กุณฑธานเถราปทานที่ ๑ (๓๑) ว่าด้วยผลแห่งการถวายผลกล้วย
[เล่มที่ 71] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 119
เถราปทาน
กุณฑธานวรรคที่ ๔
กุณฑธานเถราปทานที่ ๑ (๓๑)
ว่าด้วยผลแห่งการถวายผลกล้วย
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 71]
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 119
กุณฑธานวรรคที่ ๔
กุณฑธานเถราปทานที่ ๑ (๓๑)
ว่าด้วยผลแห่งการถวายผลกล้วย
[๓๓] เรามีจิตเลื่อมใส ได้บำรุงพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ สุด ตรัสรู้เอง เป็นอัครบุคคล ซึ่งหลีกเร้นอยู่ตลอด ๗ วัน เรา รู้เวลาที่พระองค์เสด็จออกจากที่หลีกเร้น ได้ถือผลกล้วยใหญ่ เข้ารูปถวายพระมหามุนีพระนามว่าปทุมุตตระ.
พระผู้มีพระภาคเจ้าสัพพญญูผู้นำของโลก เป็นมหามุนี ทรงยังจิตของเราให้เลื่อมใส ทรงรับไว้แล้วเสวย พระสัมพุทธเจ้า ผู้ทรงนำหมู่ชั้นยอดเยี่ยมเสวยแล้ว ประทับนั่งบน อาสนะของพระองค์ ได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า
ยักษ์เหล่าใดประชุมกันอยู่ที่ภูเขานี้ และคณะภูตในป่า ทั้งหมดนั้น จงฟังคำเรา ผู้ใดบำรุงพระพุทธเจ้าผู้เที่ยง ดัง ไกรสรราชสีห์ เราจักพยากรณ์ผู้นั้น ท่านทั้งหลายจงพึงเรา กล่าว
ผู้นั้นจักได้เป็นท้าวเทวราช ๑๑ ครั้ง จักได้เป็นพระเจ้า จักรพรรดิ ๓๔ ครั้ง ในกัปที่แสน พระศาสดาทรงพระนาม ว่าโคดมโดยพระโคตร ซึ่งทรงสมภพในวงศ์พระเจ้าโอกกากราช จักเสด็จอุบัติในโลก.
ผู้นั้นได้ด่าสมณะทั้งหลายผู้มีศีล หาอาสวะมิได้ จักได้ชื่อ (อันเหมาะสม) ด้วยวิบากแห่งกรรมอันลามก.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 120
เขาจักได้เป็นโอรสทายาทในธรรมของพระศาสดาพระองค์ นั้น อันธรรมนิรมิตแล้ว จักเป็นพระสาวกมีชื่อว่ากุณฑธานะ.
เราประกอบเนืองๆ ซึ่งความสงัด เพ่งฌาน ยินดีใน ฌาน ยังพระศาสดาให้ทรงโปรดปราน ไม่มีอาสนะอยู่.
พระชินเจ้าอันพระสาวกทั้งหลายแวดล้อม ห้อมล้อมด้วย ภิกษุสงฆ์ ประทับนั่ง ณ ท่ามกลางสงฆ์แล้ว ทรงให้เรารับ การแจกสลาก.
เราห่มผ้าเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง ถวายบังคมพระศาสดาผู้นำ ของโลก เมื่อภิกษุทั้งหลายว่ากล่าวอยู่ ได้รับสลากที่หนึ่งไว้ ข้างหน้าของผู้ประเสริฐ.
ด้วยกรรมนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยังหนุนโลกธาตุให้ หวั่นไหว ประทับนั่ง ณ ท่ามกลางภิกษุสงฆ์ ทรงตั้งเราไว้ใน อัครฐานะ.
เรามีความเพียรอันนำซึ่งธุระ นำความเกษมจากโยคะมา ให้ เราทรงกายเป็นที่สุดไว้ ในศาสนาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระกุณฑธานเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ ฉะนี้แล.
จบกุณฑธานเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 121
กุณฑธานวรรคที่ ๔
๓๑. อรรถกถากุณฑธานเถราปทาน
อปทานของท่านพระกุณฑธานเถระ มีคำเริ่มต้นว่า สตฺตาหํ ปฏิสลฺสีนํ ดังนี้.
