พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

ติณสันถารทายกเถราปทานที่ ๖ (๗๖) ว่าด้วยผลแห่งการเกี่ยวหญ้ามาลาดถวาย

 
บ้านธัมมะ
วันที่  27 พ.ย. 2564
หมายเลข  41066
อ่าน  310

[เล่มที่ 71] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 285

เถราปทาน

นาคสมาลวรรคที่ ๘

ติณสันถารทายกเถราปทานที่ ๖ (๗๖)

ว่าด้วยผลแห่งการเกี่ยวหญ้ามาลาดถวาย


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 71]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 285

ติณสันถารทายกเถราปทานที่ ๖ (๗๖)

ว่าด้วยผลแห่งการเกี่ยวหญ้ามาลาดถวาย

[๗๘] ในที่ไม่ไกลภูเขาหิมวันต์ มีสระใหญ่อยู่สระหนึ่ง ดาดาษ ไปด้วยดอกปทุม เป็นที่อาศัยของนกต่างๆ เราอาบและดื่ม น่าในสระนั้นแล้ว อยู่ในที่ไม่ไกล ได้เห็นพระพุทธเจ้าผู้เลิศ กว่าสมณะเสด็จไปในอากาศ.

พระศาสดาผู้ยอดเยี่ยมในโลก ทรงทราบความดำริของเรา เสด็จลงจากอากาศแล้ว ประทับยืนอยู่ที่พื้นดิน ในขณะนั้น เราได้เกี่ยวหญ้ามาลาดถวายเป็นที่ประทับนั่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นใหญ่ในโลก ๓ เป็นนายก ประทับนั่งบนนั้น.

เรายังจิตของตนให้เลื่อมใสแล้ว ได้ถวายบังคมพระองค์ ผู้นายกของโลก นั่งกระโหย่งเพ่งดูพระมหามุนีไม่กะพริบตา ด้วยจิตอันเลื่อมใสนั่น เราเข้าถึงภพชั้นนิมานรดี เราไม่รู้จัก ทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการถวายเครื่องลาดหญ้า.

ในกัปที่ ๒ แต่กัปนี้ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิจอมกษัตริย์ พระนามว่ามิตตสัมมตะ ทรงสมบูรณด้วยแก้ว ๗ ประการ มี พละมาก.

คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า เราได้ทำเสร็จ ดังนี้.

ทราบว่า ท่านพระติณสันถารทายกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย ประการฉะนี้แล.

จบติณสันถารทายกเถราปทาน

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 286

๗๖. อรรถกถาติณสันถรทายกเถรปทาน

อปทานของท่านพระติณสันถระ มีคำเริ่มต้นว่า หิมวนฺตสฺสวิทูเร ดังนี้.

พระเถระแม้นี้ ได้บำเพ็ญกุศลสมภารในพระพุทธเจ้าองค์ก่อนๆ สั่งสมบุญทั้งหลายอนเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานในภพนั้นๆ ในกาลแห่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า ติสสะ ท่านบังเกิดในเรือนมีตระกูลแห่ง หนึ่ง ละการครองเรือน เพราะท่านเกิดก่อนแต่พุทธุปบาทกาล บวช เป็นดาบสอาศัยสระแห่งหนึ่ง ไม่ไกลป่าหิมพานต์อยู่. สมัยนั้น พระผู้มี พระภาคเจ้าพระนามว่า ติสสะ เสด็จไปทางอากาศเพื่ออนุเคราะห์ท่าน. ครั้งนั้นแล ดาบสนั้น เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จลงจากอากาศประทับยืน อยู่นั้น มีใจเลื่อมใส เกี่ยวหญ้าทำเป็นสันถัตหญ้า ให้พระองค์ประทับนั่ง ถวายบังคมด้วยเบญจางคประดิษฐ์ โดยการนับ ถือและการเอื้อเฟื้อเป็น อันมาก โค้งกายแล้วหลีกไป. ท่านดำรงอยู่จนตลอดอายุ จุติจากอัตภาพ นั่นแล้ว ท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เสวยสมบัติมีอย่าง มิใช่น้อย ในพุทธุปบาทกาลนี้ บังเกิดในเรือนมีตระกูลแห่งหนึ่ง เจริญ วัยแล้ว เลื่อมใสในพระศาสดา บวชแล้วไม่นานนักก็ได้เป็นพระอรหันต์.

ครั้นภายหลัง ท่านระลึกถึงบุพกรรมของตน เกิดโสมนัส เมื่อจะ ประกาศปุพพจริตาปทาน จึงกล่าวคำมีอาทิว่า หิมวนฺตสฺสาวิทูเร ดังนี้. คำนั้นมีอรรถดังกล่าวแล้วในหนหลังนั้นแล. ก็ในบทว่า มหาชาตสฺสโร นี้ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ ชื่อว่า สระ เพราะเป็นที่เที่ยวไปแห่งสัตว์๒ เท้า และสัตว์ ๘ เท้า เป็นต้น ผู้ต้องการด้วยน้ำดื่ม. อีกอย่างหนึ่งชื่อว่า สระ


๑. บาลีว่า ติณสันถารทายกเถราปทาน.

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 287

เพราะเป็นที่ไหลมาแห่งแม่น้ำและลำธารเป็นต้น. สระนั้นใหญ่ด้วย เพราะ เกิดเองด้วย เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า สระใหญ่. พึงเห็นว่าท่านกล่าว มหาชาตสระ เพราะไม่ปรากฏชื่อเหมือนสระอโนดาต และสระชื่อว่า ฉัททันตะเป็นต้น. บทว่า สปตฺเตหิ สญฺฉนฺโน ความว่า ในดอกแต่ ละดอก มีกลีบ ๑๐๐ กลีบ ด้วย สามารถดอกละร้อยกลีบ. ดาดาษคือ เป็นรกชัฏไปด้วยดอกปทุมขาว ๑๐๐ กลีบ. บทว่า นานาสกุณมาลโย ความว่า สัตว์หลายชนิด เช่น หงส์ ไก่ นกเขา และงูน้ำ เป็นต้น แต่ละตัวย่อมร้องคือทำเสียง เพราะฉะนั้น สระนั้นจึงเป็นที่อยู่ คือเป็น ที่รองรับของนกทั้งหลาย อันได้นามว่า สกุณะ ดังนี้. คำที่เหลือในบท ทั้งปวงมีอรรถตื้นทั้งนั้นแล.

จบอรรถกถาติณสันถรทายกเถราปทาน