พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

สันนิฏฐาปกเถราปทานที่ ๔ (๔๔) ว่าด้วยผลแห่งการถวายผลแฟง

 
บ้านธัมมะ
วันที่  27 พ.ย. 2564
หมายเลข  41033
อ่าน  303

[เล่มที่ 71] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 183

เถราปทาน

อุปาลิวรรคที่ ๕

สันนิฏฐาปกเถราปทานที่ ๔ (๔๔)

ว่าด้วยผลแห่งการถวายผลแฟง


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 71]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 183

สันนิฏฐาปกเถราปทานที่ ๔ (๔๔)

ว่าด้วยผลแห่งการถวายผลแฟง

[๔๖] เราทำกระท่อมไว้ในป่าอยู่ในระหว่างภูเขา ยินดีด้วยลาภ และความเสื่อมลาภ ด้วยศและควานเสื่อมยศ.

พระผ้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ ผู้รู้แจ้งโลก ผู้ ควรรับเครื่องบูชา เสด็จมาในสำนักเราพร้อมด้วยยภิกษุหนึ่ง แสน.

เมื่อพระมหานาคทรงพระนามว่าปทุมุตตระ ผู้อุดมเสด็จ เข้ามา เราได้ปูลาดเครื่องลาดหญ้าถวายแด่พระศาสดา.

เรามีจิตเลื่อมใส มีใจโสมนัส ได้ถวายผลแฟงและ น้ำฉันแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ซื่อตรง ด้วยใจอันผ่องใส.

ในแสนกัปที่แต่กัปนี้ เราได้ถวายทานใด ด้วยทานนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการถวายผลแฟง.

ในกัปที่ ๔๑ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิครั้งหนึ่ง พระนาม ว่าอรินทมะ ทรงสมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ มีพละมาก.

คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

ทราบว่า ท่านพระสันนิฏฐาปกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย ประการฉะนี้แล.

จบสันนิฏฐานปกเถราปทาน

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 184

๔๔. อรรถกถาสันนิฏฐาปกเถราปทาน

อปทานของท่านพระสันนิฏฐาปกเถระ มีคำเริ่มต้นว่า อรญฺเ กุฏิกํ กตฺวา ดังนี้.

พระเถระแม้นี้ ได้บำเพ็ญบุญญาธิการไว้ในพระพุทธเจ้าองค์ก่อนๆ สั่งสมบุญทั้งหลายอัน เป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานในภพนั้นๆ ในกาลแห่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ บังเกิดในเรือนมีตระกูล บรรลุ นิติภาวะแล้ว ถูกตบแต่งให้มีเหย้าเรือน เห็นโทษในการครองเรือน ละวัตถุ- กามและกิเลสกาม ไปอยู่ป่าระหว่างภูเขาไม่ไกลหิมวันตบรรพต. ในกาล นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระเสด็จถึงที่นั้น เพราะเป็น ผู้ใคร่ต่อการสงัด. ลำดับนั้น ดาบสนั้น เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า มีใจ ผ่องใส ไหว้แล้ว ได้ลาดหญ้าถวายเพื่อประทับนั่ง. ให้พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ประทับนั่งในที่นั้น เสวยผลาผลมีผละพลับเป็นต้นอันมีรสอร่อยเป็น อเนก. ด้วยบุญกรรมนั้น ท่านจุติจากอัตภาพนั้น แล้ว ท่องเที่ยวไปๆ มาๆ ในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เสวยสมบัติทั้งสอง บังเกิดในเรือนมี ตระกูลนี้ ถึงพร้อมด้วยศรัทธา บวชแล้ว เจริญวิปัสสนาไม่นานนักก็ได้ เป็นพระอรหันต์. ท่านปรากฏนามว่า สันนิฏฐาปกเถระ เพราะตั้งอยู่ด้วยดี ในพระนิพพาน กล่าวคือสันติบท (บทอันสงบ) โดยปราศจากอุตสาหะ ทีเดียว เหมือนในเวลาบรรลุพระอรหัตขณะจดมีดโกนปลงผม.

ก็เมื่อท่านบรรลุพระอรหัตแล้ว ระลึกถึงบุพกรรมของตน เกิด โสมนัส เมื่อจะประกาศปุพพจริตาปทาน จึงกล่าวคำมีอาทิว่า อรญฺเ กุฏิกํ กตฺวา ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อรญฺเ ความว่า เพราะ กลัวแต่สีหะและเสือโคร่งเป็นต้น มนุษย์ทั้งหลายไม่กำหนัด ไม่ขัดเคือง

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 185

ไม่ติดในที่นั้น เหตุนั้นที่นั้นจึงชื่อว่าอรัญ. ในอรัญญะ (ในป่า) นั้น. บทว่า กุฏิกํ ความว่า เราการทำกระท่อมมุงด้วยหญ้าอยู่ คือสำเร็จการ อยู่ในระหว่างภูเขา. เชื่อมความว่า เรายินดีอยู่ ด้วยลาภ และด้วยความ ไม่มีลาภ ด้วยยศ และด้วยความไม่มียศ.

บทว่า ชลชุตฺตมนามกํ ความว่า ดอกบัวอันเกิดในน้ำ ชื่อว่า ชละ, คือปทุม ดอกบัวอันเกิดในน่าอันสูงสุด ชื่อว่า ชลชุตตมะ ชื่ออันเสมอ ด้วยดอกบัวอันเกิดในป่าอันสูงสุดของผู้ใดมีอยู่ ผู้นั้นชื่อว่าผู้มีชื่อเสมือน ดอกบัวที่เกิดในป่าอันสูงสุด ซึ่งพระพุทธเจ้าพระองค์นั้นผู้มีพระนาม เสมือนกับด้วยดอกบัวที่เกิดในน้ำอันสูงสุด. คำที่เหลือมีอรรถรู้ได้ง่ายทั้งนั้น เพราะประกอบด้วยนัยอันมาแล้วในพระบาลีแล.

จบอรรถกถาสันนิฏฐาปกเถราปทานที่ ๔