พระเถระแม้นี้ ได้บำเพ็ญบุญญาธิการไว้ในพระพุทธเจ้าพระองค์ ก่อนๆ สั่งสมบุญทั้งหลายอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานในภพนั้นๆ ใน กาลของพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า ปทุมตตระ ท่านเกิดในเรือนมี ตระกูลในพระนครหังสวดี เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าโดยนัยที่กล่าวแล้ว ในหนหลังนั่นแล. ฟังธรรมอยู่ เห็นภิกษุรูปหนึ่ง อันพระศาสดาทรงแต่ง ตั้งไว้ในตำแหน่งภิกษุผู้เลิศแห่งภิกษุผู้จับสลากก่อน ปรารถนาตำแหน่งนั้น กระทำบุญสมควรแก่ฐานันดรนั้น ท่องเที่ยวไปแล้ว. ครั้นวันหนึ่งเขาได้ น้อมถวาย เครือกล้วยใหญ่สีเหลืองเหมือนจุณแห่งมโนศิลา แค่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า ปทุมุตตระ ผู้ออกจากนิโรธสมาบัติแล้ว ประทับนั่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับเครือกล้วยนั้นแล้วเสวย.
ด้วยบุญกรรมนั้น เขาเสวยราชสมบัติทิพย์ในหมู่เทพ ๑๑ ครั้ง ได้ เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๒๔ ครั้ง เขากระทำบุญบ่อยๆ อย่างนี้ แล้ว ท่องเที่ยวอยู่ในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เกิดเป็นภุมมเทวดา ในกาล ของพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่ากัสสปะ.
ก็ธรรมดาพระพุทธเจ้าผู้ทรงอายุยืนทั้งหลาย. ย่อมไม่มีอุโบสถทุกๆ ถึงเดือน จริงอย่างนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า วิปัสสี ได้ มีอุโบสถในระหว่าง ๖ ปี. ส่วนพระทศพลทรงพระนามว่ากัสสปะ สวดปาติโมกข์ทุกๆ ๖ เดือน. ในการสวดปาติโมกข์นั้น ภิกษุผู้เป็นสหาย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 122
กัน ๒ รูป ผู้อยู่ประจำ เดินไปด้วยคิดว่าจักกระทำอุโบสถ. ภุมมเทวดา คนนี้ คิดว่าภิกษุ ๒ รูปนี้ รักกันแน่นหนาเหลือเกิน เมื่อมีผู้ทำลาย จะ แตกกันหรือไม่หนอ. มองหาโอกาสเพื่อภิกษุทั้งสองอยู่ เดินไปไม่ห่างภิกษุ ทั้งสองนั้นนัก. ครั้งนั้น พระเถระรูปหนึ่ง ให้พระเถระอีกรูปหนึ่งถือบาตร และจีวรไว้ เดินไปสู่ที่ๆ มีน้ำสะดวก เพื่อขับถ่ายสรีระ ล้างมือล้างเท้า แล้วออกจากที่ใกล้พุ่มไม้. ภุมมเทวดาแปลงเพศเป็นหญิงรูปงามเดินตาม หลังพระเถระนั้น ไป ทำประหนึ่งสยายผมแล้วเกล้าใหม่ ทำประหนึ่งว่า ปัดฝุ่นออกจากข้างหลัง และทำประหนึ่งว่านุ่งห่มผ้าสาฎกใหม่ เดินตาม หลังพระเถระออกจากพุ่มไม้แล้ว. พระเถระผู้เป็นสหายยืนอยู่ ณ ส่วนช้าง หนึ่ง เห็นเหตุนั้นแล้วเกิดโทมนัส คิดว่า บัดนี้ความรักที่ติดต่อกันมาเป็น เวลานาน กับภิกษุนี้ฉิบหายแล้ว ถ้าเราพึงรู้ว่าเธอเป็นผู้มีกิเลสอย่างนี้ เราจักไม่ทำความคุ้นเคยกับภิกษุนี้ ตลอดกาลนานประมาณเท่านี้ เมื่อ พระเถระมาถึงเท่านั้นก็กล่าวว่า นิมนต์รับเอาบาตรจีวรองท่านไปเถิด ผู้อาวุโส