พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

ฐิตัญชลิยเถราปทานที่ ๙ (๗๙) ว่าด้วยผลแห่งการประนมกรอัญชลี

 
บ้านธัมมะ
วันที่  27 พ.ย. 2564
หมายเลข  41069
อ่าน  338

[เล่มที่ 71] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 292

เถราปทาน

นาคสมาลวรรคที่ ๘

ฐิตัญชลิยเถราปทานที่ ๙ (๗๙)

ว่าด้วยผลแห่งการประนมกรอัญชลี


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 71]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 292

ฐิตัญชลิยเถราปทานที่ ๙ (๗๙)

ว่าด้วยผลแห่งการประนมกรอัญชลี

[๘๑] เมื่อก่อนเราเป็นพรานเนื้ออยู่ในป่าชัฏ ได้พบพระสัมพุทธเจ้าผู้มีพระลักษณะอันประเสริฐ ๓๒ ประการ ในป่านั้น ณ ที่นั้น เราประนมกรอัญชลีแล้ว เดินบ่ายหน้าไปทางทิศ ปราจีน ขณะเมื่อเรานั่งอยู่บนเครื่องลาดใบไม้ที่เรานำมาในที่ ไม่ไกล.

อสนีบาตตกลงบนกระหม่อมของเราในเวลานั้น ในเวลา ใกล้ตายเราได้ประนมกรอัญชลีอีกครั้งหนึ่ง.

ในกัปที่ ๙๒ แต่กัปนี้ เราได้ทำอัญชลีในกาลนั้น ด้วย กรรมนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการทำอัญชลี.

ในกัปที่ ๕๔ แต่กัปนี้ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิมีพระนาม ว่า มิคเกตุ ทรงสมบูรณ์ด้วยแก้ว ประการ ๗ มีพละมาก.

คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

ทราบว่า ท่านพระฐิตัญชลิยเถระได้กล่าวคาถาเหล่านั้น ด้วยประการ ฉะนี้แล.

จบฐิตัญชลิยเถราปทาน

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 293

๗๙. อรรถกถาฐิติญชลิยเถราปทาน

อปทานของท่านพระฐิตัญชลิยเถระ มีคำเริ่มต้นว่า มิคลุทฺโธ ปุเร อาสึ ดังนี้.

พระเถระแม้นี้ ได้บำเพ็ญกุศลสมภารไว้ในพระพุทธเจ้าองค์ก่อนๆ สั่งสมบุญอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานในภพที่ตนเกิดนั้นๆ ในกาล แห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า ติสสะ บังเกิดในกำเนิดนายพราน เพราะกรรมอย่างหนึ่งที่ตนกระทำไว้ในก่อนตัดรอน จึงสำเร็จการอยู่ป่า. สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า ติสสะ ได้เสด็จไปเพื่ออนุเคราะห์ แก่ท่าน. ท่านเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ผู้รุ่งเรืองด้วยพระลักษณะ ๓๒ ประการ และด้วยพระรัศมีแห่งอนุพยัญชนะ ๘๐ ประการด้านละวา เกิด โสมนัสกระทำการนอบน้อม เสด็จไปประทับนั่งบนเครื่องลาดใบไม้. ขณะนั้นฝนตกฟ้าร้องกระหึ่มผ่าลงมา. แต่นั้นในสมัยใกล้ตาย ทานระลึกถึง พระพุทธเจ้า ได้กระทำอัญชลีอีก. ด้วยบุญกรรมนั้น ท่านจึงห้ามอกุศลวิบาก เพราะเหตุที่ตนกระทำกุศลไว้ในเขตดี จึงบังเกิดในสวรรค์ เสวย สมบัติในชั้นกามาวจรสวรรค์ และเสวยมนุษย์สมบัติในมนุษย์ทั้งหลาย ครั้นภายหลังในพุทธุปบาทกาลนี้ บังเกิดในเรือนมีตระกูล เจริญวัยแล้ว เลื่อมใสในพระศาสดา ด้วยวาสนาที่คนกระทำไว้ในกาลก่อน บวชแล้ว ไม่นานนักก็ได้เป็นพระอรหันต์.

เบื้องหน้าแต่นั้น ท่านระลึกถึงบุพกรรมของตน เกิดโสมนัส เมื่อ จะประกาศปุพพจริตาปทาน จึงกล่าวคำมีอาทิว่า มิคลุทฺโธ ปุเร อาสึ ดังนี้.

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 294

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มิคลุทฺโธ ความว่า ชื่อว่า มิคลุทฺโธ เพราะเข้าถึงการฆ่าเนื้อ. ชื่อว่า มิคา เพราะไป คือแล่นไปโดยเร็วคือด้วย กำลังเร็วราวกับลม. ชื่อว่า มิคทุธะ เพราะในการฆ่าเนื้อเหล่านั้น นาย พรานได้เป็นผู้มีความทารุณ อธิบายว่า เรานั้นได้เป็นพรานในกาลก่อนคือ ในสมัยที่ได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า. บทว่า อรญฺเ กานเน ความว่า ชื่อว่า อรัญญะ เพราะเป็นที่เที่ยวไปของหมู่เนื้อ อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า อรัญญะ เพราะเป็นที่ยินดีโดยทั่วไป คือโดยรอบแห่งสัตบุรุษผู้ถึงธรรม อันเป็นสาระใหญ่ มีพระพุทธเจ้าและพระปัจเจกพุทธเจ้าเป็นต้นผู้ยินดีใน วิเวก อีกอย่างหนึ่ง กาทั้งหลายย่อมบันลือคือกระทำเสียง เพลิดเพลินยินดีใน ด้วยอาการที่น่าเกลียด หรือด้วยอาการที่น่ากลัว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า กานนะ. เชื่อมความว่า นายพรานได้มีในป่าคือกานนะนั้นในกาลก่อน.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อทฺทสํ สมฺพุทฺธํ ความว่า ข้าพเจ้า เห็น คือได้เห็นพระสัมพุทธเจ้าผู้เสด็จเข้าไปในที่นั้นคือป่านั้น. ได้เห็น คือได้มีอยู่เบื้องหน้าไม่ไกล เพราะฉะนั้น จึงยังจักขุวิญญาณให้สำเร็จ เป็นปุเรจาริกเที่ยวไปในเบื้องหน้า พรั่งพร้อมด้วยกายวิญญาณ ตาม กระแสแห่งมโนทวาร. บทว่า ตโต เม อสนีปาโต ความว่า ชื่อว่า อสนี เพราะบันลือกระหึ่มตกไปโดยรอบ. การตกลงแห่งสายฟ้า ชื่อว่า อสนีปาโต ได้แก่ เทวทัณฑ์. คำที่เหลือมีอรรถง่ายทั้งนั้นแล.

จบอรรถกถาฐิตัญชลิยเถราปทาน