พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

ปทุมเถราปทานที่ ๙ (๕๙) ว่าด้วยผลแห่งการถวายดอกปทุมพร้อมด้วยธง

 
บ้านธัมมะ
วันที่  27 พ.ย. 2564
หมายเลข  41049
อ่าน  307

[เล่มที่ 71] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 233

เถราปทาน

วีชนีวรรคที่ ๖

ปทุมเถราปทานที่ ๙ (๕๙)

ว่าด้วยผลแห่งการถวายดอกปทุมพร้อมด้วยธง


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 71]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 233

ปทุมเถราปทานที่ ๙ (๕๙)

ว่าด้วยผลแห่งการถวายดอกปทุมพร้อมด้วยธง

[๖๑] พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ กำลังทรง ประกาศสัจจะ ๔ ทรงยังธรรมอันประเสริฐให้เป็นไป ทรง ยังสายฝนอมฤตให้ตก ดับความเร่าร้อนมหาชนอยู่.

เรายืนถือดอกปทุมพร้อมด้วยธงอยู่ไม่ไกล ๒๕๐ ชั่วธนู มี ความโสมนัส ได้โยนดอกปทุมพร้อมด้วยธงขึ้นไปบนอากาศ เพื่อบูชาพระมุนีพระนามว่าปทุมุตตระ

และเมื่อดอกปทุมกำลังมา ความอัศจรรย์ก็เกิดมีในขณะ นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ประเสริฐกว่าบรรดาคน ทรงทราบ ความดำริของเรา ทรงรับไว้.

พระศาสดาทรงรับดอกปทุมอันอุดมด้วยพระหัตถ์อันประเสริฐแล้ว ประทับยืนในท่ามกลางภิกษุสงฆ์ ได้ตรัสพระคาถา เหล่านี้ว่า ผู้ใดโยนดอกปทุมนี้มาในพระสัพพัญญูผู้นายกอุดม เราจักพยากรณ์ผู้นั้น ท่านทั้งหลายจงฟังเรากล่าว.

ผู้นั้นจักเป็นจอมเทวดาเสวยเทวรัชสมบัติตลอด ๓๐ กัป จักได้เป็นพระราชาในแผ่นดินครอบครองพสุธาอยู่ ๗๐๐ กัป จักถือเอาอัตภาพในภพนั้นแล้ว จักได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ในกาลนั้น สายฝนดอกปทุมจักตกจากอากาศมากมาย.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 234

ในแสนกัป พระศาสดามีพระนามว่าโคดม ซึ่งสมภพ ในวงศ์พระเจ้าโอกกากราช จักเสด็จอุบัติในโลก.

ผู้นั้นจักเป็นโอรส ผู้เป็นทายาทในธรรมของพระศาสดา พระองค์นั้น อันธรรมนิรมิต กำหนดรู้อาสวะทั้งปวงแล้ว จักไม่มีอาสวะ และนิพพาน เราตลอดจากครรภ์แล้ว มีสติ- สัมปชัญญะ มีอายุ ๕ ปีโดยกำเนิด ได้บรรลุพระอรหัต.

คุณวิเศษเหล่านี้ คือปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

ทราบว่า ท่านพระปทุมเถระได้กล่าวคาถาเหล่านั้น ด้วยประการ ฉะนี้แล.

จบปทุมเถราปทาน

๕๙. อรรถกถาปทุมเถราปทาน

อปทานของท่านพระปทุมเถระ มีคำเริ่มต้นว่า จตุสจฺจํ ปกาเสนฺโต ดังนี้.

พระเถระแม้นี้ ได้บำเพ็ญบุญสมภารไว้ในพระพุทธเจ้าองค์ก่อนๆ เมื่อพระปทุมุตตรมุนี กระทำความโชติช่วงแห่งพระสัทธรรมให้รุ่งเรืองอยู่ ท่านบังเกิดในเรือนมีตระกูลแห่งหนึ่ง ดำรงการครองเรือน ปรากฏว่า ท่านเพียบพร้อมด้วยโภคทรัพย์. ท่านเลื่อมใสในพระศาสดา ฟังธรรม อยู่กับมหาชน ได้ยืนถือกำดอกปทุมพร้อมด้วยธง. ท่านได้ขว้างกำดอก

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 235

ปทุมนั้นพร้อมด้วยธงขึ้นสู่อากาศ เห็นความอัศจรรย์นั้น จึงเกิดโสมนัส อย่างยวดยิ่ง. ทำบำเพ็ญกุศลจนตลอดชีวิต ในที่สุดแห่งชีวิต บังเกิด ในสวรรค์ ได้ปรากฏและอันเขาบูชา ในฉกามาวจรสวรรค์ดุจธง เสวย ทิพยสมบัติ และเสวยจักรพรรดิสมบัติในมนุษย์ทั้งหลาย ในพุทธุปบาทกาลนี้ ท่านบังเกิดในเรือนมีตระกูลสมบูรณ์ด้วยสมบัติ เพียบพร้อมด้วย ศรัทธา เจริญวัยแล้วเกิดศรัทธา เพียงอายุ ๕ ขวบเท่านั้นได้บรรพชา แล้ว ไม่นานก็ได้เป็นพระอรหันต์ ท่านปรากฏโดยนามที่ท่านได้บำเพ็ญ บุญไว้ว่า ปทุมเถระ ดังนี้.

ท่านระลึกถึงบุพกรรมของตน เกิดโสมนัส เมื่อจะประกาศปุพพจริตาปทาน จึงกล่าวคำมีอาทิว่า จตุสจฺจํ ปกาเสนฺโต ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สจฺจํ ความว่า ที่ชื่อว่า สัจจะ เพราะ แท้ ไม่ผิด ไม่คลาดเคลื่อน. ที่ชื่อว่า จตุสัจจะ เพราะท่านรวบรวม สัจจะ ๔ คือ ทุกขสัจจะ สมุทยสัจจะ นิโรธสัจจะ และมัคคสัจจะ เมื่อ ประกาศคือเมื่อกระทำสัจจะ ๔ นั้นให้ปรากฏในโลก. บทว่า อมตํ วุฏึ ความว่า เมื่อยังสายน้ำฝนคืออมตมหานิพพานให้ตกอยู่คือหลั่งไหล ยัง โลกนี้พร้อมด้วยเทวโลกให้ชุ่มอยู่ คือยังความเร่าร้อนคือกิเลสทั้งปวง ให้ดับ ชื่อว่าย่อมยังฝน คือพระธรรมให้ตก.

บทว่า สธชํ ปทุมํ คยฺห ความว่า ถือดอกปทุม คือกำดอกปทุม รวมกับธง. บทว่า อฑฺฒโกเส ิโต อหํ ความว่า ได้ยกดอกปทุมและ ธงทั้งสองขึ้นยืนอยู่แล้ว. คำที่เหลือในทีทั้งปวงตื้นทั้งนั้นแล.

จบอรรถกถาปทุมเถราปทาน