พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

กาฬุทายีเถราปทานที่ ๔ (๓๔) ว่าด้วยผลแห่งการถวายข้าวชั้นพิเศษ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  27 พ.ย. 2564
หมายเลข  41023
อ่าน  338

[เล่มที่ 71] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 138

เถราปทาน

กุณฑธานวรรคที่ ๔

กาฬุทายีเถราปทานที่ ๔ (๓๔)

ว่าด้วยผลแห่งการถวายข้าวชั้นพิเศษ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 71]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 138

กาฬุทายีเถราปทานที่ ๔ (๓๔)

ว่าด้วยผลแห่งการถวายข้าวชั้นพิเศษ

[๓๖] เมื่อพระพุทธเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ เชษฐบุรุษของโลก ผู้คงที่ เสด็จดำเนินทางไกล เที่ยวจาริกไป ในเวลานั้น

เราได้ถือเอาดอกปทุม ดอกอุบล และดอกมะลิซ้อนอัน บานงาม และถือข้าว (สุก) ชั้นพิเศษมาถวายแด่พระศาสดา.

พระมหาวีรชินเจ้า เสวยข้าวชั้นพิเศษอันเป็นโภชนะ ดี และทรงรับดอกไม้นั้นแล้ว ทรงยังเราให้รื่นเริงว่า ผู้ใด ได้ถวายดอกปทุมอันอุดม เป็นที่ปรารถนา เป็นที่ใคร่ในโลกนี้ แก่เรา ผู้นั้นทำกรรมที่ทำได้ยากนัก ผู้ใดได้บูชาดอกไม้ และ ได้ถวายข้าวชั้นพิเศษแก่เรา เราจักพยากรณ์ผู้นั้น ท่านทั้งหลาย จงฟังเรากล่าว.

ผู้นั้นจักได้เสวยเทวรัชสมบัติ ๑ ครั้ง ดอกอุบล ดอก ปทุม และดอกมะลิซ้อน จะมีในเบื้องบนผู้นั้น ด้วยผลแห่ง บุญนั้น ผู้นั้นจักสร้างหลังคาอันประกอบด้วยของหอมอันเป็น ทิพย์รู้ในอากาศ จักทรงได้ในเวลานั้น จักได้เป็นพระเจ้า จักรพรรดิ ๒๕ ครั้ง จักรดีเป็นพระชาในแผ่นดินครอบครอง พสุธา ๕๐๐ ครั้ง.

ในกัปที่แสน พระศาสดามีพระนามว่าโคดม ซึ่งทรง สมภพในวงศ์พระเจ้าโอกกากราช จักเสด็จอุบัติในโลก ผู้นั้น ปรารถนาในกรรมของตน อันกุศลมูลตักเตือนแล้ว จักได้เป็น

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 139

บุตรผู้มีชื่อเสียง ทำความเพลิดเพลินให้เกิดแก่เจ้าศากยะ ทั้งหลาย.

แต่ภายหลัง ผู้นั้นอันกุศลมูลตักเตือนแล้วจักบวช จัก กำหนดรู้อาสวะทั้งปวงแล้ว ไม่มีอาสวะนิพพาน พระโคดมผู้ เผ่าพันธุ์ของโลก จักทรงตั้งผู้นั้นซึ่งบรรลุปฏิสัมภิทา ได้ทำ กิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีอาสวะ ในเอตทัคคสถาน.

ผู้นั้นมีตนส่งไปแล้วเพื่อความเพียร สงบระงับ ไม่มีอุปธิ จักเป็นสาวกของพระศาสดา มีนามชื่อว่าอุทายี เรากำจัด ราคะ โทสะ โมหะ มานะ และมักขะได้แล้ว กำหนดรู้ อาสวะทั้งปวงแล้ว ไม่มีอาสนะอยู่ เรายังพระสัมพุทธเจ้าให้ ทรงโปรดปราน มีความเพียร มี่ปัญญา และพระสัมพุทธเจ้าทรงเลื่อมใส ทรงตั้งเราไว้ในเอตทัคคสถาน.

คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

ทราบว่า ท่านพระกาฬุทายีเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ ฉะนี้แล.

จบกาฬทุายีเถราปทาน

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 140

๓๔. อรรถกถากาฬถทายีเถราปทาน

อปทานของท่านพระกาฬุทายีเถระ มีคำเริ่มต้นว่า ปทุมุตฺตรสฺส ภควโต ดังนี้.

พระเถระแม้นี้ ได้บำเพ็ญบุญญาธิการไว้ในพระพุทธเจ้าองค์ก่อนๆ สั่งสมบุญทั้งหลายอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานในภพนั้นๆ ในกาลแห่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าปทุมุคตระ บังเกิดในเรือนมีตระกูล ใน หังสวดีนคร ฟังพระธรรมเทศนาของพระศาสดา เห็นพระศาสดาทรงตั้ง ภิกษุรูปหนึ่งไว้ในตำแหน่งอันเลิศของภิกษุทั้งหลายผู้ยังสกุลให้เลื่อมใส กระทำกรรมคือความปรารถนาที่ตั้งใจจริง อันเกิดแต่กรรมนั้น แล้ว ปรารถนาตำแหน่งนั้น.

ท่านบำเพ็ญกุศลจนตลอดชีวิต ท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์ ทั้งหลาย ในวันถือปฏิสนธิในพระครรภ์มารดาแห่งพระโพธิสัตว์ของเรา ทั้งหลาย ท่านถือปฏิสนธิในเรือนแห่งอำมาตย์ ในกรุงกบิลพัสดุ์นั้นเอง เกิดในวันเดียวกันกับพระโพธิสัตว์นั้นเองแล. วันนั้นนั่นเอง เขาให้นอน บนเทริดผ้าที่ทำด้วยเปลือกไม้ชนิดหนึ่ง แล้วไปสู่ที่บำรุงของพระโพธิสัตว์ สมบัติ ๗ คือ โพธิพฤกษ์ ราหุลมารดา ขุมทรัพย์ทั้ง ๔ ม้ากัณฐกะ พระอานนท์ นายฉันทะ พระกาฬุทายี กับพระโพธิสัตว์ ได้ชื่อว่า สหชาต เพราะเกิดขึ้นวันเดียวกัน. ครั้นในวันตั้งชื่อท่าน ญาติทั้งหลาย ได้ตั้งชื่อท่านว่า อุทายี นั่งเอง เพราะชาวพระนครทั้งสิ้นเกิดความ เบิกบานใจ. อนึ่ง ท่านปรากฏชื่อว่า กาฬุทายี เพราะมีธาตุดำน้อยหนึ่ง. ท่านเล่นกับพระโพธิสัตว์มาตั้งแต่เด็กจนถึงความเจริญวัย.

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 141

ครั้นภายหลัง เมื่อพระโลกนาถเสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์ บรรลุ พระสัพพัญญุตญาณโดยลำดับ ประกาศพระธรรมจักรอันบวร เสด็จเข้า อาศัยกรุงราชคฤห์ ประทับอยู่ที่พระเวฬุวัน พระเจ้าสุทโธทนมหาราช ทรงสดับข่าวนั้น จึงได้ทรงส่งอำมาตย์คนหนึ่ง มีบุรุษพันหนึ่งเป็นบริวาร ด้วยรับสั่งว่า จงนำพระลูกเจ้าของเรามาในที่นี้. ท่านไปเฝ้าพระศาสดาใน เวลาแสดงธรรม ยืนอยู่ท้ายบริษัท ฟังธรรมแล้วพร้อมด้วยบริวาร บรรลุ พระอรหัต.