เราไม่ปรารถนาจะร่วมทางกับผู้ที่ลามกเช่นท่าน. หทัยของภิกษุ ผู้ลัชชีนั้น ฟังถ้อยคำนั้นแล้ว ได้เป็นประหนึ่งถูกหอกที่คมกริบเสียบแล้ว. ลำดับนั้น ลัชชีภิกษุนั้น จึงพูดกับ พระเถระผู้เป็นสหายว่า อาวุโส ท่าน พูดอะไรเช่นนั้น เรายังไม่รู้อาบัติแม้เพียงทุกกฏตลอดเวลาที่ประมาณ เท่านี้ ก็วันนี้ท่านกล่าวเราเป็นคนลามก ท่านเห็นอะไรหรือ? พระเถระ ผู้เป็นสหายจึงพูดว่า เรื่องอื่นที่เห็นแล้ว จะมีประโยชน์อะไร ท่านออกมาใน ที่เดียวกัน กับมาตุคามผู้ประดับแล้ว ตกแต่งแล้วอย่างนี้หรือ. พระเถระผู้ ลัชชีกล่าวว่า อาวุโส เรื่องนี้ไม่มีแก่เราเลย เราไม่เห็นมาตุคามเห็นปานนี้ เลย. แม้เมื่อพระเถระผู้ลัชชีจะกล่าวอย่างนี้ถึง ๓ ครั้ง พระเถระนอกนี้ก็
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 123
ไม่เชื่อถ้อยคำ ยึดถือเอาเหตุที่คนเห็นแล้วนั้นแหละว่าเป็นเรื่องจริง. ไม่ เดินทางเดียวกับภิกษุนั้น ไปสู่สำนักของพระศาสดาโดยทางอื่น.
ต่อแต่นั้นมา ถึงเวลาที่ภิกษุสงฆ์เข้าสู่โรงอุโบสถ ภิกษุนั้นเห็น ลัชชีภิกษุนั้นในโรงอุโบสถ รู้ชัดแล้วก็ออกไปเสียด้วยคิดว่า ภิกษุเช่นนี้ มีอยู่ในโรงอุโบสถนี้ เราจักไม่กระทำอุโบสถร่วมกับเธอ ดังนี้แล้วได้ยืน อยู่ในภายนอก. ลำดับนั้น ภุมมเทวดาคิดว่า เราทำกรรมหนักหนอ แล้ว แปลงเพศเป็นอุบาสกแก่ไปยังสำนักของภิกษุนั้นกล่าวว่า ข้าแต่ท่าน ผู้เจริญ เหตุไฉนพระคุณเจ้า จึงยืนอยู่ในที่นี้. ภิกษุนั้นตอบว่า ดูก่อน อุบาสก ภิกษุลามกรูปหนึ่งเข้าไปสู่โรงอุโบสถนี้. เราไม่กระทำอุโบสถ ร่วมกับเธอ เราคิดดังนี้ จึงออกมายืนอยู่ข้างนอก. ภุนมเทวดา จึงพูดว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ท่านอยู่ถืออย่างนี้เลย ภิกษุนี้มีศีลบริสุทธิ์ ชื่อว่า มาตุคามที่ท่านเห็นแล้ว คือข้าพเจ้าเอง. เพื่อจะทดลองไมตรีของท่าน ทั้งสองว่า ไมตรีของพระเถระทั้งสองรูปนี้จะมั่นคงหรือไม่มั่นคงหนอดังนี้ ข้าพเจ้าผู้อยากดูความที่ท่านทั้งสองจะแตกไมตรีกันหรือไม่ กระทำกรรม นั้นแล้ว. ภิกษุนั้นถามว่า ดูก่อนสัตบุรุษ ก็ท่านเป็นอะไร ภุมมเทวดา ตอบว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าเป็นภุมมเทวดาตนหนึ่ง. เทวบุตรเมื่อ ชี้แจงเสร็จ ก็ไม่ดำรงอยู่ในทิพพานุภาพ หมอบลงแทบเท้าของพระเถระ อ้อนวอนพระเถระว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ขอท่านจงอดโทษแก่ข้าพเจ้าเถิด พระเถระไม่รู้โทษนั้น ขอท่านจงทำอุโบสถเถิด ดังนี้แล้วนิมนต์ให้พระเถระเข้าไปสู่โรงอุโบสถ. พระเถระนั้น ได้กระทำอุโบสถในที่เดียวกัน ก่อน และได้อยู่ในที่เดียวกันกับภิกษุนั้น ด้วยอำนาจความสนิทสนมอีก ทั้ง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 124
ไม่พูดถึงกรรมของพระเถระนี้. ส่วนพระเถระที่ถูกโจทบำเพ็ญวิปัสสนา บ่อยๆ บรรลุพระอรหัตแล้ว.
