พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

ธชทายกเถราปทานที่ ๘ (๕๘) ว่าด้วยผลแห่งการถวายธงและบํารุง

 
บ้านธัมมะ
วันที่  27 พ.ย. 2564
หมายเลข  41048
อ่าน  335

[เล่มที่ 71] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 230

เถราปทาน

วีชนีวรรคที่ ๖

ธชทายกเถราปทานที่ ๘ (๕๘)

ว่าด้วยผลแห่งการถวายธงและบํารุง


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 71]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 230

ธชทายกเถราปทานที่ ๘ (๕๘)

ว่าด้วยผลแห่งการถวายธงและบำรุง

[๖๐] เราร่าเริง มีจิตโสมนัส ได้ยกธงขึ้นปักไว้ที่ไม้โพธิ์ อันเป็น ต้นไม้อุดม แห่งพระพุทธเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ เราเก็บ ใบโพธิ์ ที่หล่นเอาไปทั้งภายนอก ได้ไหว้ไม้โพธิ์ อันอุดม ดัง ได้ถวายบังคมพระสัมพุทธเจ้า ผู้หมดจดทั้งภายในภายนอก ทรงพ้นวิเศษแล้ว ไม่มีอาสวะ เหมือนดังเฉพาะพระพักตร์ พระศาสดาพระนามว่าปทุมุตตระทรงรู้แจ้งโลก ผู้ควรรับเครื่อง บูชา ประทับยืนท่ามกลางภิกษุสงฆ์ ได้ตรัสพระคาถา เหล่านี้ว่า

ด้วยการถวายธงและด้วยการบำรุงทั้งสองนี้ เขาจะไม่ไป สู่ทุคติตลอดแสนกัป จักได้เสวยความเป็นเทวดารูปงามไม่ น้อยในเทวดาทั้งหลาย.

จักรได้เป็นพระราชาในแว่นแค้นหลายร้อยครั้ง จักได้เป็น พระเจ้าจักรพรรดิมีพระนามชื่อว่าอุคคตะ ครั้นเสวยสมบัติแล้ว อันกุศลมูลตักเตือน จักยินดียิ่งในพระศาสนาของพระผู้มีพระภาค เจ้าพระนามว่าโคดม เราเป็นผู้มีจิตแน่วแน่เพื่อความ เพียรสงบไม่มีอุปธิ.

ทรงกายอันเป็นที่สุดอยู่ในพระศาสนาของพระสัมพุทธเจ้า ในกัปที่ ๕๑,๐๐๐ ได้เป็นกษัตริย์หลายครั้ง พระนามว่าอุคคตะ มีเสนามาก ในกัปที่ห้าหมื่นเป็นกษัตริย์พระนามว่าเขมะ.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 231

คุณวิเศษเหล่านี้ คือปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

ทราบว่า ท่านพระธชทายกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านั้น ด้วยประการ ฉะนี้แล.

จบธชทายกเถราปทาน

๕๘. อรรถกถาธชทายกเถราปทาน

อปทานของท่านพระธชทายกเถระ มีคำเริ่มต้นว่า ปทุมุตตรพุทฺธสฺส ดังนี้.

พระเถระแม้นี้ ได้บำเพ็ญบุญสมภารไว้ในพระพุทธเจ้าองค์ก่อนๆ สั่งสมบุญทั้งหลายอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานในภพนั้นๆ ในกาลแห่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตระ บังเกิดในเรือนมีตระกูล แห่งหนึ่ง เจริญวัยแล้ว เลื่อมใสในพระศาสดา ให้กระทำธงด้วยผ้าดีๆ มากมาย คือได้กระทำการบูชาด้วยธง. ด้วยบุญกรรมนั้น ท่านบังเกิด ในตระกูลสูง เป็นผู้ควรบูชาแล้ว ในภพที่คนเกิดแล้วๆ. ครั้นต่อมา ในพุทธุปบาทกาลนี้ ท่านบังเกิดในเรือนมีตระกูลแห่งหนึ่ง เจริญวัยแล้ว เจริญด้วยบุตรและภรรยา เป็นผู้มีโภคะมาก มียศมี ศรัทธาเลื่อมใสใน พระศาสดา ละการครองเรือนบวช ไม่นานนักก็ได้เป็นพระอรหันต์.

ท่านได้บรรลุพระอรหัตตผลแล้ว ระลึกถึงบุพกรรมแล้ว เกิดโสมนัส เมื่อจะประกาศปุพพจริตาปทาน จึงกล่าวคำมีอาทิว่า ปทุมุตฺตรพุทฺธลฺส ดังนี้. ความแห่งคำนั้น มีอรรถดังกล่าวในก่อนนั้นแล. บทว่า หฏฺโ

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 232

หฏฺเน จิตฺเตน ความว่า ผู้มีรูปกายอันบริบูรณ์ชื่อว่าร่าเริง เพราะ ประกอบด้วยจิตอันเกิดพร้อมด้วยโสมนัส ชื่อว่ามีจิตร่าเริง คือมีจิตยินดี เพราะมีจิตประกอบด้วยศรัทธา. บทว่า ธชมาโรปยึ อหํ ความว่า ชื่อว่า ธชะ เพราะอรรถว่า สะบัด คือไหว. เราได้ยกธงนั้นขึ้นคล้องไว้ บนปลายไม้ไผ่แล้วบูชา.

บทว่า ปติตปตฺตานิ คณฺหิตฺวา ความว่า เราถือเอาใบต้นโพธิ์ ที่หล่นแล้วทั้งเสียภายนอก. บทว่า อนฺโตสุทฺธํ พหิสุทฺธํ ความว่า เราได้ ไหว้ คือได้กระทำการนอบน้อมต้นโพธิ์อันสูงสุดในที่พร้อมหน้า ดุจว่า ต่อพระพักตร์พระสัมพุทธะ ผู้บริสุทธิ์ภายในจิตตสันดานและนามกาย และบริสุทธิ์ในภายนอก คือรูปกายมีจักขุปสาทและโสตปสาทเป็นต้น ผู้หลุดพ้นวิเศษยิ่ง คือหลุดพ้นจากกิเลส ผู้ไม่มีอาสวะ. คำเหลือในที่ ทั้งปวงมีอรรถตื้นทั้งนั้นแล.

จบอรรถกถาธชทายากเถราปทาน