ลำดับนั้น พระศาสดาทรงเหยียดพระหัตถ์ตรัสกะพวกเขาว่า พวก เธอจงเป็นภิกษุมาเถิด. ในขณะนั้นนั่งเอง ท่านทั้งหมดนั้น ต่างทรงบาตร และจีวรอันสำเร็จด้วยฤทธิ์ ได้เป็นเหมือนพระเถระผู้มีพรรษาตั้งร้อย. ก็ จำเดิมแต่กาลที่ท่านเหล่านั้นบรรลุพระอรหัตแล้ว เป็นพระอริยเจ้าผู้มี ความวางเฉยเท่านั้น เพราะฉะนั้น จึงไม่กราบทูลข่าวสาสน์ที่พระราชาส่งไป แด่พระทศพล. พระราชามิได้ทรงสดับข่าวสาสน์. พระองค์จึงทรงส่ง อำมาตย์อื่นอีกไปกับบุรุษ ๑,๐๐๐ คน. แม้เมื่ออำมาตย์นั้นปฏิบัติเหมือน อย่างนั้น พระองค์ก็ทรงส่งอำมาตย์ ๘ คนแม้อื่นอีก ไปพร้อมกับบุรุษ ๘,๐๐๐ คน ด้วยอาการอย่างนี้. คนเหล่านั้นบรรลุพระอรหัตได้เป็นผู้นิ่ง.

ลำดับนั้น พระราชาทรงพระดำริว่า คนมีประมาณเท่านี้ ไม่ได้ แจ้งอะไรๆ เพื่อการเสด็จมาแห่งพระทศพลในที่นี้ เพราะไม่มีความรัก ในเรา อุทายีนี้แลเป็นผู้มีวัยเสมอกับพระทศพล เคยเป็นเพื่อนแล่นฝุ่นด้วย กัน และมีความรักในเรา เราจักส่งผู้นี้ไป จึงรับสั่งให้เรียกท่านมาแล้ว ตรัสว่า พ่อ พ่อจงมีบุรุษ ๑,๐๐๐ คนเป็นบริวาร ไปกรุงราชคฤห์นำพระทศพลมาดังนี้แล้วทรงส่งไป. ท่านทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ ถ้าหม่อมฉัน

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 142

จักได้บวชไซร้ เมื่อเป็นเช่นนี้ หม่อมฉันจะนำพระผู้มีพระภาคเจ้ามาในที่นี้ เมื่อพระราชาตรัสว่า ท่านจงทำอุบายอย่างใดอย่างหนึ่งแล้วนำพระลูกเจ้ามา ท่านไปกรุงราชคฤห์ ยืนอยู่ที่ท้ายบริษัทในเวลาพระศาสดาทรงแสดงธรรม ฟังธรรมไม่แล้ว พร้อมด้วยบริวารบรรลุพระอรหัต ตั้งอยู่ในเอหิภิกขุภาวะ แล้ว.

ก็ครั้นท่านบรรลุพระอรหัตแล้ว จึงรอคอยเวลาอยู่ว่า บัดนี้ไม่เป็น กาลเพื่อจะเสด็จไปนครแห่งตระกูลของพระทศพลก่อน แต่เมื่อจวนฤดูฝน ไพรสณฑ์ผลิดอกออกผล จักเป็นกาลไปบนพานภูมิที่มีหญ้าเขียวสดเสมอ ครั้นถึงฤดูฝน จึงพรรณนาถึงการไปสู่นครแห่งตระกูลของพระศาสดา จึง ได้กล่าวคาถาเหล่านี้ว่า

ข้าแด่พระองค์ผู้เจริญ บัดนี้หมู่ไม้ทั้งหลาย มีดอกและ ใบมีสีแดงดังถ่านเพลิง ผลิผลผลัดใบเก่าร่วงหล่นไป หมู่ไม้ เหล่านั้นงามรุ่งเรืองดังเปลวไฟ ข้าแต่พระองค์ผู้มีความเพียร ใหญ่ เวลานี้เป็นเวลาสมควรอนุเคราะห์หมู่พระญาติ ข้าแต่ พระองค์ผู้แกล้วกล้า หมู่ไม้ทั้งหลายมีดอกบานงามดีน่ารื่นรมย์ ใจ ส่งกลิ่นหอมฟุ้งตลบไปทั่วทิศ โดยผลัดใบเก่า ผลิ ดอกออกผล เวลานี้เป็นเวลาสมควรจะหลีกออกไปจากที่นี้ ขอเชิญพระพิชิตมารเสด็จสู่กรุงกบิลพัสดุ์เถิด ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ ฤดูนี้ก็เป็นฤดูที่ไม่หนาวนัก ไม่ร้อนนัก เป็นฤดูพอ สบาย มีมรรคาก็สะดวก ขอพวกศากยะและโกลิยะทั้งหลาย จงได้เข้าเฝ้าพระองค์ที่แม่น้ำโรหิณีอันมีหน้าในภายหลังเถิด

