พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

อสนโพธิยเถราปทานที่ ๑๐ (๖๐) ว่าด้วยผลแห่งการปลูกไม้โพธิ์

 
บ้านธัมมะ
วันที่  27 พ.ย. 2564
หมายเลข  41050
อ่าน  363

[เล่มที่ 71] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 236

เถราปทาน

วีชนีวรรคที่ ๖

อสนโพธิยเถราปทานที่ ๑๐ (๖๐)

ว่าด้วยผลแห่งการปลูกไม้โพธิ์


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 71]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 236

อสนโพธิยเถราปทานที่ ๑๐ (๖๐)

ว่าด้วยผลแห่งการปลูกไม้โพธิ์

[๖๒] เรามีอายุ ๗ ปีโดยกำเนิด ได้พบพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ เป็นนายกของโลก เรามีจิตเลื่อมใส มีใจโสมนัส ได้เข้า ไปเฝ้าพระองค์ผู้สูงสุดกว่านรชน เราร่าเริง มีจิตโสมนัส ได้ปลูกไม้โพธิ์อันอุดม ถวายแด่พระผู้มาพระภาคเจ้าพระนาม ว่าติสสะเชษฐบุรุษของโลก ผู้คงที่ ต้นไม้อันงอกขึ้นบนแผ่น ดิน โดยนามบัญญัติชื่อว่าอสนะ (ประดู่) เราบำรุงโพธิ์ชื่อ อสนะอันอุดมนี้อยู่ ๕ ปี.

จึงได้เห็นต้นไม้มีดอกบานน่าอัศจรรย์ เป็นเหตุให้ ขนพองสยองเกล้า เมื่อจะประกาศกรรมของตน จึงเข้าไปเฝ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ประเสริฐสุด.

เวลานั้นองค์พระสัมพุทธเจ้าพระนามว่าติสสะ เป็นสยัมภู อัครบุคคล ประทับนั่งในท่ามกลางภิกษุสงฆ์ แล้วได้ตรัส พระคาถาเหล่านี้ว่า.

ผู้ใดปลูกต้นโพธิ์นี้ และกระทำพุทธบูชาโดยเคารพ เรา จักพยากรณ์ผู้นั้น ท่านทั้งหลายจงฟังเรากล่าว.

ผู้นั้นจักได้เสวยเทวรัชสมบัติในเทวดาทั้งหลาย ตลอด ๓๐ กัป และจักได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๖๔ ครั้ง เคลื่อนจาก ดุสิตพิภพแล้ว อันกุศลมูลตักเตือน เสวยสมบัติทั้งสองแล้ว จักรื่นรมย์อยู่ในความเป็นมนุษย์ ผู้นั้นมีใจแน่วแน่เพื่อความ

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 237

เพียร สงบระงับ ไม่มีอุปธิ กำหนดรู้อาสนะทั้งปวงแล้ว จักไม่มีอาสวะ นิพพาน เราประกอบวิเวกเนืองๆ เป็นผู้สงบ ระงับ ไม่มีอุปธิ ตัดเครื่องผูกดังช้างทำลายปลอกแล้ว ไม่มี อาสวะอยู่.

ในกัปที่ ๙๒ แต่กัปนี้ เราได้ปลูกต้นโพธิ์ในเวลานั้น ด้วย กรรมนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการปลูกต้นโพธิ์.

ในกัปที่ ๗๔ แต่กัปนี้ เวลานั้นได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ทรงสมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ มีนามปรากฏว่าทัณฑเสน.

ในกัปที่ ๗๓ แต่กัปนี้ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๗ ครั้ง ผู้เป็นใหญ่ในเผ่นดิน มีพระนามว่าสมันตเนมิ.

ในกัปที่ ๒๐ ถ้วนแต่กัปนี้ ได้เป็นกษัตริย์พระนามว่า ปุณณกะเป็นพระเจ้าจักรพรรดิทรงสมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ มีพละมาก.

คุณวิเศษเหล่านี้ คือปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

ทราบว่า ท่านพระอสนโพธิยเถระได้กล่าวคาถาเหล่านั้น ด้วย ประการฉะนี้แล.

จบแสนโพธิยเถราปทาน

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 238

๖๐. อรรถกถาอสนโพธิยเถราปทาน

อปทานของท่านพระอสนโพธิยเถระ มีคำเริ่มต้นว่า ชาติยา สตฺตวสฺโสหํ ดังนี้.

