พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

สาคตเถราปทานที่ ๒ (๓๒) ว่าด้วยผลแห่งการสรรเสริญพระพุทธเจ้า

 
บ้านธัมมะ
วันที่  27 พ.ย. 2564
หมายเลข  41021
อ่าน  502

[เล่มที่ 71] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 129

เถราปทาน

กุณฑธานวรรคที่ ๔

สาคตเถราปทานที่ ๒ (๓๒)

ว่าด้วยผลแห่งการสรรเสริญพระพุทธเจ้า


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 71]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 129

สาคตเถราปทานที่ ๒ (๓๒)

ว่าด้วยผลแห่งการสรรเสริญพระพุทธเจ้า

[๓๔] ในกาลนั้น เราเป็นพราหมณ์มีนามชื่อว่า โสภิตะ อัน บริวารพร้อมด้วยศิษย์แวดล้อมแล้ว ได้ไปยังอาราม สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้อุดมบุรุษ แวดล้อมด้วยภิกษุสงฆ์ เสด็จ ออกจากประตูพระอารามแล้วประทับยืนอยู่.

เราได้เห็นพระสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ฝึกพระองค์แล้ว แวดล้อมด้วยภิกษุสงฆ์ผู้ฝึกตนแล้ว จึงยังจิตของตนให้เลื่อมใสแล้ว เชยชมพระองค์ผู้นำของโลกว่า ต้นไม้ทุกชนิดนั้น งอกงามนี้แผ่นดิน ฉันใด สัตว์ผู้มีความรู้ ก็ฉันนั้น ย่อมงอก งามในศาสนาของพระชินเจ้า.

องค์พระสัพพัญญูผู้ทรงนำหมู่แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ ทรง ถอนคนเป็นอันมากออกจากทางผิดแล้ว จรัสบอกทางที่ถูก.

พระองค์ฝึกพระองค์แล้ว แวดล้อมด้วยผู้เพ่งฌาน ทรง มีความเพียร แวดล้อมด้วยผู้ส่งตนไปแล้ว ผู้สงบระงับและ ผู้คงที่ ประดับด้วยบริษัท ย่อมงามด้วยพระญาณอันเกิดแต่บุญ รัศมีของพระองค์รุ่งเรืองดังพระอาทิตย์อุทัยฉะนั้น.

พระศาสดาพระนามว่า ปทุมุตตนะ ผู้ทรงแสวงหาคุณใหญ่ ทอดพระเนตรเห็นเราผู้มีจิตเลื่อมใส ประทับยืนท่ามกลาง ภิกษุสงฆ์ ได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า

พราหมณ์ใด ยังความร่าเริงให้เกิดแล้ว สรรเสริญเรา พราหมณ์นั้นจักรื่นรมย์อยู่ในเทวโลกตลอดแสนกัป.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 130

อันกุศลมูลตักเตือนแล้ว จักเคลื่อนจากสวรรค์ชั้นดุสิต แล้วจักบวชในศาสนาของพระ ผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่า โคดม.

ครั้นบวชในศาสนาแล้ว จักได้ความยินดีและความร่าเริง ก็เป็นสาวกของพระศาสดา มีนามชื่อว่าสาคตะ.

เราบวชแล้วเว้นกรรมอันลามกด้วยกาย ละวจีทุจริต ยัง อาชีพให้บริสุทธิ์ เราเป็นอยู่อย่างนี้ เป็นผู้ฉลาดในเตโชธาตุ กำหนดรู้อาสวะทั้งปวงแล้ว เป็นผู้ในมีอาสวะอยู่.

คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

ทราบว่า ท่านพระสาคตเถระได้กล่าวคาถาเหล่านั้น ด้วยประการ ฉะนี้แล.

จบสาคตเถราปทาน

๓๒. อรรถกถาสาคตเถราปทาน

อปทานของท่านพระสาคตเถระ มีคำเริ่มต้นว่า โสภิโต นาม นาเมน ดังนี้.

พระเถระแม้นี้ ได้บำเพ็ญบุญญาธิการไว้ในพระพุทธเจ้าองค์ก่อนๆ สั่งสมบุญทั้งหลายอันเป็นอุปนิสัยแก่พระนิพพานในภพนั้นๆ ในกาลแห่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตระ บังเกิดในตระกูลพราหมณ์

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 131

แห่งหนึ่ง บรรลุนิติภาวะแล้ว ถึงความสำเร็จในศิลปะทั้งปวง โดยนาม ปรากฏนามว่า โสภิตะ ถึงฝั่งแห่งเวท ๓ ผู้เรียนรู้มาก เรียนไวยากรณ์ แห่งสนิฆัณฑุศาสตร์ และเกฏุภศาสตร์ พร้อมด้วยประเภทแห่งอักขระ มีอิติหาสศาสตร์เป็นที่ ๕ ผู้ชำนาญในโลกายตศาสตร์และมหาปุริสลักษณศาสตร์. วันหนึ่ง ท่านเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตระ ผู้งดงามด้วยสิริแห่งมหาปุริสลักษณะ ๓๒ เสด็จไปอยู่โดยประตูพระอุทยาน มีใจเลื่อมใสยิ่ง ได้กระทำการชมเชย ด้วยอุบายเป็นอเนก ด้วยการ สรรเสริญคุณเป็นอเนก. ในกาลนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสดับดังนั้น จึงทรงประทานพยากรณ์ว่า ในอนาคตเธอจักเป็นสาวกนามว่า สาคตะ ในศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้า พระนานว่าโคดม. จำเดิมแต่นั้นท่าน สั่งสมบุญทั้งหลาย ดำรงอยู่ตลอดอายุ จุติจากอัตภาพนั้นแล้ว บังเกิด ในเทวโลก เสวยทิพยสมบัติตลอดแสนกัป เสวยมนุษย์สมบัติในมนุษย์ ทั้งหลาย ในพุทธุปบาทกาลนี้ บังเกิดในเรือนมีตระกูลแห่งหนึ่ง. มารดา บิดาของท่านตั้งชื่อว่า สาคตะ เพราะท่านเจริญโสมนัส เกิดดีมาแล้ว. ท่านเลื่อมใสในพระศาสนา บวชแล้ว เจริญวิปัสสนาบรรลุพระอรหัตแล้ว.

ท่านบรรลุพระอรหัตตผลโดยสมควรแก่บุญสมภารด้วยประการฉะนี้ แล้ว ได้รับตำแหน่งเอคทัคคะ ระลึกถึงบุพกรรมของคนแล้ว เมื่อ จะประกาศปุพพจริตาปทาน จึงกล่าวคำมีอาทิว่า สภิโต นาม นาเมน ดังนี้.

เชื่อมความว่า ในคำนั้น ในกาลนั้น คือในสมัยที่บำเพ็ญบุญ สมภาร เราได้เป็นพราหมณ์ โดยชื่อว่า โสภิตะ. บทว่า วิปถา อุทฺธริตฺวาน ความว่า ยกขึ้น นำออกจากทางผิด คือทางชั่ว หรือจากนอกทาง ให้

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 132

คุ้มครองไว้. บทว่า ปถํ อาจิกฺขเส ตุวํ ความว่า ข้าแต่พระสัพพัญญู ผู้เจริญ พระองค์ทรงบอกคือตรัสแสดง เปิดเผย จำแนก ทำให้ตื้น ซึ่งทาง คือทางแห่งสัตบุรุษ ได้แก่อุบายเป็นเหตุบรรลุพระนิพพาน. คำที่เหลือ ง่ายทั้งนั้นแล.

จบอรรถกถาสาคตเถราปทาน