ด้วยผลแห่งกรรมนั้น ภุมมเทวดาไม่รอดพ้นจากภัยในอบายตลอด ถึงพุทธันครหนึ่ง. ก็ถ้าในเวลาไร มาสู่ความเป็นมนุษย์ โทษที่กระทำ ไว้ด้วยกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งอื่นๆ จะหล่นทับถมเขาทีเดียว ในกาลแห่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าของเราทั้งหลาย. เขาเกิดในสกุลพราหมณ์ ในนครสาวัตถี คนทั้งหลายได้ขนานนามเขาว่า ธานมาณพ. ธานมาณพเจริญวัย แล้ว เรียนไตรเพทฟังธรรมเทศนาของพระศาสดาในเวลาแก่. มีศรัทธา บวชแล้ว. จำเดิมแต่วันที่ท่านอุปสมบทแล้ว สตรีผู้ประดับแล้ว ตกแต่ง แล้วนางหนึ่งจะปรากฏติดตามท่านอยู่เป็นนิตย์ อย่างนี้คือ เมื่อท่านเข้าบ้าน ก็เข้าบ้านพร้อมกับท่าน เมื่อท่านออกก็ออกด้วย เมื่อท่านเข้าวิหารก็เข้า ไปด้วย แม้เมื่อท่านยืนอยู่ก็ยืนอยู่ด้วย.
พระเถระไม่เห็นนางเลย. แต่ด้วยกรรมเก่าของท่าน นางจึงปรากฏ แก่คนเหล่าอื่น สตรีทั้งหลายเมื่อถวายข้าวยาคู ถวายภิกษาในบ้านจะพากัน พูดว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าวยาคูกระบวยหนึ่งนี้ สำหรับท่าน อีกกระบวย หนึ่ง สำหรับหญิงผู้เป็นสหายของเราทั้งหลายคนนี้ ดังนี้แล้ว ทำการ เย้ยหยัน. เป็นความลำบากอย่างยอดยิ่งแก่พระเถระ. สามเณรและภิกษุ หนุ่มทั้งหลาย ก็พากัน ห้อมล้อมท่านผู้ไปสู่วิหาร พูดเยาะเย้ยว่า พระธานะ มีเหี้ยเกิดแล้ว.
ครั้งนั้นท่านจึงเกิดมีนามเพิ่มว่า กุณฑธานเถระ ด้วยเหตุนั้นเอง ท่านเพียรพยายามแล้วก็ไม่สามารถจะอดกลั้นความเยาะเย้ยอันสามเณรและ ภิกษุหนุ่มเหล่านั้นกระทำอยู่ได้ เกิดบ้าขึ้นมาพูดว่า พวกท่านสิเป็นเหี้ย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 125
อุปัชฌาย์ของพวกท่านก็เป็นเหี้ย อาจารย์ก็เป็นเหี้ย. ลำดับนั้น ภิกษุ ทั้งหลายกราบทูลฟ้องแด่พระศาสดาว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระกุณฑธานะกล่าวคำหยาบอย่างนี้ กับภิกษุหนุ่มและสามเณรทั้งหลาย. พระศาสดาตรัสสั่งให้เรียกพระกุณฑธานเถระมา ตรัสถามว่า ดูก่อนธานะ ได้ยินว่า เธอกล่าวคำหยาบกับสามเณรทั้งหลายหรือ เมื่อพระกุณฑธานะ กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เป็นความจริงพระเจ้าข้า ดังนี้ จึง ตรัสว่า เหตุไฉนเธอจึงกล่าวอย่างนี้. พระกุณฑธานะกราบทูลว่า ข้าแต่ พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์อดกลั้นความลำบากเป็นประจำไม่ได้จึงกล่าว อย่างนี้. พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธอไม่สามารถจะยังกรรมที่เธอ ทำไว้ในก่อน ให้สลายไปได้จนถึงวันนี้ เธออย่ากล่าวคำหยาบเห็นปานนี้ อีก ดังนี้แล้วตรัสว่า
เธออย่าได้กล่าวคำหยาบกะใครๆ ผู้ที่เธอกล่าวแล้วพึง กล่าวตอบเธอ เพราะว่า ถ้อยคำแข่งดีให้เกิดทุกข์ อาชญา ตอบพึงถูกต้องเธอ ถ้าเธอไม่ยังตนให้หวั่นไหวดุจกังสดาล ถูกขจัดแล้ว เธอจักเป็นผู้ถึงพระนิพพาน ความแข่งดีย่อมไม่ มีแก่เธอ ดังนี้.
