พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

สุภัททเถราปทานที่ ๙ (๔๙) ว่าด้วยผลแห่งการบูชาด้วยผอบไม้จันทน์

 
บ้านธัมมะ
วันที่  27 พ.ย. 2564
หมายเลข  41039
อ่าน  383

[เล่มที่ 71] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 197

เถราปทาน

อุปาลิวรรคที่ ๕

สุภัททเถราปทานที่ ๙ (๔๙)

ว่าด้วยผลแห่งการบูชาด้วยผอบไม้จันทน์


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 71]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 197

สุภัททเถราปทานที่ ๙ (๔๙)

ว่าด้วยผลแห่งการบูชาด้วยผอบไม้จันทน์

[๕๑] พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ ทรงรู้แจ้งโลก ผู้ควรรับเครื่องบูชา ผู้มียศมาก ทรงถอนหมู่ชนขึ้นแล้ว จะ เสด็จนิพพาน.

ก็เมื่อพระสัมพุทธเจ้า ทรงยังหมื่นโลกธาตุให้หวั่นไหว แล้ว จะเสด็จนิพพาน หมู่ชนและเทวดาเป็นอันมากได้ ประชุมกันในเวลานั้น.

เราเอากฤษณาและดอกมะลิซ้อน ใส่ผอบไม้จันทน์เต็ม แล้ว ร่าเริง มีจิตโสมนัส ยกขึ้นบูชาพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้เป็นระอุดม.

พระศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ยอดเยี่ยมในโลก ทรง ทราบความดำริของเรา ทรงบรรทมอยู่นั่นแล ได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า

ผู้ใดเอาร่ม กฤษณาและมะลิซ้อน บังร่มให้เราในกาล ที่สุดเราจักพยากรณ์ผู้นั้น ท่านทั้งหลายจงฟังเรากล่าว

บุคคลผู้นี้เคลื่อนจากโลกนี้แล้ว จักไปสู่หมู่เทวดาชั้นดุสิต เขาได้เสวยรัชสมบัติในชั้นดุสิตนั้นแล้ว จักไปสู่ชั้นนิมมานรดี เขาถวายดอกมะลิซ้อนอันประเสริฐสุด ด้วยอุบายนี้แล้ว จักปรารภกรรมของตนเสวยสมบัติ บุคคลผู้นิจักบังเกิดในชั้น ดุสิตนั้นอีก เคลื่อนจากชั้นนั้นแล้ว จักไปสู่ความเป็นมนุษย์.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 198

พระมหานาคศากยบุตรผู้เลิศในโลก พร้อมทั้งเทวโลก ผู้ มีพระจักษุ ทรงยังสัตว์ให้ตรัสรู้เป็นอันมากแล้ว จักเสด็จ นิพพาน ในกาลนั้น เขาอันกุศลมูลตักเตือนแล้ว จักเข้าไป เฝ้า ครั้นเข้าไปเฝ้าพระสัมพุทธเจ้าแล้ว จักทูลถามปัญหาใน กาลนั้น

พระสัพพัญญูสัมพุทธเจ้า ผู้เป็นนายกของโลก ทรงให้ ร่าเริง ทรงทราบบุพกรรมแล้ว จักทรงเปิดเผย (แสดง) สัจจะทั้งหลาย เขายินดีว่า ปัญหานี้พระศาสดาทรงปรารภ แก้แล้ว มีใจชื่นชม ถวายบังคมพระศาสดาแล้วจักทูลขอ บวช.

พระพุทธเจ้าพระองค์นั้นทรงฉลาดในธรรมอันเลิศ ทรง เห็นว่าเขามีใจเลื่อมใส ยินดีด้วยกรรมของตน จักทรงให้บวช บุคคลผู้นี้พยายามแล้ว จักกำหนดรู้อาสวะทั้งปวงได้ แล้วจัก ไม่มีอาสวะ นิพพานในศาสนาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า.