ชาวนาไถนาด้วยความหวังผล หว่านพืชด้วยความหวังผล

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 143

พ่อค้าผู้เที่ยวหาทรัพย์ ย่อมไปสู่สมุทรด้วยความหวังทรัพย์ ข้าพระองค์อยู่ในที่นี้ด้วยความหวังผลอันใด ขอความหวังผล อันนั้นจงสำเร็จแก่ข้าพระองค์เถิด ฤดูนี้ไม่หนาวนัก ไม่ร้อน นัก ภิกษาหาได้ง่ายไม่อดอยาก พื้นดินก็มีหญ้าแพรกเขียวสด ข้าแต่พระมหามุนี กาลนี้สมควรแล้วพระเจ้าข้า.

ชาวนาหว่านพืชบ่อยๆ ฝนตกบ่อยๆ ชาวนาไถนาบ่อยๆ แว่นแคว้นสมบูรณ์ด้วยธัญญาหารบ่อยๆ

พวกยาจกเที่ยวขอบ่อยๆ ผู้เป็นทานบดี ให้ทานบ่อยๆ ครั้นให้บ่อยๆ แล้ว ย่อมเข้าถึงสวรรค์บ่อยๆ.

บุรุษผู้มีความเพียรมีปัญญากว้างขวาง เกิดในตระกูลใด ย่อมยังตระกูลนั้นให้บริสุทธิ์สะอาดตลอด ๗ ชั่วคน ข้าพระองค์ ย่อมเข้าใจว่า พระองค์เป็นเทพเจ้าประเสริฐกว่าเทพเจ้าทั้งหลาย ย่อมทรงสามารถทำให้สกุลบริสุทธิ์ เพราะพระองค์ เกิดแล้วโดยอริยชาติ ได้สัจนามว่าเป็นนักปราชญ์ สมเด็จ พระบิดาของพระองค์ ผู้ทรงแสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ ทรง พระนามว่า สุทโธทนะ สมเด็จพระนางเจ้ามายาพระมเหสี ของพระเจ้าสุทโธทนะ เป็นพระพุทธมารดา ทรงบริหาร พระองค์ผู้เป็นพระโพธิสัตว์มาด้วยพระครรภ์ เสด็จสวรรคต ไปบันเทิงอยู่ในไตรทิพย์ สมเด็จพระนางเจ้ามายาเทวีนั้น ครั้นสวรรคตจุติจากโลกนี้แล้ว ทรงพรั่งพร้อมด้วยกามคุณอัน เป็นทิพย์ มีหมู่นางฟ้าห้อมล้อม บันเทิงอยู่ด้วยเบญจกามคุณ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า องฺคาริโน ความว่า ชื่อว่า อังคาร