และชาวเมืองทั้งหลาย ก็กราบทูลความที่พระเถระนั้นท่องเที่ยวไป กับมาตุคาม แม้แก่พระเจ้าโกศล. พระราชาส่งราชบุรุษไปด้วยตรัสว่า ดูก่อนพนาย พวกท่านจงไป จงใคร่ครวญดู ดังนี้แล้ว แม้พระองค์เอง ก็เสด็จไปสู่ที่อยู่ของพระเถระ ด้วยบริวารจำนวนน้อย แล้วเสด็จประทับ ยืนดูอยู่ แม้หญิงนั้นก็ปรากฏ เป็นเหมือนยืนอยู่ในที่ไม่ไกล. พระราชา ทอดพระเนตรเห็นแล้ว ทรงพระดำริว่า เหตุนี้มีอยู่ จึงเสด็จไปยังที่หญิง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 126
นั้นยืนอยู่ เมื่อพระราชาเสด็จมา หญิงนั้นก็ทำเป็นเหมือนเข้าไปสู่บรรณศาลา อันเป็นที่อยู่ของพระเถระ.
แม้พระราชา ก็เสด็จเข้าไปสู่บรรณศาลานั้นแหละ พร้อมกับหญิง นั้น ทรงตรวจดูทั่วๆ ไป ก็ไม่เห็น จึงเข้าพระทัยว่า นี้ไม่ใช่มาตุคาม คงเป็นกรรมวิบากอย่างหนึ่งของพระเถระ แต่ก่อนแม้ถึงจะเสด็จเข้าไปใกล้ พระเถระก็ไม่ไหว้พระเถระ ครั้นทรงทราบว่าเหตุนั้นไม่เป็นจริง จึงเสด็จ มาไหว้พระเถระแล้วประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ตรัสถามว่า ข้าแต่ ท่านผู้เจริญ พระคุณเจ้าไม่ลำบากด้วยอาหารบิณฑบาตบ้างหรือ? พระเถระ ทูลว่า พอสนควรอยู่ มหาบพิตร. พระราชาตรัสว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ กระผมเข้าใจคำพูดของพระคุณเจ้า เมื่อพระคุณเจ้าเที่ยวไปกับสิ่งที่ทำให้ เศร้าหมองเช่นนี้ ใครเล่าจะเลื่อมใส จำเดิมแต่นี้ไป พระคุณเจ้า ไม่ต้อง มีกิจที่จะต้องไปในที่ไหนๆ โยมจะบำรุงพระคุณเจ้าด้วยปัจจัย ๔ ขอพระคุณเจ้าจงอยู่ประมาทในโยนิโสมนสิการ ดังนี้แล้ว เริ่มถวายภิกษาเป็น ประจำ พระเถระได้พระราชาเป็นผู้อุปถัมภ์ เป็นผู้มีจิตเป็นเอกัคคตารมณ์ เพราะมีโภชนะเป็นที่สบาย เจริญวิปัสสนาแล้วบรรลุพระอรหัต จำเดิม แต่นั้น หญิงนั้นก็หายไป.
