พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

ปุปผจังโกฏิยเถราปทานที่ ๑๐ (๗๐) ว่าด้วยผลแห่งการถวายผอบดอกอังกาบ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  27 พ.ย. 2564
หมายเลข  41060
อ่าน  334

[เล่มที่ 71] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 269

เถราปทาน

สกจิตตนิยวรรคที่ ๗

ปุปผจังโกฏิยเถราปทานที่ ๑๐ (๗๐)

ว่าด้วยผลแห่งการถวายผอบดอกอังกาบ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 71]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 269

ปุปผจังโกฏิยเถราปทานที่ ๑๐ (๗๐)

ว่าด้วยผลแห่งการถวายผอบดอกอังกาบ

[๗๒] ข้าพระองค์เอาดอกอังกาบอันบานดี ใส่ในผอบจนเต็ม แล้ว ได้บูชาพระพุทธเจ้าพระนามว่าสิขีผู้ประเสริฐสุด ผู้ไม่ ทรงครั่นคร้ามดังสีหะ เสมือนพญาครุฑ งามประเสริฐ ดุจพญาเสือโคร่ง มีพระชาติดีเหมือนไกรสรราชสีห์ เป็น สรณะของโลกสาม ผู้ไม่หวั่นไหว ไม่ทรงแพ้อะไรๆ ผู้เลิศ กว่าบรรดาผู้ฆ่ากิเลส ประทับนั่ง แวดล้อมด้วยภิกษุสงฆ์ พร้อมทั้งผอบใหญ่.

ข้าแต่พระองค์ผู้จอมสัตว์สองเท้า ผู้นราสภ ด้วยจิตอัน เลื่อมใสนั้น ข้าพระองค์เป็นผู้ละความชนะและความแพ้แล้ว บรรลุถึงฐานะอันไม่หวั่นไหว.

ในกัปที่ ๓๑ แต่กัปนี้ ข้าพระองค์ได้ทำกรรมใด ในกาล นั้น ด้วยกรรมนั้น ข้าพระองค์ไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผล แห่งพุทธบูชา.

ในกัปที่ ๓๐ ถ้วนแต่กัปนี้ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๕ ครั้ง สมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ มีพระนานว่าเทวภูติเหมือนกัน.

คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ อภิญญา ๖ เราได้ทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 270

ทราบว่า ท่านพระปุปผจังโกฏิยเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้แล.

จบปุปผจังโกฏิยเถรปทาน

๗๐. อรรถกถาปุปผจังโกฏิยเถราปทาน

อปทานของท่านพระปุปผจังโกฏิยเถระ มีคำเริ่มต้นว่า อภีตรูปํ สีหํว ดังนี้.

พระเถระแม้นี้ ได้บำเพ็ญบุญสมภารไว้ในพระพุทธเจ้าองค์ก่อนๆ สั่งสมบุญทั้งหลายอันเป็นอุปนิสัยแก่พระนิพพานในภพนั้นๆ ในกาลแห่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า สิขี บังเกิดในเรือนมีตระกูลแห่งหนึ่ง บรรลุนิติภาวะแล้ว สมบูรณ์ด้วยทรัพย์สมบัติเป็นอันมาก เลื่อมใสในพระศาสดา แสดงอาการที่น่าเลื่อมใส เก็บดอกอังกาบมีสีดังทองคำบรรจุ ผอบให้เต็ม บูชาพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ตั้งความปรารถนาว่า ข้าแต่ พระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วยวิบากเป็นเครื่องไหลออกนี้ ข้าพเจ้าพึงเป็นผู้มี วรรณะดังทองคำ เป็นผู้ควรบูชาในที่ๆ คนเกิดแล้วๆ พึงบรรลุพระนิพพาน.

ด้วยบุพกรรมนั้น ท่านบังเกิดในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็น ผู้อันเขาบูชาแล้วในที่ทุกสถาน เป็นผู้มีวรรณะงามดังทองคำ. ครั้นต่อมา ในพุทธุปบาทกาลนี้ ท่านบังเกิดในเรือนมีตระกูลแห่งหนึ่ง สมบูรณ์ ด้วยทรัพย์สมบัติ เจริญวัยแล้วเลื่อมใสในพระศาสดา บวชแล้ว. เจริญ วิปัสสนาไม่นานนักก็ได้เป็นพระอรหันต์.

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 271

ท่านบรรลุพระอรหัตตผลแล้ว ระลึกถึงบุพกรรมของตนแล้ว เกิด โสมนัส เมื่อจะประกาศปุพพจริตาปทาน จึงกล่าวคำมีอาทิว่า อภีตรูปํ สีหํว ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สีหํ ความว่า เพราะครอบงำ ท่วมทับสัตว์ทั้งหลาย มีสัตว์ ๒ เท้าและสัตว์ ๔ เท้าเป็นต้น เชื่อมความว่า มีรูปน่าชมเชยคือมีอัตภาพน่าชมเชยยิ่ง ข้าพเจ้าได้บูชาพระผู้มีพระภาคเจ้า นั้น ผู้น่าชมเชยอย่างยิ่ง ผู้ประทับนั่งดุจสีหะฉะนั้น, ซึ่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่า สิขี ผู้ประเสริฐ คือสูงสุดกว่านระทั้งหลาย ผู้เกิด โดยพิเศษยิ่ง ดุจพญาเสือโคร่ง ผู้เป็นที่พึ่งของโลกทั้ง ๓ ดุจไกรสรราชสีห์ วิเศษกว่าราชสีห์ทั้งปวงฉะนั้น. เกิดเป็นอย่างไร? เชื่อม ความว่า ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า สิขี ผู้ไม่มีกิเลสเครื่องยี่ยวน คือปราศจากกิเลส อันขันธมารเป็นต้น ให้แพ้มิได้ประทับนั่งอยู่. บทว่า มารณานคฺคํ ความว่า เป็นผู้เลิศในการยังกิเลสทั้งปวงให้ตาย ให้เหือด แห้งและกำจัดเสีย อธิบายว่า บรรดาพระปัจเจกพุทธเจ้า และพุทธสาวก ทั้งหลายผู้ฆ่ากิเลสทั้งหลายให้ตายแม้มีอยู่ พระองค์ประเสริฐกว่าท่านเหล่า นั้น. เชื่อมความว่า ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ผู้อันภิกษุสงฆ์ แวดล้อมแล้ว คือผู้อันภิกษุสงฆ์แวดล้อมประทับนั่งอยู่แล้ว.

บทว่า จงฺโกฏเก เปตฺวาน ความว่า เราได้โปรยดอกอังกาบ อันสูงสุดบรรจุในขวดให้เต็ม บูชาพระพุทธเจ้าพระนามว่า สิขี ผู้ประเสริฐ.

จบอรรถกถาปุปผจังโกฏิยเถราปทาน

จบอรรถกถาสกจิตตนิยวรรคที่ ๗

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 272

รวมอปทานที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. สกจิตตนิยเถราปทาน ๒. อาโปปุปผิยเถราปทาน ๓. ปัจจาคมนิยเถราปทาน ๔. ปรัปปสาทกเถราปทาน ๕. ภิสทายกเถราปทาน ๖. สุจินติตเถราปทาน ๗. วัตถทายกเถราปทาน ๘. อัมพทายกเถราปทาน ๙. สุมนเถราปทาน ๑๐. ปุปผจังโกฏิยเถราปทาน

คาถาอันแสดงอรรถที่ท่านกล่าวแล้วนับได้ ๗๑ คาถา ฉะนี้แล.

จบสกจิตตนิยวรรคที่ ๗