พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

โสณโกฏิยเวสสเถราปทานที่ ๒ (๔๒) ว่าด้วยผลแห่งการทําที่จงกรม

 
บ้านธัมมะ
วันที่  27 พ.ย. 2564
หมายเลข  41031
อ่าน  326

[เล่มที่ 71] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 173

เถราปทาน

อุปาลิวรรคที่ ๕

โสณโกฏิยเวสสเถราปทานที่ ๒ (๔๒)

ว่าด้วยผลแห่งการทําที่จงกรม


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 71]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 173

โสณโกฏิยเวสสเถราปทานที่ ๒ (๔๒) (๑)

ว่าด้วยผลแห่งการทำที่จงกรม

[๔๔] เราได้ให้ทำที่จงกรม ซึ่งทำการฉาบทาด้วยปูนขาว ถวาย แด่พระมุนีพระนามว่าอโนมทัสสี เชษฐบุรุษของโลก ผู้คงที่ เราได้เอาดอกไม้ต่างๆ สี ลาดบนที่จงกรม ทำเพดานบน อากาศ แล้วทูลเชิญพระพุทธเจ้าผู้สูงสุดให้เสวย.

เวลานั้น เราประนมอัญชลี ถวายบังคมพระองค์ผู้มีวัตร อันงาม แล้วมอบถวายศาลารีแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้เป็นศาสดายอดเยี่ยมในโลก มี พระจักษุ ทรงรู้ความดำริของเรา จึงอนุเคราะห์รับไว้.

พระสัมพุทธเจ้า ผู้เป็นทักขิไณยบุคคลในโลก พร้อมทั้ง เทวโลก ครั้นทรงรับแล้ว ประทับนั่ง ณ ท่ามกลางภิกษุสงฆ์ แล้ว ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า

ผู้ใดมีจิตโสมนัส ได้ถวายศาลารีแก่เรา เราจักพยากรณ์ ผู้นั้น ท่านทั้งหลายจงฟังเรากล่าว

รถอันเทียมด้วยม้าพันหนึ่ง จักปรากฏแก่ผู้นี้ผู้พร่องเพรียง ด้วยบุญกรรม ในเวลาใกล้ตาย

ผู้นี้จักไปสู่เทวโลกด้วยยานั้น เทวดาทั้งหลายจักพลอย บันเทิง ในเมื่อผู้นี้ไปถึงภพอันดี วิมานอันควรค่ามาก เป็น วิมานประเสริฐ ฉาบทาด้วยเครื่องทาอันสำเร็จด้วยรัตนะ ประกอบด้วยเรือนยอดอันประเสริฐ จักครอบงำวิมานอื่น.


๑. อรรถกถาว่า โสณโกฬิวิสเถราปทาน.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 174

ผู้นี้จักรื่นรมย์อยู่ในเทวโลกตลอดสามหมื่นกัป จักได้เป็น ท้าวเทวราชตลอด ๒๕ กัป และจักได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ถึง ๗๗ ครั้ง พระเจ้าจักรพรรดินั้นแม้ทั้งหมดมีพระนาม อย่างเดียวกันว่า ยโสธระ.

ผู้นี้ได้เสวยสมบัติทั้งสองแล้ว ก่อสร้างสั่งสมบุญ จักได้ เป็นพระเจ้าจักรพรรดิใน ๒๗ กัป [อีก]

แม้ในภพนั้น จักมีวิมานอันประเสริฐ ที่วิสสุกรรมเทพบุตรนิรมิตให้ ผู้นี้จักครองบุรีซึ่งมีเสียง ๑๐ อย่างต่างๆ กัน.

ในกัปจะนับประมาณมีได้แต่กัปนี้ จักมีพระราชาครอง แผ่นดิน มีฤทธิ์มากมีพระนามชื่อว่าโอกกากราช อยู่ใน แว่นแคว้น.

นางกษัตริย์ผู้มีวัยอันประเสริฐ มีชาติสูงกว่าหญิง หนึ่ง หมื่นหกพันทั้งหมด จักประสูตพระราชบุตรและพระราชบุตรี ๙ พระองค์.

