พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

ปัญจทีปกเถราปทานที่ ๗ (๕๗) ว่าด้วยผลแห่งการถวายประทีบ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  27 พ.ย. 2564
หมายเลข  41047
อ่าน  340

[เล่มที่ 71] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 227

เถราปทาน

วีชนีวรรคที่ ๖

ปัญจทีปกเถราปทานที่ ๗ (๕๗)

ว่าด้วยผลแห่งการถวายประทีบ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 71]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 227

ปัญจทีปกเถราปทานที่ ๗ (๕๗)

ว่าด้วยผลแห่งการถวายประทีบ

[๕๙] เราชื่อสนิทในพระสัทธรรม ของพระพุทธเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตระ ผู้ทรงอนุเคราะห์สัตว์ทั้งปวง เป็นผู้มีความเห็นตรง เราได้ถวายประทีป (ทำการบูชาด้วยประทีป) แวดล้อมไว้ที่ ไม้โพธิ์ ในครั้งนั้นเราเชื่อ จึงได้ทำการบูชาด้วยประทีปที่ ไม้โพธิ์.

เราเข้าถึงกำเนิดใดๆ คือความเป็นเทวดาหรือมนุษย์ ใน กำเนิดนั้นๆ เทวดาทั้งหลายย่อมทรงดวงไฟในอากาศ นี้ เป็นผลแห่งการบูชาด้วยประทีป เราย่อมมองเห็นได้ภายใน ฝาเรือน ภายในหินล้วน ตลอดล่วงภูเขาในที่ร้อยโยชน์ โดยรอบ.

ด้วยกรรมที่เหลืออยู่นั้น เราเป็นผู้บรรลุความสิ้นอาสวะ เราทรงกายอันเป็นที่สุดนี้อยู่ในศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้จอมสัตว์สองเท้า.

ในกัปที่ ๓,๔๐๐ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิมีพระนามว่า สตจักขุ มีพระเดชานุภาพมาก มีพละมาก.

คุณวิเศษเหล่านี้ คือปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 228

ทราบว่า ท่านพระปัจทีปกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านั้น ด้วยประการ ฉะนี้แล.

จบปัญจทีปกเถราปทาน

๕๗. อรรถกถาปัญจทิปกเถราปทาน

อปทานของท่านพระปัญจทีปกเถระ มีคำเริ่มต้นว่า ปทุมุตฺตรพุทฺธสฺส ดังนี้.

พระเถระแม้นี้ ได้บำเพ็ญบุญสมภารไว้ในพระพุทธเจ้าองค์ก่อนๆ สั่งสมบุญทั้งหลายอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพาน ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ บังเกิดในเรือนมีตระกูล อยู่ครอง เรือน ฟังธรรมของพระผู้มีพระภาคเจ้า ตั้งอยู่ในสัมมาทิฏฐิ มีศรัทธา เลื่อมใส เห็นมหาชนทำการบูชาอยู่ แม้ตนเองก็แวดล้อมต้นโพธิ์ ตาม ประทีปบูชา. ด้วยบุญกรรมนั้น ท่านท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์ ทั้งหลาย เสวยสมบัติมีจักรพรรดิสมบัติเป็นต้นรุ่งเรืองในภพที่ตนเกิดในที่ ทุกสถานนั้นแล อยู่ในวิมานที่เพียง พร้อมด้วยความรุ่งเรืองเป็นต้น ใน พุทธุปบาทกาลนี้ บังเกิดในเรือนมีตระกูล อันสมบูรณ์ด้วยทรัพย์สมบัติ แห่งหนึ่ง เจริญวัยแล้ว เกิดศรัทธาบรรพชาไม่นานนักก็ได้เป็นพระอรหันต์ ด้วยวิบากเป็นเครื่องไหลออกแห่งการบูชาด้วยประทีป ท่านจึง ปรากฏนามว่า ทีปกเถระ ดังนี้.

วันหนึ่ง ท่านระลึกถึงบุพกรรมของตน เกิดโสมนัส เมื่อจะ ประกาศปุพพจริตาปทาน จึงกล่าวคำมีอาทิว่า ปทุมุตฺตรพุทฺธสฺส ดังนี้.

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 229

คำนั้นมีอรรถดังกล่าวแล้วนั้นแล. บทว่า อุชุทิฏฺิ อโหสหํ ความว่า เราได้ละทิ้งความคดโกงคือมิจฉาทิฏฐิ ได้เป็นผู้สัมมาทิฏฐิ อันตรง ไม่ คดโกงคือได้บรรลุถึงความเป็นผู้มีสัมมาทิฏฐิแล้ว.

ในบทว่า ปทีปทานํ ปาพาสึ มีวินิจฉัยว่า ชื่อว่า ปทีป เพราะ รุ่งโรจน์โชติช่วงโดยประการ การให้ประทีปนั้น ชื่อว่า ปทีปทาน. ความว่า เราได้ให้ประทีปนั้น คือได้กระทำการบูชาด้วยประทีป. คำที่เหลือ มีอรรถตื้นในที่ทั้งปวงทีเดียวแล.

จบอรรถกถาปัญจทีปกเถราปทาน