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 144

เพราะเหมือนเปลวเพลิง. ต้นไม้เหล่านั้นมีดอกและผลมีสีดังแก้วประพาฬ แดงดังเปลวเพลิง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า อังคาร. อธิบายว่า เกลื่อน กล่นไปด้วยดอกคำ และดอกทองหลางมีสีแดงดังเปลวเพลิง คือด้วยฝน คือเปลวเพลิง. บทว่า ทานิ แปลว่า ในกาลนี้. บทว่า ทุมา แปลว่า ต้นไม้. บทว่า ภทนฺเต ท่านกระทำการลบ ท อักษรตัวหนึ่ง ว่า ภทนฺเต แล้วกล่าวว่า ภทฺทํ อนฺเต เอตสฺส พระองค์ผู้มีความเจริญในที่สุด. ผู้ ประกอบด้วยคุณวิเศษ, ก็พระศาสดาผู้เป็นบุคคลผู้เลิศกว่าบุคคลผู้วิเศษ ด้วยคุณทั้งหลาย เพราะบทว่า ภทนฺเต จึงเป็นอาลปนะ ร้องเรียกพระศาสดานั้นเอง, บทว่า ภทนฺเต นี้ เป็นปฐมาวิภัตติ เอ การันต์ เหมือน ในประโยคเป็นต้นว่า สุคเต ปฏิกมฺเม สุเข ทุกเข ชีเว ดังนี้. แต่ในที่นี้ พึงเห็นว่า ลงในอรรถแห่งการตรัสรู้. เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า บทว่า ภทนฺเต เป็นบทอาลปนะ. อาจารย์บางพวกกล่าวว่า บทอื่นบทเดียว มีอรรถเสมอด้วยภัททศัพท์. ชื่อว่า ผเลสิโน เพราะผลิผล. จริงอยู่ แม้ ในการไม่ตั้งใจ แต่กล่าวถึงการกระทำที่มีการตั้งใจ. พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้อันพระเถระทูลอาราธนาอย่างนี้แล้ว ทรงเห็นการบรรลุคุณวิเศษของคน เป็นอันมาก ในการเสด็จไปในที่นั้น แวดล้อมไปด้วยพระขีณาสพ ๒๐,๐๐๐ รูป เสด็จจากกรุงราชคฤห์ เสด็จดำเนินสู่ทางไปยังกรุงกบิลพัสดุ์ด้วย สามารถแห่งการเสด็จไม่รีบด่วน. พระเถระไปสู่กรุงกบิลพัสดุ์ด้วยฤทธิ์ ยืน อยู่บนอากาศข้างหน้าของพระราชา อันพระราชาเห็นเพศที่ไม่เคยเห็นจึง ตรัสถามว่า ท่านเป็นใคร เมื่อจะแสดงว่า พระองค์ไม่รู้จักอาตมา ผู้เป็น บุตรแห่งอำมาตย์ที่พระองค์ส่งไปสู่สำนักพระผู้มีพระภาคเจ้า ขอพระองค์ จงทรงทราบอย่างนี้แหละ จึงกล่าวคาถาว่า