ครั้นประสูติพระราชบุตรและพระราชบุตรี ๙ พระองค์แล้ว จักสิ้นพระชนม์ พระเจ้าโอกกากราชจักทรงอภิเษกนางกัญญา ผู้เป็นที่รัก กำลังรุ่นเป็นมเหสี.

พระนางจักยังพระเจ้าโอกกากรา ให้โปรดปรานแล้วได้ พร ครั้นพระนางได้พรแล้ว จักให้ขับไล่พระราชบุตรและ พระราชบุตรี

พระราชบุตรและพระราบุตรีทั้งหมดนั้น ถูกขับไล่แล้ว จักไปยังภูเขา เพราะกลัวความแตกชาติ พระราชบุตรทั้งหมด จักสมสู่กันพระกนิษฐภคินี.

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 175

ส่วนพระเชษฐภคินีหนึ่งพระองค์ ทรงเป็นโรคพยาธิ กษัตริย์ทั้งหลายจักตั้งใจมั่นว่า ชาติของเราอย่าแตกแยกเลย จึงขุดหลุมให้อยู่.

ได้มีกษัตริย์ ทรงนำพระเชษฐภคินีนั้นไปสมสู่ด้วย เวลา นั้น ความเกิดแห่งสกุลโอกกากะจักนี้ความแตกแยก โอรส ของสองพระองค์นั้นจักมีพระนามโดยชาติว่าโกลิยะ จักได้ เสวยโภคสมบัติ อันเป็นของมนุษย์มิใช่น้อยในภพนั้น.

ผู้นี้เคลื่อนจากกายนั้นแล้วจักไปสู่เทวโลก แม้ในเทวโลก นั้น จักได้วิมานอันประเสริฐ เป็นที่รื่นรมย์ใจ

ผู้นี้อันกุศลมูลตักเตือนแล้ว จักเคลื่อนจากเทวโลกมาสู่ ความเป็นมนุษย์ จักมีชื่อว่าโสณะ

จักปรารภความเพียรมีใจแน่วแน่ ตั้งความเพียรในศาสนา ของพระศาสดา กำหนดรู้อาสวะทั้งปวงแล้ว จักไม่มีอาสวะ นิพพาน.

พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า โคดมศากยบุตร ผู้ประเสริฐ ผู้รู้วิเศษ เป็นมหาวีระ ทรงเห็นคุณอนันต์จักตั้งไว้ ในตำแหน่งอันเลิศ.

เมื่อฝนตก หญ้าประมาณ ๔ นิ้ว บนเนิน ลมพัดไหวแล้ว เว้นพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้คงที่ ซึ่งทรงประกอบความเพียร ถึงฝั่งแล้ว ไม่มีใครเพียรยิ่งขึ้นไปกว่าเขา.

เรามีตนฝึกแล้วในการฝึกอันอุดม เราตั้งจิตไว้ดีแล้ว เรา ปลงภาระทั้งปวงลงแล้ว เป็นผู้ไม่มีอาสวะ ดับแล้ว พระ-

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 176

อังคีรสมหานาค มีพระชาติสูง ดังพระยาไกรสร ประทับนั่ง ในท่ามกลางภิกษุสงฆ์ ทรงตั้งเราไว้ในเอตทัคคสถาน.

คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

ทราบว่า ท่านพระโสณโกฏิยเวสสเถระได้กล่าวคาถาเหล่านั้นด้วย ประการฉะนี้แล.

จบโสณโกฏิยเวสสเถราปทาน

๔๒. อรรถกถาโสณโฬิวิสเถราปทาน

อปทานของท่านพระโสณโกฬิวิสเถระ มีคำเริ่มต้นว่า อโนมทสฺสิสฺส มุนิโน ดังนี้.

