พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

ติมิรปุปผิยเถราปทานที่ ๑ (๘๑) ว่าด้วยผลแห่งการโปรยดอกดีหมี

 
บ้านธัมมะ
วันที่  27 พ.ย. 2564
หมายเลข  41071
อ่าน  317

[เล่มที่ 71] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 300

เถราปทาน

ติมิรปุปผิยวรรคที่ ๙

ติมิรปุปผิยเถราปทานที่ ๑ (๘๑)

ว่าด้วยผลแห่งการโปรยดอกดีหมี


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 71]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 300

ติมิรปุปผิยวรรคที่ ๙

ติมิรปุปผิยเถราปทานที่ ๑ (๘๑)

ว่าด้วยผลแห่งการโปรยดอกดีหมี

[๘๓] เรา (เที่ยว) ไปตามกระแสน้ำใกล้ฝั่งแม่น้ำจันทภาคา ได้ เห็นพระสมณะซึ่งประทับนั่งอยู่ ผู้ผ่องใส ไม่ขุ่นมัว เรายังจิต ให้เลื่อมใสในพระสมณะนั้น แล้วได้คิดอย่างนี้ในกาลนั้นว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงข้ามพ้นด้วยพระองค์เองแล้ว จักทรง ยังสรรพสัตว์ให้ข้ามพ้น ทรงทรมานเองแล้ว จักทรงทรมาน สรรพสัตว์

ทรงเบาพระทัยเองแล้ว จักทรงยังสรรพสัตว์ให้เบาใจ ทรงสงบเองแล้ว จังทรงยังสรรพสัตว์ให้สงบ ทรงพ้นเองแล้ว จักทรงยังสรรพสัตว์ให้พ้น ทรงดับเองแล้ว จักทรงยัง สรรพสัตว์ให้ดับ.

ครั้นเราคิดอย่างนี้แล้ว ได้ถือเอาดอกดีหมี นาโปรยลง เบื้องบนพระเศียรแห่งพระพุทธเจ้า ผู้แสวงหาคุณใหญ่ พระนามว่าสิทธัตถะ บูชาในกาลนั้น แล้วประนมอัญชลี ทำ ประทักษิณพระองค์ และถวายบังคมพระบาทพระศาสดาแล้ว กลับไปทางทิศอื่น.

พอเราไปแล้วไม่นาน พญาเนื้อได้เบียดเบียนเรา เรา เดินไปตามริมเหว ได้ตกลงในเหวนั้นนั่นเอง.

ในกัปที่ ๙๔ แต่กัปนี้ เราได้บูชาด้วยดอกไม้ใด ด้วย การบูชานั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 301

ในกัปที่ ๕๖ แต่กัปนี้ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๗ ครั้ง พระนามว่ามหารหะ ทรงสมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ มี พละมาก.

คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

ทราบว่า ท่านพระติมิรปุปผิเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย ประการฉะนี้แล.

จบติมิรปุปผิยเถราปทาน

ติมิรปุปผิยวรรคที่ ๙

๘๑. อรรถกถาติมิรปุปผิยเถราหทาน

อปทานของท่านพระติมิรปุปผิยเถระ มีคำเริ่มต้นว่า จนฺทภาคานทีตีเร ดังนี้.

อะไรเป็นอุปัตติเหตุ? พระเถระนี้ได้บำเพ็ญกุศลสมภารไว้ในพระพุทธเจ้าองค์ก่อนๆ สั่งสมบุญทั้งหลายอันเป็นอุปนิสับแก่พระนิพพานใน ภพนั้นๆ ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า สิทธัตถะ บังเกิด ในเรือนมีตระกูลแห่งหนึ่ง เจริญวัยแล้วอยู่ครองเรือน เห็นโทษในกาม ทั้งหลาย ละการครองเรือน บวชเป็นดาบส อยู่ใกล้แม่น้ำจันทภาคานที. เพราะท่านเป็นผู้ใคร่วิเวก ไปสู่ป่าหิมพานต์ เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่า สิทธัตถะ ประทับอยู่แล้ว ถวายบังคม เลื่อมใสคุณของ

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 302

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ถือเอาดอกดีหมีบูชา. ด้วยบุพกรรมนั้น ท่าน เสวยสมบัติในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ท่องเที่ยวไป ในพุทธุปบาทกาลนี้ บังเกิดในเรือนมีตระกูลแห่งหนึ่ง เจริ้วัยแล้ว เลื่อมใสในพระศาสดา บวชแล้วไม่นานนักก็ได้เป็นพระอรหันต์.

ครั้นภายหลัง ท่านระลึกถึงบุพกรรมของตน เกิดโสมนัส เมื่อจะ ประกาศปุพพจริตาปทาน จึงกล่าวคำมีอาทิว่า จนฺทภาคานทีตีเร ดังนี้. ความแห่งคำนั้น ท่านกล่าวแล้วในหนหลังแล. บทว่า อนุโสตํ วชามหํ ความว่า เราได้ไปอยู่ในที่นั้นๆ ตามกระแสภายใต้แม่น้ำคงคา เพราะ เป็นที่น่ารื่นรมย์ในที่ทุกสถาน เคยเป็นที่อยู่ใกล้แม่น้ำคงคา. บทว่า นิสินฺนํ สมณํ ทิสฺวา ความว่า เราได้เห็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า กล่าว คือพระสมณะ เพราะเป็นผู้สงบบาป คือเพราะเป็นผู้ทำบาปให้เหือดแห้ง.

บทว่า เอวํ จินฺเตสหํ ตทา ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้านี้ พระองค์เองข้ามพันแล้ว จักยังสัตว์ทั้งปวงให้ข้ามพันจากสงสาร คือ พระผู้มีพระภาคเจ้านี้ พระองค์ทรงฝึกพระองค์เองด้วยกายทวารแล้ว ทรง ฝึกสัตว์เหล่าอื่นด้วย.

นี้เป็นอรรถที่น่าโปร่งใจ คือถึงความโปร่งใจ. พระองค์พ้นแล้ว จากความเร่าร้อนคือกิเลส ยังสัตว์ทั้งปวงให้โปร่งใจ คือ ให้ถึงความสงบ. พระองค์ทรงสงบแล้ว คือมีกายจิตสงบแล้ว ย่อมยังกายจิตของสัตว์เหล่า อื่นให้ถึงความสงบ. พระองค์พ้นแล้ว คือพ้นจากสงสาร จักให้สัตว์ เหล่าอื่นพ้นจากสงสาร. พระผู้มีพระภาคเจ้านี้นั้นพระองค์เองดับสนิทแล้ว คือดับจากไฟคือกิเลสทั้งหลาย จักให้สัตว์เหล่าอื่นดับจากไฟคือกิเลส เพราะฉะนั้น ในกาลนั้น เราจึงคิดอย่างนี้.

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 303

บทว่า คเหตฺวา ติมิรปุปฺผํ ความว่า ชื่อว่าดอกดีหมี เพราะทำ ชายป่าทั้งสิ้นให้เป็นดุจอาการมืด ด้วยรัศมีเขียวและดำครอบคลุม เราได้ ถือเอาดอกดีหมีแล้ว ถือขั้วดอกกรรณิการ์ แล้ว โปรยที่เบื้องบน คือเหนือ พระเศียร บนอากาศบูชา. คำที่เหลือมีอรรถตื้นทั้งนั้นแล.

จบอรรถกถาติมิรปุปผิยเถราปทาน