พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

ปัญจหัตถิเถราปทานที่ ๕ (๔๕) ว่าด้วยผลแห่งการบูชาด้วยดอกบัว ๕ กํา

 
บ้านธัมมะ
วันที่  27 พ.ย. 2564
หมายเลข  41034
อ่าน  369

[เล่มที่ 71] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 186

เถราปทาน

อุปาลิวรรคที่ ๕

ปัญจหัตถิเถราปทานที่ ๕ (๔๕)

ว่าด้วยผลแห่งการบูชาด้วยดอกบัว ๕ กํา


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 71]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 186

ปัญจหัตถิเถราปทานที่ ๕ (๔๕)

ว่าด้วยผลแห่งการบูชาด้วยดอกบัว ๕ กำ

[๔๗] พระสัมพุทธเจ้าพระนามว่าสุเมธ ผู้มีพระจักษุทอดลง ตรัสพอประมาณ มีพระสติ ทรงสำรวมอินทรีย์ เสด็จมาใน แถวตลาด.

ดอกอุบล ๕ กำที่เราทำเป็นพวงมาลัยไว้มีอยู่ เราเลื่อมใส ได้เอาดอกอุบลนั้นบูชาพระพุทธเจ้า ด้วยมือทั้งสองของตน และดอกไม้เหล่านั้นเรายกขึ้นเป็นหลังคาแห่งพระศาสดานั้น เราทรงดอกไม้ถวายพระมหานาค ดังศิษย์กั้นร่มถวายอาจารย์ ฉะนั้น.

ในกัปที่สามหมื่น เราได้ยกดอกไม้ใด ด้วยกรรมนั้น เรา ไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา.

ในกัปที่สองพันแต่กัปนี้ ได้เป็นกษัตริย์ ๕ ครั้ง และเป็น พระเจ้าจักรพรรดิ ทรงพละมาก มีพระนามชื่อว่าหัตถิยะ.

คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

ทราบว่า ท่านพระปัญจหัตถิยเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย ประการฉะนี้แล.

จบปัญจหัตถิยเถรปทาน

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 187

๔๕. อรรถกถาปัญตหถิยเถราปทาน

อปทานของท่านพระปัญจหัตถิยเถระ มีคำเริ่มต้น ว่า สุเมโธ นาม สมฺพุทฺธโธ ดังนี้.

พระเถระแม้นี้ ได้บำเพ็ญบุญไว้ในพระพุทธเจ้าพระองค์ก่อนๆ สั่ง สมบุญอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพาน ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่า สุเมธะ บังเกิดในเรือนมีตระกูลแห่งหนึ่ง บรรลุนิติภาวะแล้ว เลื่อมใสในพระรัตนตรัยอยู่. สมัยนั้น ชนทั้งหลายได้นำดอกอุบล ๕ กำมือ มา. ท่านถือดอกอุบล ๕ กำมือเหล่านั้น บูชาพระผู้มีพระภาคเจ้า พระ นามว่าสุเมธะ ผู้กำลังเสด็จเที่ยวไปบนถนน. ดอกอุบลเหล่านั้นได้ลอยไป เป็นเพดานทำเป็นร่มอยู่ในอากาศไปพร้อมกับพระตถาคตทีเดียว. ท่านเห็น ดังนั้นเกิดโสมนัส เป็นผู้มีสรีระอันปีติถูกต้องแล้ว ระลึกถึงบุญนั้นนั่นแล ตลอดชีวิต จุติจากอัตภาพนั้นแล้ว บังเกิดในเทวโลก ท่องเที่ยวไปๆ มาๆ อยู่ ในพุทธุปปาทกาลนี้ บังเกิดในเรือนมีตระกูลบรรลุนิติภาวะ แล้ว เกิดศรัทธาบวชแล้ว เจริญวิปัสสนาไม่นานนักก็บรรลุพระอรหัต. ท่านปรากฏโดยชื่อตามกุศลที่ตนบำเพ็ญมาว่า ปัญจหัตถิยเถระ ดังนี้.

ท่านระลึกถึงบุพกรรมของตน เมื่อจะประกาศทิฏฐปุพพจริตาปทาน ด้วยปัญญาโดยประจักษ์ จึงกล่าวคำมีอาทิว่า สุเมโธ นาม สมฺพุทฺโธ ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สุเมโธ เชื่อมความว่า เมธาดี คือ ปัญญา มีปัญญาเครื่องแตกฉานการแทงตลอดสัจจะ ๔ เป็นต้น มีแก่ พระผู้มีพระภาคเจ้าใด พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น คือพระสัมพุทธะ พระนามว่า สุเมธะ เสด็จไประหว่างถนนในร้านตลาด. บทว่า โอกฺขิตฺตจกฺขุ

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 188

แปลว่า มีตาทอดลง. บทว่า มิตภาณี ความว่า มีปกติรู้จักประมาณแล้ว จึงพูด อธิบายว่า รู้จักประมาณแล้วจึงแสดงธรรม. คำที่เหลือเข้าใจง่าย ทั้งนั้นแล.

จบอรรถกถาปัญจหัตถิยเถราปทาน