พระเถระแม้นี้ ได้บำเพ็ญบุญญาธิการไว้ในพระพุทธเจ้าองค์ก่อนๆ ได้สั่งสมบุญทั้งหลายอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานในภพนั้นๆ ในกาล แห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า อโนมทัสสี บังเกิดในเรือนมีตระกูล แห่งหนึ่ง เจริญวัยแล้ว เจริญด้วยบุตรและภรรยา สมบูรณ์ด้วยสมบัติ ได้สร้างที่จงกรมอันงามเพื่อเป็นที่จงกรม ให้กระทำการฉาบโบกด้วย ปูนขาว กระทำให้รุ่งเรืองเรียบราบดุจพื้นแว่น จัดแจงประทีป ธูป และ ดอกไม้เป็นต้น มอบถวายแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า บูชาภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธานด้วยอาหารอันประณีต. ท่านบำเพ็ญบุญจนตลอด ชีวิตด้วยอาการอย่างนี้ จุติจากอัตภาพนั้นแล้วบังเกิดในเทวโลก. ท่าน เสวยทิพยสมบัติ โดยนัยที่กล่าวแล้วในพระบาลีนั้น เป็นผู้ขวนขวายใน

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 177

ตระกูลที่ปฏิสนธิในระหว่าง เพราะฉะนั้น เรื่องทั้งหมดนั้น พึงทราบโดย กระแสที่กล่าวแล้วในพระบาลี. [ก็ในภพสุดท้ายท่านเกิดในโกลิยราชวงศ์ เจริญวัยแล้วปรากฏนามว่าโกฏิกัณณะ และว่ากุฏิกัณณะ เพราะทรงไว้ซึ่ง เครื่องประดับหู มีค่าประมาณโกฏิหนึ่ง.] ๑ ท่านเลื่อมใสในพระผู้พระมีภาคเจ้าฟังธรรมได้ศรัทธาแล้ว บวชแล้ว เจริญวิปัสสนาไม่นานก็บรรลุ พรอรหัต.

ท่านได้เป็นพระอรหันต์แล้ว ระลึกถึงบุพกรรมของตน เกิด โสมนัส เมื่อจะประกาศปุพพจริตาปทาน จึงกล่าวคำมีอาทิว่า อโนมทสฺสิสฺส มุนิโน ดังนี้.บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อโนมทสฺสิสฺส ความว่า การเห็นอันไม่ทราม ไม่ลามก คือดี ได้แก่พระสรีระ อันเป็นทัสสนียะ เพราะประดับด้วยมหาปุริสลักษณะ ๓๒ และเพราะงดงามด้วยมณฑลแห่ง พระรัศมีด้านละวา ของพระผู้มีพระภาคเจ้าใดมีอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงพระนามว่า อโนมทีสสี อธิบายว่า แห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า อโนมทัสสีนั้น. บทว่า ตาทิโน ความว่า ผู้มีความไม่หวั่นไหวในอิฏฐารมณ์ และอนิฏฐารมณ์ บทว่า สุธาย เลปนํ กตฺวา ความว่า กระทำที่จงกรม ฉาบด้วยปูนขาว และประดับด้วยประทีปธูปดอกไม้ธงชัยและธงแผ่นผ้า เป็นต้น. เนื้อความแห่งคาถาที่เหลือ มีเนื้อความรู้ได้ง่ายตามกระแส แห่งพระบาลีทีเดียว. ชื่อว่า ยโสธระ เพราะทรงไว้ซึ่งยศ กล่าวคือ บริวารสมบัติ และทรัพย์สมบัติ, เชื่อมความว่า พระราชาทั้งหมดนั้น คือ พระราชาผู้จักรพรรดิทั้ง ๗๗ พระองค์ มีพระนามเป็นอย่างเดียวกัน ว่า ยโสธระ.


๑. ข้อความในวงเล็บไม่ควรมี เพราะพระเถระองค์นี้เป็นคนละองค์กับพระโสณโกฏิกัณณะ หรือโสณกฏิกัณณะ.

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 178

บทว่า องฺคีรโส ความว่า รัศมีอันมีอันซ่านออกจากอวัยวะ คือจาก พระสรีระ ของพระพุทธเจ้าพระองค์ใด พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ชื่อว่า อังคีรส. ชื่อว่า นาคะ เพราะไม่ไปอบายทั้ง ๔ ด้วยฉันทาคติ โทสาคติ โมหาคติ และภยาคติ หรือด้วยสามารถแห่งบาปสมาจาร. ชื่อว่า มหนาคะ เพราะอันเขาบูชาใหญ่ และเป็นผู้ประเสริฐ คำที่เหลือมีอรรถง่ายทั้งนั้นแล.

จบอรรถกถาโสณโกฬิวิสเถราปทาน