จบภาณวารที่ ๕

เราประกอบด้วยบุพกรรม มีจิตชื่นชม ตั้งมั่นด้วยดี เป็น บุตรผู้เกิดแต่พระหทัยของพระพุทธเจ้า อันธรรมนิรมิตดีแล้ว เราเข้าไปเฝ้าพระธรรมราชาแล้ว ได้ทูลถามปัญหาอันสูงสุด และเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าจะทรงแก้ปัญหาของเรา ได้ตรัส กระแสธรรม เรารู้ทั่วถึงธรรมของพระองค์แล้ว ยินดีใน ศาสนาอยู่ กำหนดรู้อาสวะทั้งปวงแล้ว ไม่มีอาสวะอยู่.

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 199

ในแสนกัปแต่กัปนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตระผู้นายกอุดม ไม่ทรงมีอุปาทาน เสด็จนิพพานแล้ว ดังประทีปดับเพราะสิ้นน้ำมันฉะนั้น พระสถูปแก้วของพระผู้มีพระภาคเจ้าสูงประมาณ ๗ โยชน์ เราได้ทำธงสวยงาม กว่าธงทั้งปวงเป็นที่รื่นรมย์ใจ บูชาไว้ที่พระสถูปนั้น พระอัครสาวกชื่อติสสะของพระพุทธเจ้าพระนามว่า กัสสปะ เป็น บุตรผู้เกิดครั้นหทัยของเรา เป็นทายาทในพระพุทธศาสนา

เรามีใจเลวทราม ได้กล่าววาจาอันไม่เจริญแก่พระอัครสาวกนั้นด้วยผลแห่งกรรมนั้น แต่ในภายหลัง ความเจริญ จึงได้มีแก่เรา.

พระมุนีมหาวีรชินเจ้า ผู้ทรงเกื้อกูลประกอบด้วยพระกรุณา ทรงประทานบรรพชาแก่เราบนที่บรรทมครั้งสุดท้าย ณ สาลวัน อันเป็นที่เวียนมาแห่งมัลลกษัตริย์ทั้งหลาย

บรรพชาก็มีในวันนี้เดี๋ยวนี้เอง อุปสมบทก็ในวันนี้เอง ปรินิพพานก็ในวันนี้เอง เฉพาะพระพักตร์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้สูงสุดกว่าสัตว์สองเท้า.

คุณวิเศษเหล่านี้ คือปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

ทราบว่า ท่านพระสุภัททเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ ฉะนี้แล.

จบสถภัททเถราปทาน

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 200

๔๙. อรรถกถาสุภัททเถราปทาน

อปทานของท่านพระสุภัททเถระ มีคำเริ่มต้นว่า ปทุมุตฺตโร โลกวิทู ดังนี้.

พระเถระแม้นี้ ได้บำเพ็ญบุญญาธิการไว้ในพระพุทธเจ้าองค์ก่อนๆ สั่งสมบุญเพื่อบรรลุพระนิพพานในภพนั้นๆ ในกาลแห่งพระผู้มีพระ ภาคเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตระ บังเกิดในเรือนมีตระกูลแห่งหนึ่ง ผู้สมบูรณ์ ด้วยสมบัติ เพียบพร้อมด้วยศรัทธา บรรลุนิติภาวะแล้ว ถูกตบแต่งให้ มีเหย้าเรือน เลื่อมใสในพระรัตนตรัย เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตระ ทรงบรรทมบนพระแท่นเป็นที่ปรินิพพาน และเห็นเทวดา ในหมื่นจักรวาลประชุมกัน มีใจเลื่อมใส บูชาด้วยดอกไม้มีกลิ่นหอม มีดอกคนทิสอ ดอกลำเจียก และดอกอโศกเขียว และขาวเป็นต้น เป็นอเนก. ด้วยบุญกรรมนั้นท่านดำรงอยู่จนสิ้นอายุ จุติจากอัตภาพนั้นแล้ว เสวย ทิพยสมบัติในภพชั้นดุสิตเป็นต้น จากนั้นเสวยมนุษย์สมบัติในหมู่มนุษย์ ได้เป็นผู้อันเขาบูชาด้วย ดอกไม้ทั้งหลาย อันไปดีในที่ๆ ตนเกิดแล้ว. ก็ในพุทธุปบาทกาลนี้ บังเกิดในตระกูลที่สมบูรณ์ด้วยสมบัติตระกูลหนึ่ง บรรลุนิติภาวะแล้ว แม้เห็นโทษในกามทั้งหลายแล้ว ก็ไม่ได้เห็นพระพุทธเจ้า ตราบจนถึงเวลาที่พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าจะปรินิพพาน. บวช ในเวลาที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงบรรทมบนพระแท่นเป็นที่ปรินิพพาน นั้นเอง บรรลุพระอรหัตแล้ว. ท่านได้ปรากฏโดยนามแห่งบุญที่บำเพ็ญไว้ ในกาลก่อนว่าสุภัททะ ดังนี้.