พระเถระแม้นี้ ได้บำเพ็ญบุญสมภารไว้ในพระพุทธเจ้าองค์ก่อนๆ สั่งสมบุญทั้งหลายอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานในภพนั้นๆ ในกาล แห่งพระพุทธเจ้าพระนามว่าติสสะ บังเกิดในเรือนมีตระกูลแห่งหนึ่ง เจริญวัยแล้ว ได้รับความสุข เลื่อมใสในพระศาสนา ถือเอาผลไม้โพธิ์ ที่ออกจากโพธิพฤกษ์ แล้วถือเอาต้นโพธิ์หนุ่มที่ออกจากต้นโพธิ์นั้น แล้ว ปลูกเป็นต้นโพธิ์. รักษาไว้บูชาโดยกรรมมีการรดน้ำเป็นต้น โดยประการที่ จะไม่พินาศไป. ด้วยบุญนั้น ท่านจึงเสวยสมบัติในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ในพุทธุปบาทกาลนี้ บังเกิดในเรือนมีตระกูล เพราะท่านมีบุญสมภาร แก่รอบ ท่านมีอายุ ๗ ขวบท่านบรรพชาแล้วบรรลุพระอรหัตขณะปลงผม นั้นเอง. ท่านปรากฏโดยชื่อแห่งบุญที่ตนบำเพ็ญไว้ในกาลก่อนว่า อสนโพธิยิเถระ. ท่านระลึกถึงบุญสมภารในกาลก่อน เกิดโสมนัส เมื่อจะ ประกาศปุพพจริตาปทาน จึงกล่าวคำมีอาทิว่า ชาติยา สตฺตวสฺโสหํ ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ชาติยา ความว่า จำเดิมแต่กาลที่ตน ตลอดจากครรภ์มารดา. เชื่อมความว่า เรามีอายุ ๗ ขวบมีฤดูสรทะบริบูรณ์ ได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า ติสสะ ผู้นำสัตว์โลก. บทว่า ปสนฺนจิตฺโต สุมโน ความว่า ผู้มีจิตผ่องใส ไม่ขุ่นมัว ไม่หวั่นไหว โดยประการ อธิบายว่า ผู้มีใจ คือผู้มีใจงาม ได้แก่ผู้มีจิตเกิดพร้อม กับโสมนัส.

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 239

บทว่า ติสฺสสฺสาหํ ภควโต ความว่า ชื่อว่า ติสสะ เพราะ เกิด ๓ ครั้ง ท่านเป็นผู้เกิดคือบังเกิดพ้นจากครรภ์ของมารดา จากชาติ เป็นมนุษย์ และจากเบญจขันธ์ เป็นพระพุทธเจ้า. เชื่อมความว่า เรา ปลูกต้นอสนโพธิ์อันสูงสุด เพื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าติสสะนั้น ผู้คงที่ ผู้ประเสริฐกว่าโลก.

บทว่า อสโน นามเธยฺย ความว่า ต้นโพธิ์ ชื่อว่า อสนะ ได้เป็นต้นโพธิ์โดยนามบัญญัติ คือโดยนามสัญญา. บทว่า ธรณีรุหปาทโป ความว่า ชื่อว่า ธรณี เพราะทรงไว้ซึ่งเถาวัลย์ ต้นไม้ ภูเขา แม่น้ำคงคา และสาครเป็นต้น, ธรณีนั้นคืออะไร คือแผ่นดิน. ชื่อว่า ธรณีรุหะ งอกขึ้น คือดังอยู่บนแผ่นดินนั้น, ชื่อว่า ปาทโป เพราะดื่มด้วยเท้า อธิบายว่า ดื่มน้ำที่รดด้วยรากกล่าวคือเท้า คือย่อมทรงไว้ซึ่งรสแห่งอาโปธาตุ คือความ สิเนหา. ต้นไม้นั้นด้วย งอกขึ้นบนแผ่นดินด้วย เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ธรณีรุหปาทปะ เราได้บำเรอคือได้ปลูกบำรุงต้นโพธิ์ ชื่อว่าอสนะอันสูงสุด ตลอด ๕ ปี. บทว่า ปุปฺผตํ ปาทปํ ทิสฺวา ความว่า เห็นต้นโพธิ์ ชื่อว่า อสนะ ที่เราปลูกไว้นั้นบานแล้ว คือการกระทำการชูชันแห่งขน อันน่าอัศจรรย์ เพราะมีดอกอันควรแก่สิ่งน่าอัศจรรย์ เมื่อระบุกรรม ของคน คือเมื่อกล่าวโดยประการ จึงได้ไปสู่สำนักของพระพุทธเจ้า ผู้ประเสริฐ. คำที่เหลือในที่ทั้งปวงมีอรรถตื้นทั้งนั้นแล.

จบอรรถกถาอสนโพธิยเถราปทาน

จบอรรถกถาวรรคที่ ๖

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 240

รวมอปทานที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. วิธูปนทายกเถราปทาน ๒. สตรังสิยเถราปทาน ๓. สยนทายกเถราปทาน ๔. คันโธทกทายกเถราปทาน ๕. โอปวุยหเถราปทาน ๖. สปริวาราสนเถราปทาน ๗. ปัญจทีปกเถราปทาน ๘. ธชทายกเถราปทาน ๙. ปทุมเถราปทาน ๑๐. อสนโพธิยเถราปทาน.

มีคาถา ๙๒ คาถา.

จบวีชนีวรรคที่ ๖