พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

อุปาลิเถราปทานที่ ๑ (๔๑) ว่าด้วยพระบาลีปรารภกรรมของตน

 
บ้านธัมมะ
วันที่  27 พ.ย. 2564
หมายเลข  41030
อ่าน  373

[เล่มที่ 71] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 168

เถราปทาน

อุปาลิวรรคที่ ๕

อุปาลิเถราปทานที่ ๑ (๔๑)

ว่าด้วยพระบาลีปรารภกรรมของตน


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 71]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 168

อุปาลิวรรคที่ ๕

อุปาลิเถราปทานที่ ๑ (๔๑)

ว่าด้วยพระบาลีปรารภกรรมของตน

[๔๓] พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นนายกของโลก แวดล้อมด้วย พระขีณาสพหนึ่งพัน พระองค์ทรงประกอบความสงัด เสด็จ ไปเพื่ออยู่ในที่ลับ เรานุ่งห่มหนังสัตว์ ถือไม้เท้าสามง่าม เที่ยวไป ได้พบพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้นำของโลก แวดล้อม ด้วยภิกษุสงฆ์.

จึงทำหนังสัตว์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง ประนมอัญชลีเหนือ เศียรเกล้า ถวายบังคมพระสัมพุทธเจ้า แล้วชมเชยพระองค์ ผู้นำของโลกว่า

สัตว์ทั้งหลายที่เกิดในไข่ เกิดในเถ้าไคล เกิดผุดขึ้น เกิดในครรภ์ และนกมีกาเป็นต้นทั้งหมด ย่อมเที่ยวไปใน อากาศทุกเมื่อ ฉันใด

สัตว์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง มีสัญญาก็ตาม ไม่มีสัญญาก็ตาม สัตว์เหล่านั้น ก็ฉันนั้น ย่อมเข้าไปภายในพระญาณของพระ องค์ทั้งหมด.

อนึ่ง กลิ่นหอมอันเกิดที่ภูเขา ณ ภูเขาหิมวันต์อันเป็นภูเขา สงสุด กลิ่นหอมทั้งหมดนั้น ย่อมไม่ถึงแม้ส่วนเสี้ยว ในศีล ของพระองค์.

โลกนี้พร้อมทั้งเทวโลก แล่นไปสู่ความมืดมนใหญ่ โลก

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 169

กำจัดความมืดได้ ส่องแสงโชติช่วงอยู่ เพราะพระญาณของ พระองค์ เปรียบ เหมือนพระอาทิตย์อัสดงคตแล้ว โลกก็ถึง ความมืด ฉันใด เมื่อพระพุทธเจ้ายังไม่เสด็จอุบัติ สัตว์โลกก็ ถึงความมืด ฉันนั้น.

เปรียบเหมือนเมื่อพระอาทิตย์อุทัย ย่อมขจัดความมืดได้ ทุกเมื่อ ฉันใด พระองค์ผู้เป็นพระพุทธเจ้าอันประเสริฐสุด ก็ ขจัดความมืดได้ทุกเมื่อ ฉันนั้น.

พระองค์ทรงส่งพระองค์ไปเพื่อความเพียร ได้เป็นพระพุทธเจ้าในโลก พร้อมทั้งเทวโลก ทรงยังหมู่ชนเป็นอันมาก ให้ยินดีด้วยการปรารภกรรมของพระองค์.

พระมหามุนีพระนามว่าปทุมุตตระผู้เป็นนักปราชญ์ ทรง สดับคำนั้นแล้ว ทรงอนุโมทนาแล้ว เสด็จเหาะขึ้นในอากาศ ดังพระยาหงส์ในอัมพร พระสัมพุทธเจ้าผู้แสวงหาคุณอัน ใหญ่หลวง พระนามว่าปทุมุตตระผู้เป็นศาสดาของเทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย ทรงเหาะขึ้นไปประทับอยู่ในอากาศ ได้ ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า

ผู้ใดชมเชยญาณอันประกอบด้วยข้ออุปมาทั้งหลายนี้ เรา จักพยากรณ์ผู้นั้น ท่านทั้งหลายจงฟังเรากล่าว เขาจักได้เป็น ท้าวเทวราช ๑๘ ครั้ง จักได้เป็นพระราชาในแผ่นดินครอง ครองพสุธา ๓๐๐ ครั้ง จักได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๒๕ ครั้ง จักรได้เป็นพระเจ้าประเทศราชอันไพบูลย์ โดยจะคณานับมิได้.

ในกัปที่แสน พระศาสดามีพระนาม ชื่อว่าโคดม ซึ่งมี

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 170

สมภพในวงศ์พระเจ้าโอกการาช จักเสด็จอุบัติในโลก เขา อันกุศลมูลตักเตือนแล้ว จักเคลื่อนจากภพดุสิต จักเป็นผ้าต่ำ โดยชาติ [มีชาติต่ำ] มีชื่อว่าอุบาลี.

และภายหลังเขาบวชแล้ว หน่ายกรรมอันลามกกำหนด รู้อาสวะทั้งปวงแล้ว จักไม่มีอาสวะ นิพพาน.

พระโคดมพุทธเจ้าผู้ศากยบุตร มียศใหญ่ จักทรงโปรด ดังเขาไว้ในเอตทัคคสถานทางวินัย เราบวชด้วยศรัทธา ทำ กิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีอาสวะกำหนดรู้อาสวะทั้งปวง ไม่มี อาสวะอยู่.

และพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุเคราะห์เราว่า เราแกล้วกล้าในวินัย เราปรารภในกรรมของตน ไม่มีอาสวะอยู่.

