พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

สกจิตตนิยเถราปทานที่ ๑ (๖๑) ว่าด้วยผลแห่งถวายสถูป

 
บ้านธัมมะ
วันที่  27 พ.ย. 2564
หมายเลข  41051
อ่าน  277

[เล่มที่ 71] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 241

เถราปทาน

สกจิตตนิยวรรคที่ ๗

สกจิตตนิยเถราปทานที่ ๑ (๖๑)

ว่าด้วยผลแห่งถวายสถูป


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 71]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 241

สกจิตตนิยวรรคที่ ๗

สกจิตตนิยเถราปทานที่ ๑ (๖๑)

ว่าด้วยผลแห่งถวายสถูป

[๖๓] เราได้เห็นป่าชัฏใหญ่สงัดเสียง ปราศจากอันตราย เป็น ที่อยู่อาศัยของพวกฤๅษี ดังกับจะรับเครื่องบูชา เราจึงเอา ไม้ไผ่มาทำเป็นสถูป แล้วเกลี่ย (โปรย) ดอกไม้ต่างๆ ได้ ไหว้พระสถูป ดุจถวายบังคมพระสัมพุทธเจ้า ซึ่งยังทรง พระชนม์อยู่เฉพาะพระพักตร์.

เราได้เป็นพระราชาสมบูรณ์ด้วยรัตนะ ๗ ประการ เป็น ใหญ่ในแว่นแคว้น ยินดียิ่งในกรรมของตน นี้เป็นผลแห่ง การบูชาด้วยดอกไม้.

ในกัปที่ ๙๑ แต่กัปนี้ เราโปรยดอกไม้ใด ด้วยกรรมนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา ในกัปที่ ๘๐ เรา ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ มียศอันต์ สมบูรณ์ด้วยแก้ว ประการ เป็นใหญ่ในทวีปทั้ง ๔.

คุณวิเศษเหล่านี้ คือปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

ทราบว่า ท่านพระสกจิตตนิยเถระได้กล่าวคาถาเหล่านั้น ด้วยประการ ฉะนี้แล

จบสกจิตตนิยเถราปทาน

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 242

สกจิตตนิยวรรคที่ ๗

๖๑. อรรถกถาสกจิตตนิยเถราปทาน

อปทานของท่านพระสกจิตตนิยเถระ นี้ มีคำเริ่มต้นว่า ปวนํ กานนํ ทิสฺวา ดังนี้.

พระเถระแม้นี้ ได้บำเพ็ญบุญสมภารไว้ในพระพุทธเจ้าองค์ก่อนๆ สั่งสมบุญทั้งหลายอันเป็นอุปนิสัยแก่พระนิพพานในภพนั้นๆ ในกาลแห่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าวิปัสสี ท่านบังเกิดในเรือนมีตระกูลแห่งหนึ่ง เจริญวัยแล้ว เกิดขึ้นในกาลเป็นที่สิ้นพระชนมายุของพระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้น ยังไม่ทันได้เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อยังดำรงพระชนมายุ อยู่. ในกาลที่พระองค์ปรินิพพาน ได้บวชเป็นฤาษี อยู่ในหิมวันตประเทศ ถึงป่าแห่งหนึ่งอันวิเวกน่ารื่นรมย์ ก่อเจดีย์ทรายที่ซอกเขาแห่งหนึ่ง ทีนั้น เอาใจใส่ดังในพระผู้มีพระภาคเจ้า และเอาใจใส่ดังพระธาตุของพระองค์ บูชาด้วยดอกไม้ในป่า เที่ยวนมัสการอยู่. ด้วยบุญกรรมนั้น ท่านจึงท่อง เที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เสวยสวรรค์สมบัติอันเลิศ ในเทวดา และมนุษย์ทั้งสองนั้น และจักรพรรดิสมบัติอันเลิศ ในพุทธุปบาทกาลนี้ บังเกิดในเรือนมีตระกูลแห่งหนึ่ง สมบูรณ์ด้วยทรัพย์สมบิติ เพียบพร้อม ด้วยศรัทธาเลื่อมใสในพระศาสดา บวชได้เป็นพระอรหันต์ ผู้มีอภิญญา ๖.

ท่านระลึกถึงบุพกรรมของตน เกิดโสมนัส เมื่อจะประกาศปุพพจริตาปทาน จึงกล่าวคำมีอาทิว่า ปวนํ กานนํ ทิสฺวา ดังนี้. บรรดาบท เหล่านั้น บทว่า ปวนํ ความว่า ชื่อว่า ปวนะ เพราะอรรถว่า เป็นป่า โดยประการ ป่าแผ่กว้าง เป็นรกชัฏ. ชื่อว่า กานนะ เพราะอรรถว่า เป็นคง เป็นป่าทึบ หนาแน่นไปด้วยสัตว์ร้ายเช่น สีหะ เสือโคร่ง ยักษ์

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 243

ผีเสื้อน้ำ ช้างดุ ม้าดุ ครุฑ และงู หรือมากไปด้วยเสียงแห่งหมู่นก ไก่และ นกดุเหว่า ชื่อว่า กานนะ ป่าใหญ่ กล่าวคือดงนั้น มีเสียงน้อย คือ ไม่มีเสียง เพราะเว้นจากเสียงมนุษย์. บทว่า อนาวิลํ ได้แก่ ไม่ขุ่นมัว อธิบายว่า ปราศจากอันตราย. บทว่า อิสีนํ อนุจิณฺณํ ความว่า อันฤาษี ทั้งหลาย กล่าวคือพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระอรหันตขีณาสพอบรมเนืองๆ คือส้องเสพเสมอ. บทว่า อาหุตีนํ ปฏิคฺคหํ ความว่า เครื่องบูชาและเครื่องสักการะ ท่านเรียกว่า อาหุนะ เครื่องบูชา. อธิบาย ว่า การต้อนรับ เช่นเดียวกับเจ้าของบ้านฉะนั้น.

บทว่า ถูปํ กตฺวาน เวฬุนา ความว่า กระทำเจดีย์ ด้วยชิ้นไม้ไผ่. บทว่า นานาปุปฺผํ สโมกิรึ ความว่า เราเกลี่ยลง คือบูชาด้วยดอกไม้ เป็นอันมาก มีดอกจำปาเป็นต้น. บทว่า สมฺมุขา วิย สมฺพุทฺธํ ความว่า เราได้ไหว้ คือกระทำการนอบน้อม ซึ่งพระเจดีย์อันสร้างขึ้นคือให้เกิดขึ้น เสมือนเฉพาะพระพักตร์ของพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ยังทรงพระชนม์อยู่ โดย พิเศษยิ่ง. คำที่เหลือมีอรรถรู้ได้ง่ายทั้งนั้นแล.

จบอรรถกถาสกจิตตนิยเถรปทาน