พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

มหากัจจายนเถราปทานที่ ๓ (๓๓) ว่าด้วยผลแห่งการทาทองพระเจดีย์

 
บ้านธัมมะ
วันที่  27 พ.ย. 2564
หมายเลข  41022
อ่าน  435

[เล่มที่ 71] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 133

เถราปทาน

กุณฑธานวรรคที่ ๔

มหากัจจายนเถราปทานที่ ๓ (๓๓)

ว่าด้วยผลแห่งการทาทองพระเจดีย์


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 71]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 133

มหากัจจายนเถราปทานที่ ๓ (๓๓)

ว่าด้วยผลแห่งการทาทองพระเจดีย์

[๓๕] เราได้ให้ทำแผ่นศิลาไว้แล้ว ได้เอาทองฉาบทาพระเจดีย์ ชื่อปทุม ของพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นที่พึงของโลก พระนามว่าปทุมุตตระ และได้กั้นฉัตรอันสำเร็จด้วยแก้ว แล้วเอา พัดวาลวิชนีพัดถวายพระพุทธเจ้า ผู้เป็นเผ่าพันธุ์ของโลก ผู้ คงที่.

ภุมเทวดามีประมาณเท่าไร มาประชุมกันทั้งหมดในเวลา นั้น ด้วยความหวังว่า พระศาสดาจักตรัสผลแห่งอาสนะและ ฉัตรแก้ว.

พวกเราจักฟังพระศาสดาตรัสทั้งหมดนั้น พึงยังคาน ร่าเริงให้เกิดอย่างยิ่ง ในศาสนาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า.

พระสยัมภูผู้อัครบุคคล ประทับนั่งบนอาสนะทองแล้ว แวดล้อมด้วยภิกษุสงฆ์ ได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า ผู้ใดได้ ผู้นั้น ท่านทั้งหลายจงฟังเรากล่าว.

ผู้นั้นจักเป็นจอมเทวดาเสวยเทวรัชสมบัติอยู่ ๑๐ กัป จักมี รัศมีแผ่ไปโดยรอบตลอดร้อยโยชน์ มาสู้มนุษย์โลกแล้ว จักได้ เป็นพระเจ้าจักรพรรดิมีพระนามว่า ปภัสสระ จักเป็นผู้มีเดช อันรุ่งเรือง จักรได้เป็นกษัตริย์มีรัตนะ ๘ ประการโชติช่วงอยู่ โดยรอบ ทั้งกลางคืนกลางวัน ดังพระอาทิตย์อุทัยฉะนั้น.

ในกัปที่แสน พระศาสดาพระนามว่าโคดม ซึ่งทรงสมภพ ในวงศ์พระเจ้าโอกกากราช จักเสด็จอุบัติในโลก ผู้นั้นอัน

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 134

กุศลมูลตักเตือนแล้ว จักเคลื่อนจากภพดุสิด จักเป็นบุตร พราหมณ์ มีนามชื่อว่ากัจจานะ ภายหลังเขาบวชแล้ว จักตรัสรู้ ไม่มีอาสวะอยู่ พระโคดมผู้ส่องโลกให้โชติช่วง จักทรงตั้งไว้ ในตำแหน่งอันเลิศ.

ผู้นั้นจักกล่าวปัญหาที่ถูกถามแล้งโดยย่อให้พิสดาร และ เมื่อกล่าวปัญหานั้น จักยังอัธยาศัยให้เต็ม พราหมณ์ผู้เป็น อภิชาตบุตรในสกุลอันมั่งคั่ง เรียนจบมนต์ ละทรัพย์และ ข้าวเปลือกแล้ว บวชเป็นบรรพชิต.

เมื่อถูกถามปัญหาแม้โดยย่อ เราก็กล่าวแก้ได้โดยพิสดาร เราย่อมยังอัธยาศัยของชนเหล่านั้นให้เต็ม ย่อมยังพระผู้มี พระภาคเจ้าผู้สูงสุดกว่าสัตว์ให้โปรดปราน.

พระมหาวีรเจ้าผู้ตรัสรู้เอง เป็นอัครบุคคล ทรงโปรดปราน เรา ประทับนั่ง ณ ท่ามกลางสงฆ์แล้ว ทรงตั้งเราไว้ในเอตทัคคสถาน.

คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

ทราบว่า ท่านพระมหากัจจายนเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย ประการฉะนี้แล

จบมหากัจจายนเถราปทาน

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 135

๓๓. อรรถกถามหากัจจานเถราปทาน

อปทานของท่านพระมหากัจจานเถระ มีคำเริ่มต้นว่า ปทุมุตตระ นาถสฺส ดังนี้.

พระเถระแม้นี้ ได้บำเพ็ญบุญญาธิการไว้ ในพระพุทธเจ้าองค์ ก่อนๆ สั่งสมบุญทั้งหลายอันเป็นอุปนิสัยแก่พระนิพพานในภพนั้นๆ ใน กาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ บังเกิดในตระกูลคฤหบดีมหาศาล เจริญวัยแล้ว วันหนึ่ง ฟังธรรมในสำนักพระศาสดา เห็น ภิกษุรูปหนึ่ง อันพระศาสดาทรงคงไว้ในตำแหน่งอันเลิศแห่งภิกษุผู้จำแนก อรรถแห่งคำที่พระองค์ตรัสโดยย่อให้พิสดารได้ แม้ตนเองก็ปรารถนา ตำแหน่งนั้น ตั้งปณิธานแล้ว บำเพ็ญบุญมีทานเป็นต้น ท่องเที่ยวไป ในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ในกาลแห่งพระผู้มีภาคเจ้าพระนามว่า สุเมธะ เป็นวิทยาธรไปโดยอากาศ เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่ง ณ ไพรสณฑ์ มีจิตเลื่อมใส ได้กระทำการบูชาด้วยดอกกรรณิการ์.

ด้วยบุญกรรมนั้น ท่านท่องเที่ยวไปๆ มาๆ ในสุคตินั่นเอง ในกาลแห่งพระทศพล พระนามว่ากัสสปะ บังเกิดในเรือนมีตระกูลใน กรุงพาราณสี เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าปรินิพพานแล้ว ได้กระทำการบูชา ด้วยแผ่นอิฐอันสำเร็จด้วยทอง มีค่าแสนหนึ่ง ที่ฐานอันเป็นที่กระทำ สุวรรณเจดีย์ ดังความปรารถนาว่า ด้วยวิบากเป็นเครื่องไหลออกแห่ง บุญกรรมนี้ ขอสรีระของเราจงมีวรรณะเพียงดังว่าสีแห่งทอง ในที่ๆ ตน เกิดแล้ว. แต่นั้นกระทำกุศลกรรมตลอดชีวิต ท่องเที่ยวไปในเทวดาและ มนุษย์ทั้งหลาย สิ้นพุทธันดรหนึ่ง ในพุทธุปบาทกาลนี้ บังเกิดในเรือน

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 136

แห่งปุโรหิต ของพระเจ้าจัณฑปัชโชต ในกรุงอุชเชนี ในวันตั้งของท่าน มารดาคิดว่า บุตรของเรามีวรรณะเพียงดังสีแห่งทอง ถือเอาชื่อของตนมา จึงตั้งชื่อว่า กาญจนมาณพ นั่นเอง. ท่านเจริญวัยแล้ว เรียนไตรเพท โดยล่วงไปแห่งบิดา จึงได้ตำแหน่งปุโรหิต. ด้วยอำนาจโคตรท่านปรากฏ นามว่า กัจจานะ. พระเจ้าจัณฑปัชโชต ทราบกาลเสด็จอุบัติแห่งพระ พุทธเจ้า ทรงส่งสาสน์ไปว่า ข้าแต่ท่านอาจารย์ ท่านจงไปในที่นั้น กราบเรียนให้พระศาสาดาทรงทราบ. ท่านมีตนเป็นที่แปดเข้าไปเฝ้าพระศาสาดา. พระศาสาดาทรงแสดงธรรมแก่เขาแล้ว. ในที่สุดแห่งเทศนา ท่านกับชน ๗ คน ดำรงอยู่ในพระอรหัต พร้อมด้วยปฏิสัมภิทา. ลำดับนั้น พระศาสดาทรงเหยียดพระหัตถ์ตรัสว่า จงเป็นภิกษุมาเถิดดังนี้.