เราสำรวมในพระปาติโมกข์และในอินทรีย์ ๕ ทรงพระวินัยอันเป็นบ่อเกิดรัตนะไว้ได้หมดทั้งสิ้น พระศาสดาผู้ไม่มี ใครเทียบถึงในโลก ทรงรู้คุณของเราแล้ว ประทับนั่งในท่าม กลางสงฆ์ ทรงตั้งเราไว้ในเอตทัคคสถาน.

คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

ทราบว่า ท่านพระอุบาลีเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ ฉะนี้แล.

จบอุปาลิเถราปทาน

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 171

อุปาลิวรรคที่ ๕

๔๑. อรรถกถาอุปลาเถราปทาน (๑)

อปทานของท่านพระอุบาลีเถระ มีคำเริ่มต้นว่า ขีณาสวสหสฺเสหิ ดังนี้.

ก็พระเถระนี้ ได้บำเพ็ญบุญญาธิการไว้ในพระพุทธเจ้าองค์ก่อนๆ สั่งสมบุญทั่งหลายในภพนั้นๆ ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตระ บังเกิดในตระกูลหนึ่ง เจริญวัยแล้ว เห็นโทษในการอยู่ครอง เรือน จึงละเรือนออกบวชเป็นฤๅษี ได้อภิญญา ๕ และสมาบัติ ๘ สำเร็จการอยู่ ณ หิมวันตประเทศ. สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนาม ว่า ปทุมุตตระ. ทรงประสงค์วิเวก จึงเข้าไปสู่หิมวันตประเทศ. ดาบส เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้รุ่งโรจน์เหมือนพระจันทร์เพ็ญแต่ไกลเที่ยว มี ใจเลื่อมใส กระทำหนังเฉวียงบ่า ประคองอัญชลี ถวายบังคมแล้วยืนอยู่ นั่นแล ประนมมือไว้เหนือเศียร ชมเชยพระผู่มีพระภาคเจ้าด้วยอุปมา มากหลาย ด้วยสดุดีเป็นอเนก. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสดับดังนั้นแล้ว ทรงประทานพยากรณ์ว่า ในอนาคต ดาบสนี้ จักบวชในพระศาสนาของ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าโคตมะ จักได้เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุผู้มีปัญญา เฉียบแหลมในทางพระวินัย.

ท่านดำรงอยู่ตลอดอายุ มีฌานไม่เสื่อม บังเกิดในพรหมโลก. ท่านจุติจากอัตภาพนั้นแล้ว ท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เสวยสมบัติ. ในพุทธุปบาทกาลนี้ บังเกิดเป็นหลานของพระอุบาลีเถระใน กรุงกบิลพัสดุ์. ท่านถึงความเจริญวัยโดยลำดับ บวชในสำนักของพระอุบาลีเถระผู้เป็นลุง เรียนพระกรรมฐาน เจริญวิปัสสนา ไม่นานนักก็ได้


๑. ม. ภาคิเนยฺยอุปาลิเถราปทาน

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 172

เป็นพระอรหันต์. ท่านเป็นผู้มีญาณเฉียบแหลม เพราะเหตุที่ตนอยู่ในที่ ใกล้อาจารย์. ลำดับนั้น พระศาสดาจึงทรงตั้งท่านไว้ในตำแหน่งอันเลิศ ว่า ภิกษุทั้งหลาย บรรดาภิกษุทั้งหลายผู้สาวกของเราผู้มีปัญญาเฉียบแหลม ในปัญหาพระวินัยนี้ ภาคิเนยยอุบาลีเป็นเลิศ.

ท่านได้รับตำแหน่งเอตทัคคะอย่างนี้แล้ว ระลึกถึงบุพกรรมของตน เนื้อจะประกาศปุพพจริตาปทาน จงกล่าวคำมีอาทิว่า ขีณาสวสหสฺเสหิ ดังนี้ ในบทเหล่านั้น ชื่อว่าอาสวะ เพราะแล่นไปคือเป็นไปโดยรอบจด ภวัคคพรหม. ชื่อว่า ขีณาสวา เพราะอาสวะ ๔ มีกามาสวะเป็นต้น สิ้นไป เหือดแห้งไป ผากไปแล้ว อันเธอกำจัดแล้ว. ภิกษุผู้มีอาสวะสิ้น แล้วเหล่านั้นนั่นแล มีประมาณ ๑,๐๐๐ คือมีพระขีณาสพ ๑,๐๐๐ รูป เป็นประมาณ. ด้วยพระขีณาสพประมาณ ๑,๐๐๐ นั้น. เชื่อมความว่า พระโลกนาถแวดล้อมไปด้วยภิกษุผู้ขีณาสพเหล่านั้น ผู้ยังโลกให้ถึงพระนิพพาน ประกอบเนืองๆ ซึ่งวิเวก ย่อมเสด็จไปเพื่อหลีกเร้น คือเพื่อ ความเป็นผู้โดดเดี่ยว.

บทว่า อชิเนน นิวตฺโถหํ ความว่า เราอัน หนังมฤคปิดบังไว้ อธิบายว่า นุ่งหนังสัตว์. บทว่า ติฑณฺฑปริธารโก ความว่า ถือเอาท่อน ไม้ ๓ อัน เพื่อวางคนโทน้ำทรงไว้. เชื่อมความว่า เราได้เห็นพระองค์ ผู้นำโลกผู้แวดล้อมไปด้วยภิกษุสงฆ์. คำที่เหลือปรากฏชัดแล้วทั้งนั้นแล.

จบอรรถกถาอุปลิเถราปทาน