พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

ภัททิยากาฬิโคธายปุตตเถราปทานที่ ๓ (๔๓) ว่าด้วยผลแห่งการถวายอาสนะทอง

 
บ้านธัมมะ
วันที่  27 พ.ย. 2564
หมายเลข  41032
อ่าน  332

[เล่มที่ 71] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 179

เถราปทาน

อุปาลิวรรคที่ ๕

ภัททิยากาฬิโคธายปุตตเถราปทานที่ ๓ (๔๓)

ว่าด้วยผลแห่งการถวายอาสนะทอง


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 71]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 179

ภัททิยากาฬิโคธายปุตตเถราปทานที่ ๓ (๔๓) (๑)

ว่าด้วยผลแห่งการถวายอาสนะทอง

[๔๕] หมู่ชนทั้งปวงเข้าไปเฝ้าพระสัมพุทธเจ้า พระนามว่า ปทุมุตตระ. ทรงมีจิตเมตตา เป็นมหามุนีอัครนายกของโลก ทั้งปวง ชนทั้งปวงย่อมถวายอามิส คือ สัตตุก้อน สัตตุผง น้ำและข้าวแด่พระศาสดา และในสงฆ์ผู้เป็นนาบุญ ไม่มี นาบุญอื่นยิ่งกว่า.

แม้เราก็จักนิมนต์พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด และสงฆ์ผู้ ยอดเยี่ยม แล้วจักถวายทานแด่พระผู้พระภาคเจ้าผู้ประเสริฐ กว่าเทวดา ผู้คงที่ คนเหล่านี้ เราส่งไปให้นิมนต์พระตถาคต และภิกษุสงฆ์ทั้งสิ้นผู้เป็นนาบุญ ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งว่า.

บัลลังก์ทอง ๑ แสน ลาดด้วยเครื่องลาดวิเศษมีขนยาว ด้วยเครื่องลาดยัดนุ่น เครื่องลาดมีรูปดอกไม้ ผ้าเปลือกไม้ และผ้าฝ้าย.

เราได้ให้จัดตั้งอาสนะอันควรค่ามาก สมควรแก่พระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ ผู้ทรงรู้แจ้งโลก ประเสริฐกว่าเทวาดา ผู้องอาจกว่าพระแวดล้อม ภิกษุสงฆ์ เสด็จเข้าสู่ประตูบ้านเรา.

เรามีจิตเลื่อมใส มีใจโสมนัส ต้อนรับพระสัมพุทธเจ้า ผู้เป็นนาถะของโลก ทรงมียศ แล้วนำเสด็จมาสู่เรือนของตน เรามีจิตเลื่อมใส มีใจโสมนัส อังคาสภิกษุ ๑ แสนและ พระพุทธเจ้าผู้นายกของโลก ให้อิ่มหนำด้วยข้าวชั้นพิเศษ.


๑. อรรถกถาว่า กาฬิโคธาปุตตภัททิยเถราปทาน.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 180

พระพุทธเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระผู้ทรงรู้แจ้งโลก ทรง รับเครื่องบูชาแล้ว ประทับนั่งในท่านกลางภิกษุสงฆ์ ได้ตรัส พระคาถาเหล่านี้ว่า

ผู้ใดถวายอาสนะทองอันลาดด้วยเครื่องลาดวิเศษมีขนยาว นี้ เราจักพยากรณ์ผู้นั้น ท่านทั้งหลายจงพึงเรากล่าว.

ผู้นั้นจักได้เป็นท้าวเทวราช ๗๔ ครั้ง อันนางอัปสรแวดล้อม เสวยสมบัติอยู่ จักได้เป็นพระเจ้าประเทศราช ครอบครอง พสุธา ๑,๐๐๐ ครั้ง จักได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๕๑ ครั้ง จักเป็นผู้มีสกุลสูงในกำเนิดและภพทั้งปวง

ภายหลัง ผู้นั้นอันกุศลมูลตักเตือนแล้ว จักบวช จักได้เป็น พระสาวกของพระศาสดา มีนามว่าภัททิยะ.

เราเป็นผู้ขวนขวายในวิเวก มีปกติอยู่ในเสนาสนะอันสงัด ผลทั้งปวงเราบรรลุแล้ว วันนี้ เราเป็นผู้ไม่มีความเศร้าหมอง จิต พระสัพพัญญูผู้นายกของโลก ทรงทราบคุณทั้งปวงของเรา แล้ว ประทับนั่งในท่ามกลางภิกษุสงฆ์ ทรงตั้งเราไว้ในเอตทัคคสถาน.

คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

ทราบว่า ท่านพระภัททิยกาฬิโคธาปุตตเถระได้กล่าวคาถา เหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้แล.

