พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

ภิสทายกเถราปทานที่ ๕ (๖๕) ว่าด้วยผลแห่งการถวายเหง้ามันและรากบัว

 
บ้านธัมมะ
วันที่  27 พ.ย. 2564
หมายเลข  41055
อ่าน  361

[เล่มที่ 71] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 254

เถราปทาน

สกจิตตนิยวรรคที่ ๗

ภิสทายกเถราปทานที่ ๕ (๖๕)

ว่าด้วยผลแห่งการถวายเหง้ามันและรากบัว


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 71]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 254

ภิสทายกเถราปทานที่ ๕ (๖๕)

ว่าด้วยผลแห่งการถวายเหง้ามันและรากบัว

[๖๗] พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามชื่อว่าเวสสภู เป็นองค์ที่ ๓ แห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นฤาษีทั้งหลาย พระองค์ผู้เป็น อุดมบุรุษ เสด็จเข้าป่าชัฏแล้วประทับอยู่.

เราได้ถือเอาเหง้ามัน และรากบัวไปในสำนักพระพุทธเจ้า และเรามีจิตเลื่อมใส ได้ถวายเหง้ามันและรากบัวนั้น แด่ พระพุทธเจ้าด้วยมือทั้งสองของตน.

ก็ทานที่เราถวายนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า เวสสภู ผู้มีพระปัญญาอันประเสริฐ ทรงลูบคลำด้วยพระหัตถ์ เราไม่รู้สึกว่าจะมีความสุขอื่นเสมอด้วยสุขนั้น ที่ไหนจะมี ความสุขยิ่งไปกว่านั้น.

อัตภาพที่สุดย่อมเป็นไปแก่เรา เราถอนภพขึ้นได้หมดแล้ว ตัดเครื่องผูกขาดดังช้างทำลายปลอกแล้ว ไม่มีอาสวะอยู่.

ในกัปที่ ๓๑ แต่กัปนี้ เราได้ทำกรรมใดในกาลนั้น ด้วย กรรมนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการถวายเหง้ามัน และรากบัว.

ในกัปที่ ๑๓ แต่กัปนี้ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิรวม ๑๖ ครั้ง เป็นใหญ่กว่ามนุษย์ มีพละมาก.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 255

คุณวิเศษเหล่านี้ คือปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

ทราบว่า ท่านพระภิสทายกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านั้น ด้วยประการ ฉะนี้แล.

จบภิสทายกเถราปทาน

๖๕. อรรถกถาภิสทายกเถราปทาน

อปทานของท่านพระภิสทายกเถระ มีคำเริ่มต้นว่า เวสฺสภู นาม นาเมน ดังนี้.

พระเถระแม้นี้ ได้บำเพ็ญบุญสมภารไว้ในพระพุทธเจ้าองค์ก่อนๆ สั่งสมบุญทั้งหลายอันเป็นอุปนิสัยแก่พระนิพพานในภพนั้นๆ ในกาลแห่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าเวสสภู บังเกิดในกำเนิดช้างในป่าหิมวันต์ อยู่อาศัย ณ ที่นั้น. สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าเวสสภูทรง ประสงค์วิเวก จึงเสด็จไปหิมวันตประเทศ.ช้างเชือกประเสริฐนั้น เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นแล้ว มีใจเลื่อมใส ถือเหง้ามันถวายพระผู้มีพระภาคเจ้า ให้เสวย. ด้วยบุญกรรมนั้น ท่านจุติจากกำเนิดช้างนั้นแล้ว เกิดใน เทวโลกเสวยกามาวจรสมบัติ ๖ ชั้นในเทวโลกนั้น แล้วมาสู่ความเป็นมนุษย์ เสวยสมบัติมีจักรพรรดิสมบัติเป็นต้น ในพุทธุปบาทกาลนี้ บังเกิดใน ตระกูลหนึ่งซึ่งมีโภคะมาก เลื่อมใสในพระศาสดา ด้วยกำลังแห่งวาสนา ในกาลก่อนบวชแล้วไม่นานนักก็ได้เป็นพระอรหันต์. ท่านได้ปรากฏ นามตามกุศลที่คนบำเพ็ญไว้ในกาลก่อนว่า ภิสทายกเถระ ดังนี้.

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 256

ท่านระลึกถึงบุพกรรมของตน เมื่อจะประกาศปุพพจริตาปทาน จึง กล่าวคำมีอาทิว่า เวสฺสภู นาม นาเมน ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เวสฺสภู ความว่า ชื่อว่า เวสสภู เพราะล่วงรู้ คือก้าวล่วงวิชชาของแพศย์, อีกอย่างหนึ่งชื่อว่า เวสสภู เพราะก้าวล่วงคือครอบงำ แพศย์คือวาณิชกรรม กิเลสมีกามราคะเป็นต้น กรรมมีกุศลกรรมเป็นต้น หรือวัตถุกาม และกิเลสกาม พระผู้มีพระภาคเจ้าโดยพระนามว่าเวสสภู. บทว่า อิสีนํ ตติโย อหุ ความว่า ชื่อว่า อิสิ เพราะแสวงหาคือหากุศลธรรมทั้งหลาย. อธิบายว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อเป็นฤษี หรือเป็นพระผู้มีพระภาคเจ้า ก็ทรงมีพระนาม ๓ พระนาม เพราะเรียกกันว่า วิปสฺสี สิขี เวสฺสภู. บทว่า กานนํ วนโมคฺคยฺหา ความว่า เข้าไปยึดเอาป่า กล่าวคือป่าใหญ่.

บทว่า ภิสมุฬาลํ คณฺหิตวา ความว่า ชื่อว่า ภิสํ เพราะเบียดเบียน คือทำความหิวของสัตว์ ๒ เท้าและสัตว์ ๔ เท้าให้พินาศ. ภิส นั้นคืออะไร? ได้แก่เหง้ามัน, เหง้ามันและรากบัว ชื่อว่า ภิสมุฬาละ ถือเอาเหง้ามัน และรากบัวนั้น.

บทว่า กเรน จ ปรามฏฺโ ความว่า ทานที่เราให้แล้วนั้น อันพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าเวสสภู ผู้มีปัญญาสูงสุดลูบคลำแล้วด้วยพระกร คือด้วยผ่าพระหัตถ์ ได้เป็นอันพระองค์ทรงสัมผัสแล้ว. บทว่า สุขาหํ นาภิชานามิ สมํ เตน กุโตตฺตรึ ความว่า เราไม่รู้สึกความสุขด้วย ความสุขนั้น. อธิบายว่า สุขอื่นที่ยิ่งกว่าสุขนั้นจะมีแต่ที่ไหน. คำที่เหลือ มีอรรถที่พึงรู้ได้ง่ายตามกระแสแห่งนัยแล.

จบอรรถกถาภิสทายกเถราปทาน