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 201

ท่านระลึกถึงบุพกรรมของตน เมื่อจะประกาศปุพพจริตาปทาน ด้วยอำนาจโสมนัส จึงกล่าวคำมีอาทิว่า ปทุมุตฺตโร โลกวิทู ดังนี้. คำนี้มีอรรถตื้นทั้งนั้น. พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระทรง บรรทมบนพระแท่นเป็นที่ปรินิพพานนั่นแล. ได้พยากรณ์คำนี้ว่า สุณาถ มม ภาสโตฯ เปฯ นิพฺพายิสฺสตินาสโว.

จบอรรถกถาปัญจมภาณวาร

ท่านเมื่อแสดงข้อปฏิบัติของตน จึงกล่าวคำมีอาทิว่า ปุพฺพกมฺเมน สํยุตฺโต ดังนี้. บทว่า เอกคโค แปลว่า ผู้มีจิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง. บทว่า สุสมาหิโต แปลว่า ผู้มีจิตตั้งมั่นด้วยดี อธิบายว่า ผู้สงบกายและจิต. บทว่า พุทฺธสฺส โอรโส ปุตโต ความว่า ท่านฟังโอวาทานุสาสนีที่ ออกจากอกคือหทัย บรรลุพระอรหัตตผลแล้ว.บทว่า ธมฺมโตมฺหิ สุนิมฺมิโต. ความว่า เกิดจากธรรม คือจากกรรมฐานกรรม อธิบายว่า เรามีนิมิตดี โดยอริยชาติ คือเป็นผู้มีกิจทั้งปวงสำเร็จแล้วด้วยดี.

บทว่า ธมฺมราชํ อุปคมฺม ความว่า เราเข้าไปเฝ้า คือเข้าไปใกล้ พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระราชา เป็นอิสระกว่าสัตว์ทั้งปวงโดยธรรม. บทว่า อาปุจฺฉึ ปญฺหมุตฺตมํ ความว่า เราได้ถามปัญหาอันสูงสุด อันเกี่ยว ด้วยการเกิดขึ้นแห่งขันธ์ อายตนะ ธาตุ และสัจจะเป็นต้น. บทว่า กถยนฺโต จ เม ปญฺหํ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าของเราทั้งหลายนั้น เมื่อตรัสคือ เมื่อพยากรณ์ปัญหาแก่เรา. บทว่า ธมฺมโสตํ อุปานยิ ความว่า ท่าน ได้เข้าใกล้คือเข้าถึงกระแสธรรม คือห้วงแห่งธรรม กล่าวคืออนุปาทิเสสนิพพานธาตุ.

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 202

บทว่า ชลชุตฺตมนายโก ความว่า เป็นโวหารที่สำเร็จแล้ว เป็น ชื่อของพระปทุมุตตรพุทธเจ้า เพราะกระทำ อักษรให้เป็น อักษร.

