พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

ธัมมจักกิกเถราปทานที่ ๙ (๓๙) ว่าด้วยผลแห่งการตั้งธรรมจักรบูชา

 
บ้านธัมมะ
วันที่  27 พ.ย. 2564
หมายเลข  41028
อ่าน  343

[เล่มที่ 71] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 162

เถราปทาน

กุณฑธานวรรคที่ ๔

ธัมมจักกิกเถราปทานที่ ๙ (๓๙)

ว่าด้วยผลแห่งการตั้งธรรมจักรบูชา


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 71]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 162

ธัมมจักกิกเถราปทานที่ ๙ (๓๙)

ว่าด้วยผลแห่งการตั้งธรรมจักรบูชา

[๔๑] เราได้ตั้งธรรมจักนี้ ทำอย่างสวยงาม อันวิญญูชนชม เชย (บูชา) ไว้ข้างหน้าอาสนะอันประเสริฐ แห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าสิทธัตถะ.

เราย่อมรุ่งเรืองกว่าวรรณะทั้งสี่ มีคนใช้ พลทหารและ พาหนะ คนเป็นอันมากย่อมติดตามห้อมล้อมเราเป็นนิจ เราแวดล้อมด้วยคนตรีหกหมื่นทุกเมื่อ เราย่อมงามด้วยบริวาร นี้เป็นผลแห่งบุญธรรม.

ในกัปที่ ๙๔ แต่กัปนี้ เราได้ตั้งธรรมจักรใดบูชา ด้วย กรรมนั้นเราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการตั้งธรรมจักร บูชา.

เป็นพระเจ้าจักรพรรดิหลายครั้ง มีพละมาก มีพระนามว่า สหัสสราชา ผู้เป็นใหญ่กว่าชน ได้มีปรากฏตลอด ๑๑ กัป แต่กัปนี้.

คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

ทราบว่า ท่านพระธัมมจักกิกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ ฉะนี้แล.

จบธัมมจักกิกเถราปทาน

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 163

๓๙. อรรถกถาธัมมจักกิกเถราปทาน

อปทานของท่านพระธรรมจักกิกเถระ มีคำเริ่มต้นว่า สิทฺธตฺถสฺส ภควโต ดังนี้.

พระเถระแม้นี้ ได้บำเพ็ญบุญญาธิการไว้ในพระพุทธเจ้าองค์ก่อนๆ สั่งสมบุญทั้งหลายอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานในภพนั้นๆ ในกาลแห่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามสิทธัตถะ บังเกิดในเรือนมีตระกูลแห่งหนึ่ง เจริญวัยแล้ว เจริญด้วยบุตรและภรรยา สมบูรณ์ด้วยสมบัติมีโภคะมาก. ท่านเลื่อมใสในพระรัตนตรัย เกิดศรัทธา ได้สร้างธรรมจักรสำเร็จด้วย รัตนะบูชาข้างหลังธรรมาสน์ในธรรมสภา. ด้วยบุญกรรมนั้น ท่านเสวย สักกสมบัติและจักกวัตติสมบัติ ในที่ที่คนเกิดแล้วในเทวดาและมนุษย์. ใน พุทธุปบาทกาลนี้ เกิดในเรือนมีตระกูลแห่งหนึ่ง สมบูรณ์ด้วยสมบัติ เกิด ศรัทธา บวชแล้วเจริญวิปัสสนา ไม่นานนักก็บรรลุพระอรหัต ปรากฏ โดยนามที่เสมือนกับนามแห่งกุศลที่ท่านบำเพ็ญในกาลก่อนว่า ธัมมจักกกเถระ.

ท่านบรรลุพระอรหัตตผลโดยสมควรแก่บุญสมภาร ระลึกถึงบุพกรรม ของตน เกิดโสมนัส เมื่อจะประกาศปุพพจริตาปทาน จึงกล่าวคำมีอาทิ- ว่า สิทฺธตฺถสฺส ภควโต ดังนี้. บทว่า สีหาสนสฺส สมฺมุขา ความว่า ในที่พร้อมหน้า คือในที่ตรงหน้าพุทธอาสน์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ ประทับนั่ง. บทว่า ธมฺมจกฺกํ เม ปิตํ ความว่า เราได้แสดงรูปสีหะ ทั้งสองข้าง โดยอาการดุจธรรมจักร สร้างกระทำให้เหมือนกระจกใน ท่ามกลางตั้งธรรมจักรบูชา. เป็นอย่างไร? เชื่อมความว่า ธรรมจักรที่

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 164

วิญญูชน คือบุคคลผู้มีปัญญาทั้งหลาย สรรเสริญ ชมเชย กระทำดีแล้วว่า งามเหลือเกิน.

บทว่า จารุวณฺโณว โสภามิ ความว่า เราย่อมงาม คือไพโรจน์ ประดุจมีวรรณะดังทองคำ. บาลีว่า จตุวณฺเณหิ โสภามิ ดังนี้ก็มี. อธิบาย ว่า เราย่อมงดงาม คือไพโรจน์ด้วยวรรณะ กล่าวคือ ชาติแห่งกษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร. บทว่า สโยคฺคพลวาหโน ความว่า ประกอบ ด้วยยานมีวอทองเป็นต้น เสวก คือหมู่พล มีเสนาบดีและอำมาตย์เป็นต้น และด้วยพาหนะ กล่าวคือรถเทียมช้างและม้าเป็นต้น. เชื่อมความว่า ชน เป็นอันมาก คือมนุษย์เป็นอันมาก ประกอบตามคือคล้อยตามเราแวดล้อม ตลอดกาลเป็นนิตย์. คำที่เหลือรู้ได้ง่ายทั้งนั้นแล.

จบอรรถกถาธัมมจักกิกเถราปทาน