ในขณะนั้นนั่นเอง ภิกษุเหล่านั้นมีผมและหนวดเพียงสององคุลี ทรงไว้ซึ่งบาตรและจีวรอันเสร็จด้วยฤทธิ์ ได้เป็นเหมือนพระเถระผู้มี พรรษาตั้งร้อย. พระเถระประนมมือของตนแล้ว กราบทูลพระศาสดา อย่างนี้ว่า ข้าแต่พระองค์และฟังธรรม. พระเจ้าจัณฑปัชโชตปรารภจะถวาย บังคมพระบาทของพระองค์และฟังธรรม. พระศาสดาตรัสว่า ภิกษุ เธอ เท่านั้น จงเป็นผู้มีตนเป็นที่แปดไปในที่นั้น แม้เมื่อเธอไปแล้ว พระราชาจักเลื่อมใส. พระเถระมีตนเป็นที่แปด ไปในที่นั้น ยังพระราชาให้เลื่อมใส ให้พระศาสนาประดิษฐานในอวันตีชนบททั้งหลายแล้ว กลับมาเฝ้าพระศาสดาอีกตามเดิม.

ท่านบรรลุพระอรหัตตผลอย่างนี้แล้ว พระศาสดาได้ทรงตั้งไว้ใน ตำแหน่งอันเลิศด้วยพระดำรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย บรรดาภิกษุผู้สาวกของ เรา ผู้จำแนกอรรถที่เรากล่าวโดยย่อให้พิสดารนี้ มหากัจจานะเป็นเลิศ

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 137

ท่านได้รับตำแหน่งเอตทัคคะแล้ว ระลึกถึงกรรมของตน เมื่อจะประกาศ ปุพพวจริตาปทานจึงกล่าวคำมีอาทิว่า ปทุมุตฺตรนาถสฺส ดังนี้. บรรดาบท เหล่านั้น บทว่า ปทุมํ นาม เจติยํ ความว่า เพราะได้ปกปิดด้วย ดอกปทุม และเพราะการทำด้วยอาการแห่งดอกปทุม วิหารคือพระคันธกุฎีอันเป็นที่ประทับอยู่แห่งพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นแล ได้เป็นเจดีย์ โดยเป็นที่ควรบูชา ที่ประทับอยู่ของพระผู้มีพระภาคเจ้านี้ ท่านเรียกว่า เจดีย์ เหมือนที่เขากล่าวว่า โคตมกเจดีย์ อาฬวกเจดีย์ สถานที่อยู่ของยักษ์ เหล่านั้น ท่านเรียกว่าเจดีย์ เพราะเป็นสถานที่ควรบูชา. พึงทราบว่า ไม่ใช่เจดีย์อันเป็นที่บรรจุพระธาตุ. ก็ท่านไม่ได้สร้างธาตุเจดีย์ เพราะ ไม่มีสรีรธาตุ ของพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ยังไม่ปรินิพพาน. บทว่า สิลาปฏํ การยิตฺวา ความว่า ได้สร้างแผ่นศิลา อันสำเร็จด้วยแก้วผลึก ในภาย ใต้แห่งพระคันธกุฎี อันมีชื่อว่าปทุมนั้น เพื่อเป็นที่รองรับดอกไม้. บทว่า สุวณฺเณนาภิเลปยึ ความว่า เราได้ฉาบปกปิดแผ่นศิลานั้นด้วย อาการพิเศษยิ่ง ด้วยทองชมพูนุท. เราได้ยกฉัตรอันแล้วด้วยรัตนะ คือ ทำด้วยรัตนะ ๗ แล้วกั้นไว้บนยอด แล้วยกพัดวาลวิชนีและพัดบวรจามรี ขาว เพื่อพระพุทธเจ้า. บทว่า โลกพนฺสฺส ตาทิโน ความว่า เราได้ กั้นไว้เพื่อพระพุทธเจ้าผู้พรั่งพร้อมด้วยคุณมีสติเป็นต้น เช่นกับเผ่าพันธุ์ แห่งโลกทั้งสิ้น. คำที่เหลือมีอรรถง่ายทั้งนั้นแล.

จบอรรถกถามหากัจจานเถราปทาน