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 145

อาตมภาพเป็นบุตรของพระพุทธเจ้า ผู้ไม่มีสิ่งใดจะย่ำยี ได้ มีพระรัศมีแผ่ซ่านจากพระกาย ไม่มีผู้จะเปรียบปาน ผู้คงที่ ดูก่อนมหาบพิตร พระองค์เป็นโยมของพระบิดาแห่ง อาคมภาพ ดูก่อนมหาบพิตรผู้โคตมะ พระองค์เป็นพระอัยกาของอาคมภาพโดยธรรม.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า พุทฺธสฺส ปุตฺโตมฺหิ ความว่า อาตม- ภาพเป็นบุตรคือโอรสของพระสัพพัญญูพุทธเจ้า. บทว่า อสยฺหสาหิโน ความว่า ก่อนแต่ตรัสรู้ยิ่งเอง เพราะเว้นพระมหาสัตว์ คนอื่นไม่สามารถ จะประกอบการแนะนำได้เพราะพระองค์ไม่มีข้าศึกศัตรูที่จะย่ำยี เป็นพระโพธิสมภาร มีบุญญาธิการประกอบด้วยพระมหากรุณาสามารถอดกลั้นทน ทาน. แม้อื่นจากนั้นไปคนอื่นๆ ไม่สามารถจะย่ำยีครอบงำได้ เพราะ พระองค์ทรงย่ำยีครอบงำข้าศึกคือมารทั้ง ๕ เสียได้ เพราะพระองค์ทรง ทนทานต่อพุทธกิจ ซึ่งข้าศึกเหล่าอื่นไม่สามารถจะย่ำยีได้ กล่าวคืออนุ- สาสนี ด้วยทิฏฐธัมนิกประโยชน์ สัมปรายิกประโยชน์ และปรมัตถประโยชน์ แก่เวไนยสัตว์ตามสมควร ด้วยการหยั่งรู้อันเป็นส่วนแห่ง ธรรมสามัคคี มีการน้อมไปในการประพฤติอาสยานุสยญาณเป็นต้น หรือ ชื่อว่าผู้ไม่มีผู้ใดจะย่ำยีได้ เพราพระองค์มีปกติกระทำแต่สิ่งที่ยังประโยชน์ ให้สำเร็จในที่นั้นๆ. บทว่า องฺคีรสสฺส ได้แก่ ผู้มีสมบัติ มีศีลอัน ประดับแล้วเป็นต้น. แต่อาจารย์อีกพวกหนึ่งกล่าวว่า ผู้มีรัศมีแลบออก จากพระอวัยวะน้อยใหญ่. อาจารย์บางพวกกล่าวว่า พระนามที่ ๒ คือ อังคีรส และ สิทธัตถะ พระราชบิดานั่นเองทรงประทาน. บทว่า อปฺ- ปฏิมสฺส แปลว่า ไม่มีผู้เปรียบ ไม่มีผู้เสมอเหมือน. ชื่อว่าผู้คงที่ เพราะ

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 146

ถึงลักษณะคงที่ในอิฏฐารมณ์และอนิฏฐารมณ์. บทว่า ปิตุ ปิตา มยหํ ตุวํสิ ความว่า แม้ท่านก็เป็นบิดาของบิดาของอาตมา ด้วยสามารถแห่ง อริยชาติ แต่ว่าโดยโวหารของชาวโลกท่านเป็นบิดาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า. ท่านเรียกพระราชาด้วยอำนาจชาติว่า สักกะ. บทว่า ธมฺเมน ความว่า โดยสภาวะ คือโดยประชุมสภาวะแห่งทั้งสอง คือ อริยชาติ โลกิยชาติ. เรียกพระราชาโดยโคตรว่าโคตมะ. บทว่า อยฺยโกสิ ท่านเป็น อัยกา. แต่ในบทนี้ว่า พระเถระเมื่อกล่าวว่า พุทฺธสฺส ปุตฺโตมฺหิ เป็นต้น ย่อมพยากรณ์พระอรหัตตผล.

ก็แลพระเถระ ครั้นพระราชาทรงทราบคนอย่างนี้แล้ว อันพระราชาทรงร่าเริงพอพระทัย ให้นั่งบนบัลลังก์อันควรแก่ค่ามาก บรรจุบาตร ให้เต็มด้วยโภชนะ มีรสเลิศต่างๆ อันเขาจัดแจงไว้เพื่อพระองค์ ในเมื่อ เขาถวายบิณฑบาตแล้วแสดงอาการที่จะไป. เมื่อถูกถามว่า ท่านขอรับ เพราะเหตุไรท่านจึงปรารถนาจะไป จงบริโภคดูก่อนเถิด จึงทูลว่า อาตมา จักไปสำนักพระศาสดาแล้วบริโภค. พระราชาตรัสถามว่า ก็พระศาสดาอยู่ ที่ไหน. ท่านทูลว่า พระศาสดามีภิกษุสองหมื่นรูปเป็นบริวาร เสด็จดำเนิน ไปตามทางเพื่อทอดพระเนตรพระองค์. พระราชา. ท่านโปรดฉันบิณฑบาต นี้ จักนำบิณฑบาตอื่นไปถวายพระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อพระราชาตรัสว่า ท่านนำบิณฑบาตจากที่นี้ไปถวายพระองค์ ตลอดเวลาที่บุตรของเราจะถึง นครนี้ พระเถระกระทำภัตกิจเสร็จแล้ว แสดงธรรมแด่พระราชาและแก่ บริษัท เมื่อกระทำพระราชนิเวศน์ทั้งสิ้น ก่อนแต่พระศาสดาจะเสด็จมา ให้ เลื่อมใสยิ่งในพระตถาคตและในพระรัตนตรัย เมื่อคนทั้งหมดกำลังเลื่อมใส