บทว่า นิพฺพายิ อนุปาทาโน ความว่า ดับแล้วเพราะไม่ยึดถือ ขันธ์ ๕ อันเป็นอารมณ์ของอุปาทานแล้วคือไม่ปรากฏ. ได้แก่ไปสู่ที่ ไม่เห็น อธิบายว่า ไม่ตั้งอยู่แม้ในที่ไหนๆ เช่นในมนุษยโลกเป็นต้น. บทว่า ทีโป ว เตลสงฺขฺยา เชื่อมความว่า ดับไปดุจประทีปที่ดับไป เพราะสิ้นไปคือความไม่มีแห่งไส้และน้ำมัน.

บทว่า สตฺตโยชนิกํ อาสิ ความว่า พระสถูปอันสำเร็จด้วย รัตนะของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ ผู้ปรินิพพานแล้วนั้น ได้สั่งถึง ๗ โยชน์. บทว่า ธชํ ตตฺถ อปูเชสึ ความว่า เราได้บูชาธง อันเป็นที่รื่นรมย์แห่งใจ โดยประการทั้งปวงที่พระเจดีย์นั้น. บทว่า กสฺสปสฺส จ พุทฺธสฺส ความว่า จำเดิมแต่กาลปรินิพพาน แห่งพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่าปทุมุตตระ เชื่อมความว่า เราท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์ โอรสคือบุตรของเรานามว่าติสสะ ได้เป็นอัครสาวกแห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่า กัสสปะ คือเป็น ทายาทในศาสนาของพระชินเจ้า

บทว่า ตสฺส หีเนน มนสา เราผู้มีใจ คือมีจิตอันเลวทรามลามก ได้กล่าวคือแสดงคำว่า อนฺตโก ปจฺฉิโม ดังนี้ อัน เป็นคำไม่เจริญ ไม่ดี ไม่เหมาะต่อพระอัครสาวก ชื่อว่า ติสสะ ผู้เป็นบุตรของเรานั้น. บทว่า เตน กมฺมวิปาเกน ความว่า ด้วยวิบากแห่งอกุศลกรรม คือการกล่าวตู่ พระอรหันต์นั้น. บทว่า ปจฺฉิเม อทฺทสํ ชินํ ความว่า เราได้เห็น

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 203

พระชินเจ้า คือผู้พึงชนะมาร ได้แก่พระโคตมสัมมาสัมพุทธเจ้าของเรา ผู้บรรทมบนพระแท่นเป็นที่ปรินิพพาน อันเป็นที่แวะเวียนแห่งมัลลกษัตริย์ทั้งหลายในกาลสุดท้าย คือในกาลเป็นที่ปรินิพพาน. บาลีว่า ปจฺฉา เม อาสิ ภทฺทกํ ดังนี้ก็มี. อธิบายว่า เรานั้นได้มีการแทงตลอดสัจจะ ๔ อันเจริญอันดีในกาลอันเป็นภายหลัง แห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่า โคตมะนั้น คือในกาลเป็นที่สุด ได้แก่ในกาลใกล้ต่อพระนิพพานแห่ง พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น.

บทว่า ปพฺพาเชสิ มหาวีโร เชื่อมความว่า พระมหาวีระ ผู้เป็น ประโยชน์เกื้อกูลแก่สัตว์ทุกจำพวก ผู้ประกอบด้วยพระกรุณา ผู้ชนะมาร ผู้เป็นมุนี. ทรงบรรทมในที่บรรทม คือบนพระแท่นเป็นที่ปรินิพพาน ให้เราบรรพชาในปัจฉิมกาล. ในป่าสาลวโนทยานอันเป็นที่แวะเวียนแห่ง มัลลกษัตริย์.

บทว่า อชฺเชว ทานิ ปพฺเพชฺชา ความว่า วันนี้แหละคือในวัน เป็นที่ปรินิพพาน ของพระผู้มีพระภาคเจ้า เราได้บรรพชา อนึ่ง วันนี้ แหละเราได้อุปสมบท เชื่อมความว่า วันนี้เราได้ปรินิพพาน ในที่พร้อม พระพักตร์แห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้สูงสุดกว่าสัตว์ ๒ เท้า.

จบอรรถกถาสุภัททเถราปทาน