พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

สปริวาราสนเถราปทานที่ ๖ (๕๖) ว่าด้วยผลแห่งการถวายบิณฑบาต

 
บ้านธัมมะ
วันที่  27 พ.ย. 2564
หมายเลข  41046
อ่าน  331

[เล่มที่ 71] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 224

เถราปทาน

วีชนีวรรคที่ ๖

สปริวาราสนเถราปทานที่ ๖ (๕๖)

ว่าด้วยผลแห่งการถวายบิณฑบาต


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 71]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 224

สปริวาราสนเถราปทานที่ ๖ (๕๖)

ว่าด้วยผลแห่งการถวายบิณฑบาต

[๕๘] เราไปสู่สถานที่อันไม่เศร้าหมอง ประดับด้วยมะลิซ้อน แล้วได้ถวายบิณฑบาตแด่พระพุทธเจ้า พระนามว่า ปทุมุตตระ พระพุทธเจ้าผู้อัครนายกของโลก ผู้ซื่อตรง มี พระหฤทัยมั่นคง ประทับนั่งบนอาสนะนั้น ทรงประกาศอานิสงส์บิณฑบาตว่า

พืชแม้จะน้อยที่ชาวนาปลูกลงในนาที่ดี มหาเมฆยัง สายฝนให้ตกเสมอ ผลย่อมยังชาวนาให้ยินดีฉันใด บิณฑบาต นี้ ท่านปลูกลงในนาดี ผลจักยังท่านให้ยินดี ในภพที่เกิดฉันนั้น.

พระสัมพุทธเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระผู้อุดม ตรัสดังนี้แล้ว ทรงรับบิณฑบาต แล้วบ่ายพระพักตร์ทางทิศอุดรเสด็จไป.

เราสำรวมในพระปาติโมกข์และในอินทรีย์ ขวนขวาย ในวิเวก ไม่มีอาสวะอยู่.

คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

ทราบว่า ท่านพระสปริวาราสนเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย ประการฉะนี้แล.

จบสปริวาราสนเถราปทาน

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 225

๕๖. อรรถกถาสปริวาราสนเถราปทาน

อปทานของท่านพระสปริวาราสนเถระ มีคำเริ่มต้นว่า ปทุมุตตรพุทฺธสฺส ดังนี้.

พระเถระแม้นั้น ได้บำเพ็ญบุญสมภารไว้ในพระพุทธเจ้าองค์ก่อนๆ สั่งสมบุญทั้งหลายอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานในภพนั้นๆ ในกาลแห่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตระ บังเกิดในเรือนมีตระกูลอัน สมบูรณ์ด้วยทรัพย์สมบัติ เจริญวัยแล้ว เกิดศรัทธาเลื่อมใสในพระศาสนา เชื่อมผลแห่งทาน ได้ถวายบิณฑบาตแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วยโภชนะ มีรสเลิศต่างๆ ก็แลครั้นถวายแล้ว ได้ประดับอาสนะที่นั่งฉัน เพื่อ ประโยชน์แก่การนั่งฉันในโรงฉัน ด้วยดอกมะลิและดอกมัลลิกาเป็นต้น ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงกระทำภัตตานุโมทนาแล้ว ด้วยบุญกรรมนั้น ท่านท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เสวยสมบัติมีอย่างต่างๆ ในพุทธุปบาทกาลนี้ บังเกิดในเรือนมีตระกูล สมบูรณ์ด้วยทรัพย์สมบัติ เจริญวัยแล้ว มีศรัทธามีความเลื่อมใส บรรพชาแล้วไม่นานนักก็ได้เป็น พระอรหันต์.

ท่านบรรลุบทอันสงบอย่างนี้แล้ว ใคร่ครวญด้วยญาณว่า เพราะ บุญอะไรหนอ เราจึงบรรลุสันติบทนี้ เห็นบุพกรรมแล้ว เกิดโสมนัส เมื่อจะประกาศปุพพจริตาปทาน จึงกล่าวคำมีอาทิว่า ปทุมุตฺตรพุทฺธสฺส ดังนี้ คำนั้นมีอรรถดังกล่าวแล้ว. บทว่า ปีณฺฑปาตํ อทาสหํ ความว่า อาหารชื่อว่า บิณฑบาต เพราะกระทำก้อนข้าวที่ได้ในที่นั้นๆ ให้เป็น คำๆ แล้วกลืนกินคือเคี้ยวกิน เราได้ถวายบิณฑบาตนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า อธิบายว่า ให้พระผู้มีพระภาคเสวย.

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 226

บทว่า อกิตฺตยิ ปิณฺฑปาตํ ความว่า พระองค์ได้ประกาศคุณานิสงส์ แห่งบิณฑบาตที่เราถวายแล้ว.

บทว่า สํวุโต ปาฏิโมกฺขสฺมึ ความว่า เราเป็นผู้สำรวมแล้ว ปิด กั้นแล้วด้วยปาติโมกขสังวรศีล.

บทว่า อินฺทฺริเยสุ จ ปญฺจสุ ความว่า เราคุ้มครองแล้วจาก รูปารมณ์เป็นต้นในอินทรีย์ ๕ มีจักขุนทรีย์เป็นต้น และคุ้มครองซึ่ง อินทริยสังวรศีล. คำที่เหลือมีอรรถรู้ได้ง่ายทั้งนั้นแล.

จบอรรถกถาสปริวาราสนเถราปทาน