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 147

อยู่นั้นแล สละบาตรอันเต็มด้วยภัตที่ตนนำมาถวายแด่พระศาสดาไว้ใน อากาศแม้ตนเองเหาะขึ้นสู่เวหาส แล้วน้อมบิณฑบาตเข้าไปวางไว้ในพระหัตถ์ของพระศาสดา. พระศาสดาเสวยบิณฑบาตนั้น. เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ไปสู่ที่ระยะโยชน์หนึ่ง ทุกๆ วัน ในหนทาง ๖๐ โยชน์จากกรุงราชคฤห์ ท่านได้นำบิณฑบาตถวายแด่พระองค์ด้วยประการฉะนี้. ลำดับนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงดำริว่า กาฬุทายีนี้ ยังชาวนิเวศน์ทั้งสิ้นแห่งบิดา ของเราให้เลื่อมใส จึงทรงตั้งท่านไว้ในตำแหน่งอันเลิศแห่งภิกษุผู้ยัง ตระกูลให้เลื่อมใสว่า ภิกษุทั้งหลาย บรรดาภิกษุสาวกของเราผู้ยังตระกูล ให้เลื่อมใส กาฬุทายีเป็นเลิศ.

ท่านบรรลุพระอรหัตโดยสมควรแก่บุญสมภารที่คนบำเพ็ญด้วยประการฉะนี้ ได้รับเอตทัคคะ ระลึกถึงบุพกรรมของตน เมื่อจะประกาศ ปุพพจริตาปทาน ด้วยอำนาจโสมนัส จึงกล่าวคำนี้อาทิว่า ปทุมุตฺตรสฺส พุทฺธสฺส ดังนี้. บทว่า อทฺธานํ ปฏิปนฺนสฺส ความว่า ผู้ดำเนินสู่ทางไกล เพื่อไปสู่รัฐอื่น. บทว่า จรโต จาริกํ ตทา ความว่า ในกาลนั้นผู้เที่ยว จาริกไปสู่มณฑลทั่ง ๓ คือ มณฑลภายใน มณฑลกลาง และมณฑล ภายนอก เชื่อมความว่า ยึดเอาคือถือเอาความสำเร็จด้วยดี คือการตรัสรู้ ด้วยดีของพระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่าปทุมุตตระ ไม่ใช่ถือเอาเพียง ดอกปทุมอย่างเดียว และเรายึดเอาดอกปทุมและดอกมะลิที่แย้มบานแล้ว ถือเอาด้วยมือทั้งสองให้เต็ม. บทว่า ปรมนฺนํ คเหตฺวาน ความว่า เรา ได้ถือเอาข้าวสุกแห่งข้าวสาลี อันสุกดีทั้งหมดมีรสอร่อยอย่างยิ่ง คือสูงสุด ประเสริฐสุด ถวายให้พระศาสดาเสวย.

บทว่า สกฺยานํ นนฺทิชนโน ความว่า ให้ความเพลิดเพลินคือ

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 148

ความยินดีเกิดขึ้น ด้วยสมบัติในการกล่าวเจรจาปราศรัยถึงการสูงขึ้น การ แปรไปและความเป็นหนุ่มสาวแห่งรูป แห่งศากยราชตระกูล คือแห่ง พระญาติทั้งหลายของพระผู้มีพระภาคเจ้า. บทว่า าติพนฺธุ ภวิสฺสติ ความว่า จักเป็นเผ่าพันธุ์อันเขาทราบ คือปรากฏ. คำที่เหลือมีอรรถง่าย ทั้งนั้นแล.

จบอรรถกถากาฬุทายีเถราปทาน