ครั้งนั้น มหาสุภัททาอุบาสิกา อยู่ในเรือนแห่งตระกูลที่เป็นมิจฉาทิฏฐิ ในอุคคนคร อธิษฐานอุโบสถด้วยคิดว่า ขอพระศาสดาจงอนุเคราะห์ เราให้เป็นหญิงปราศจากกลิ่นดิบ ยืนอยู่บนพื้นปราสาทชั้นบน กระทำ สัจจกิริยาว่า ขอดอกไม้เหล่านี้ ตั้งอยู่ในภายใน จงตั้งเป็นเพดาน ณ เบื้องบนพระทศพล. ด้วยสัญญานี้ ขอพระทศพลจงรับ ภิกษาของเรา พร้อมด้วยภิกษุ ๕๐๐รูป ในวันพรุ่งนี้ แล้วเหวี่ยงดอกมะลิไป ๘ กำมือ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 127
ดอกไม้ทั้งหลายลอยไปแล้ว ตั้งเป็นเพดาน ณ เบื้องบนของพระศาสดา ในเวลาที่ทรงแสดงพระธรรมเทศนา. พระศาสดาทอดพระเนตรเห็นเพดาน ดอกมะลินั้นแล้ว ทรงรับภิกษาของนางสุภัททาด้วยใจอย่างเดียว. ใน วันรุ่งขึ้น เมื่ออรุณตั้งขึ้นแล้ว จึงตรัสกะพระอานนทเถระว่า ดูก่อน อานนท์ วันนี้พวกเราจักไปภิกขาจารในที่ไกล. เธออย่าให้สลากแก่ภิกษุ ที่เป็นปุถุชน จงให้สลากแก่ภิกษุที่เป็นพระอริยะเท่านั้น พระเถระแจ้ง แก่ภิกษุทั้งหลายว่า อาวุโสทั้งหลาย วันนี้พระศาสดาจักเสด็จภิกขาจาร ในที่ไกล ภิกษุที่เป็นปุถุชนอย่ารับสลาก ภิกษุที่เป็นพระอริยะเท่านั้นจง รับสลากดังนี้ พระกุณฑธานเถระ. เหยียดมือออกไปก่อนทีเดียว โดย พูดว่า อาวุโส ท่านจงนำสลากมา. พระอานนท์กล่าวว่า พระศาสดาไม่ ตรัสสั่งให้ให้สลากแก่ภิกษุเช่นท่าน ตรัสสั่งให้ให้แก่ภิกษุที่เป็นพระอริยะ เท่านั้น ดังนี้แล้วเกิดปริวิตก ไปกราบทูลพระศาสดาแล้ว. พระศาสดา ตรัสว่า จงให้สลากแก่ผู้ที่ขอ.
พระเถระคิดว่า ถ้าการให้สลากไม่ควรให้แก่พระกุฑธานะ. เมื่อเป็น เช่นนั้น พระศาสดาพึงห้ามไว้ ในเรื่องนี้ชะรอยจักมีเหตุ จึงย้อนกลับไป ด้วยคิดว่า เราจักให้สลากแก่พระกุฑธานะ. ก่อนแด่พระอานนท์จะมา ถึงนั้นแหละ พระกุณฑธานเถระเข้าจุตตถานมีอภิญญาเป็นบาท ยืนอยู่ ในอากาศด้วยฤทธิ์ กล่าวว่า อาวุโส อานนท์ พระศาสดาทรงรู้จักเรา พระศาสดาไม่ทรงห้ามภิกษุเช่นเรา ผู้จับสลากก่อนหรือหรอก ดังนี้ แล้วยื่น มือไปจับสลาก, พระศาสดาทรงกระทำเรื่องนั้นให้เป็นอัตถุปปัติเหตุ แต่งตั้งถึงพระเถระไว้ในตำแหน่งภิกษุผู้เลิศแห่งภิกษุทั้งหลาย ผู้จับสลากก่อน. เพระเหตุที่พระเถระนี้มีพระราชาเป็นผู้อุปถัมภ์ เพราะได้อาหารอันเป็นที่
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 128
สบาย จึงมีจิตเป็นสมาธิกระทำกรรมในวิปัสสนา ได้อภิญญา ๖ เพราะ เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยอุปนิสัย. ภิกษุผู้เป็นปุถุชนเหล่าใด เมื่อไม่ได้คุณของ พระเถระนี้ แม้ผู้เป็นอย่างนี้ว่า ในเวลานั้น ท่านจับสลากนี้ก่อนหรือหนอ. เพื่อจะกำจัดความสงสัยของภิกษุเหล่านั้น พระเถระจึงเหาะขึ้นสู่อากาศ แสดงอิทธิปาฏิหาริย์ พยากรณ์พระอรหัตตผล โดยอ้างพระอรหัตตผล จึง กล่าวคาถาว่า เธอจงตัดเครื่องผูก ๕ ประการ ดังนี้. ท่านบรรลุพระอรหัต โดยสมควรแก่บุญสมภารที่บำเพ็ญมาแล้ว อย่างนี้ ได้รับตำแหน่งเอตทัคคะ ระลึกถึงบุพกรรม เมื่อจะประกาศ ปุพพจริตาปทาน จึงกล่าวคำมีอาทิว่า สตฺตาหํ ปฏิสลฺลีนํ ดังนี้. คำที่ เหลือมีอรรถง่ายทั้งนั้นแล.
จบอรรถกถากุณฑธานเถราปทาน