จบภัททิยกาฬิโคธายปุตตเถราปทาน

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 181

๔๓. อรรถกถากาฬิโคธาปุตตภัททิยเถราปทาน

อปทานของท่านพระกาฬิโคธาปุตตภัตทิยเถระ มีคำเริ่มต้นว่า ปทุมุตฺตรสมฺพุทฺธํ ดังนี้.

พระเถระแม้นี้ ได้บำเพ็ญบุญญาธิการไว้ในพระพุทธเจ้าองค์ก่อนๆ สั่งสมบุญทั้งหลายอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานในภพนั้นๆ ในกาล แห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ บังเกิดในตระกูลแห่งหนึ่ง อัน สมบูรณ์ด้วยสมบัติ เจริญวัยแล้ว เจริญด้วยบุตรและภรรยา เห็นชาว พระนครพากันทำบุญ แม้ตนเองก็ประสงค์จะทำบุญ จึงนิมนต์ภิกษุสงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน ให้ปูที่นอนอันควรแก่ค่ามาก มีเครื่องปูลาดมี ลายดอกไม้ติดกันมากเป็นต้นเป็นอเนก เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่ง ในที่นั้นพร้อมด้วยสงฆ์แล้ว จึงให้เสวยพระกระยาหารอันประณีต แล้วได้ ถวายมหาทาน. ท่านบำเพ็ญบุญทั้งหลายจนตลอดอายุด้วยอาการอย่างนี้ เสวยสมบัติทั้งสองในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ครั้นต่อมาในพุทธุปบาทกาลนี้ บังเกิดเป็นบุตรแห่งพระนางกาฬิโคธาเทวี. ท่านบรรลุนิติภาวะ แล้ว ได้ปรากฏนามว่า ภิททิยะ กาฬิโคธาบุตร เพราะเจริญด้วยรูปสมบัติ คือมือและเท้ายาวและใหญ่ และเพราะเป็นบุตรแห่งพระนางกาฬิโคธาเทวี. ท่านเลื่อมใสในพระศาสดา ทำให้มารดาบิดาโปรดปราน แล้วบวชไม่นาน นักก็ได้เป็นพระอรหันต์.

ท่านเป็นพระอรหันต์แล้ว ระลึกถึงบุพกรรมของตน เกิดโสมนัส เมื่อจะประกาศปุพพจริตาปทาน จึงกล่าวคำมีอาทิว่า ปทุมุตฺตรสมฺพุทฺธํ ดังนี้. คำนั้นมีอรรถดังท่านกล่าวในหนหลังแล. บทว่า เมตฺตจิตฺตํ

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 182

ความว่า ชื่อว่า เมตตา เพราะรักใคร่ เยื่อใย ยินดีในสัตว์ทุกจำพวก จิตประกอบด้วยเมตตานั้น ชื่อว่าเมตตาจิต จิตประกอบด้วยเมตตานั้น ของ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น มีอยู่ เหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ชื่อว่า ผู้มีจิตประกอบด้วยเมตตา. ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ผ้มีจิตประกอบ ด้วยเมตตา บทว่า มหามุนึ ได้แก่ ภิกษุทั้งสิ้น. ชื่อว่า มหามุนิ เพราะเป็นผู้ใหญ่ เชื่อมความว่า ซึ่งพระสัมพุทธเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ นั้น. บทว่า ชนตา สพฺพา ความว่า หมู่ชนทั้งหมด อธิบายว่า ชาวพระนครทั้งสิ้น. บทว่า สพฺพโลกคฺคนายกํ เชื่อมความว่า ประชุม ชนย่อมเข้าถึง คือเข้าไปใกล้พระสัมพุทธเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตระ ผู้เลิศ ประเสริฐกว่าสัตว์ทั้งสิ้น ชื่อว่า ผู้นำ เพราะนำไปให้ถึงพระนิพพาน.

บทว่า สตฺตุกญฺจ พทฺธกญฺจ ความว่า ได้อามิส กล่าวคือสัตตุก้อน และสัตตุผง. ก็อีกอย่างเชื่อมความว่า ชนทั้งหลายย่อมถือเอา อามิส คือปานะ และโภชนะ อันเป็นยาวกาลิก มีภัต ขนม ของเคี้ยว ของบริโภค และยาคูเป็นต้นแล้ว ถวายแด่พระศาสดาผู้เป็นบุญเขตอันยอดเยี่ยม. บทว่า อาสนํ พุทธฺยุตฺตกํ ความว่า ซึ่งอาสนะอันสำเร็จด้วยรัตนะ ๗ อันควร แก่พระพุทธเจ้า คืออันเหมาะสมแก่พระพุทธเจ้า. คำที่เหลือมีอรรถ รู้ได้ง่ายทั้งนั้นแล.

จบอรรถกถากาฬิโคธาปุตตภัททิยเถราปทาน