พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

สูจิทายกเถราปทานที่ ๗ (๗๗) ว่าด้วยผลแห่งการถวายเข็ม

 
บ้านธัมมะ
วันที่  27 พ.ย. 2564
หมายเลข  41067
อ่าน  345

[เล่มที่ 71] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 288

เถราปทาน

นาคสมาลวรรคที่ ๘

สูจิทายกเถราปทานที่ ๗ (๗๗)

ว่าด้วยผลแห่งการถวายเข็ม


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 71]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 288

สูจิทายกเถราปทานที่ ๗ (๗๗)

ว่าด้วยผลแห่งการถวายเข็ม

[๗๙] ในกัปที่สามหมื่นแต่กัปนี้ เราได้ถวายเข็ม ๕ เล่ม แด่ พระพุทธเจ้าผู้เป็นนายกของโลก มีพระนามชื่อว่าสุเมธะ มี พระลักษณะอันประเสริฐ ๓๒ ประการ มีพระฉวีวรรณดัง ทองคำ ผู้เป็นจอมสัตว์ ผู้คงที่ เพื่อต้องการเย็บจีวร.

ด้วยการถวายเข็มนั้นแล ญาณเป็นเครื่องเห็นแจ้ง อรรถ อันละเอียดคมกล้า รวดเร็วและสะดวกเกิดขึ้นแก่เรา.

เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ถอนภพทั้งปวงขึ้นแล้ว เรา ทรงกายครั้งที่สุดอยู่ในศาสนาพระสัมมาสัมพุทธเจ้า.

ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๔ ครั้ง ทรงพระนามว่าทิปทาธิบดี ทรงสมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ มีพละมาก.

คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

ทราบว่า ท่านพระสูจิทายกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ ฉะนี้แล.

จบสูจิทายกเถราปทาน

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 289

๗๗. อรรถกถาสูจิทายกเถราปทาน

อปทานของท่านพระสูจิทายกเถระ มีคำเริ่มต้นว่า ตึสกปฺปสหสฺสมหิ ดังนี้.

พระเถระแม้นี้ ได้บำเพ็ญกุศลสมภารไว้ในพระชินเจ้าผู้ประเสริฐ องค์ก่อนๆ สั่งสมบุญทั้งหลายอันเป็นอุปนิสัยแก่พระนิพพานในภพนั้นๆ ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า สุเมธะ ท่านบังเกิด ในเรือนมี ตระกูลแห่งหนึ่ง เจริญวัยแล้ว ได้ถวายเข็ม ๕ เล่ม เพื่อทำจีวรกรรม แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วย บุญกรรมนั้น ท่านเสวยบุญในเทวดาและ มนุษย์ทั้งหลายเที่ยวไปอยู่ ปรากฏเป็นผู้มีปัญญาเฉียบแหลม ในภพที่ตน เกิดแล้วๆ ในพุทธุปบาทกาลนี้ บังเกิดในเรือนมีตระกูลแห่งหนึ่ง เจริญ วัยแล้ว เลื่อมใสในพระศาสดา บรรพชาบรรลุพระอรหัตในขณะปลง ผมนั้นเอง เพราะท่านมีปัญญาเฉียบแหลม.

ครั้นภายหลัง ท่านพิจารณาเห็นบุญนั้น เกิดโสมนัส เมื่อจะ ประกาศปุพพจริตาปทาน จึงกล่าวคำมีอาทิว่า ตึสกปฺปสหสฺสมฺหิ ดังนี้.

ก็คำอันเป็นลำดับในบทนี้ มีอรรถรู้ได้ง่ายทั้งนั้น. ในบทว่า ปญฺจ สูจี มยา ทินฺนา มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ ชื่อว่า สูจิ เพราะย่อมเย็บ คือทำช่อง คือเจาะ. อธิบายว่า เข็มประมาณ ๕ เล่ม ชื่อว่าเข็ม ๕ เล่ม เราถวายแล้ว. คำทีเหลือมีอรรถรู้ได้ง่ายทั้งนั้น.

จบอรรถกถาสูจิทายกเถราปทาน