซึ่งพระสัมพุทธเจ้าพระนามว่า วิปัสสี ผู้นำหมู่พ่อค้าเกวียนผู้เลิศนั้น. บทว่า นรวรํ วินายกํ ความว่า ซึ่งเป็นนระผู้แกล้วกล้าเพราะมีความบากบั่น. ไม่ย่อหย่อน ในระหว่างแห่งนระทั้งหลาย. ซึ่งท่านผู้ชื่อว่านายกะ เพราะนำ สัตว์ทั้งหลายผู้ได้สร้างบุญสมภารไว้โดยพิเศษ ให้ถึงนครคือนครนิพพานนั้น.

บทว่า อทนฺตทมนํ คาทึ ซึ่งท่านผู้ชื่อว่า ผู้ฝึกผู้อื่นผู้ยังไม่ฝึก เพราะฝึกเหล่าสัตว์ผู้ไม่ได้ฝึก ด้วยกายทวาร วจีทวาร และมโนทวาร อันประกอบด้วยกิเลสมีราคะ โทสะ และโมหะเป็นต้น ซึ่งผู้ชื่อว่าคงที่ เพราะประกอบด้วยคุณมีความเป็นผู้ไม่หวั่นไหวในอิฏฐารมณ์ และอนิฏฐารมณ์เป็นต้น. บทว่า มหาวาทึ มหมตึ ความว่า ผู้ชื่อว่า มหาวาที เพราะมีปกติอยู่ด้วยบุคคลผู้ยิ่งกว่าคน ในระหว่างแห่งบุคคลผู้กล่าวถึงลัทธิ ของตนและลัทธิของบุคคลอื่น มติอันใหญ่อันเสมอด้วยแผ่นดิน และเสมอ ด้วยภูเขาสุเมรุของผู้ใดมีอยู่ ผู้นั้นชื่อว่ามีมติใหญ่. คำว่า มหามติ นั้น เป็นตุลยาธิกรณพหุพพิหิสมาส โดยนัยมีอาทิว่า มหาวาท มหามตึ สมฺพุทฺธํ ดังนี้. คำที่เหลือมีอรรถง่ายทั้งนั้นแล.

จบอรรถกถาเอกัญชลิกเถราปทาน