พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

นิปันนัญชลิกเถราปทานที่ ๓ (๘๓) ว่าด้วยผลแห่งการประนมอัญชลีด้วยจิตเลื่อมใส

 
บ้านธัมมะ
วันที่  27 พ.ย. 2564
หมายเลข  41073
อ่าน  387

[เล่มที่ 71] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 307

เถราปทาน

ติมิรปุปผิยวรรคที่ ๙

นิปันนัญชลิกเถราปทานที่ ๓ (๘๓)

ว่าด้วยผลแห่งการประนมอัญชลีด้วยจิตเลื่อมใส


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 71]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 307

นิปันนัญชลิกเถราปทานที่ ๓ (๘๓)

ว่าด้วยผลแห่งการประนมอัญชลีด้วยจิตเลื่อมใส

[๘๕] เราเป็นไข้หนักนั่งอยู่ที่โคนไม้ในป่าชัฏใหญ่ เป็นผู้ควร ได้รับความกรุณาอย่างยิ่ง.

พระศาสดาพระนามว่าติสสะ ทรงอนุเคราะห์เสด็จมาหา เรา เรานั้นนอนอยู่ ได้ประนมอัญชลีเหนือเศียรเกล้า.

เรามีจิตเลื่อมใส มีจิตโสมนัส ถวายบังคมพระสัมพุทธเจ้า ผู้สูงสุดกว่าสรรพสัตว์ แล้วได้ทำกาละ ณ ที่นั้น.

ในกัปที่ ๙๒ แต่กัปนี้ เราถวายบังคมพระพุทธเจ้าผู้อุดม บุรุษ ด้วยกรรมนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการ ถวายบังคม.

ในกัปที่ ๕ แต่กัปนี้ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๕ ครั้ง มีพระนามว่า มหาสิขะ ทรงสมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ. มีพละมาก.

คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

ทราบว่า ท่านพระนิปันนัญชลิกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย ประการฉะนี้แล.

จบนิปันนัญชลิกเถราปทาน

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 308

๘๓. อรรถกถานิปันนัญชลิกเถราปทาน

อปทานของท่านพระนิปันนัญชลิกเถระ มีคำเริมต้นว่า รุกขมูเล นิสินฺโนหํ ดังนี้.

พระเถระแม้นี้ ได้บำเพ็ญกุศลสมภารไว้ในพระพุทธเจ้าองค์ก่อนๆ สั่งสมบุญทั้งหลายอันเป็นอุปนิสัยแก่พระนิพพานในภพนั้นๆ ในกาลแห่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าติสสะ เจริญวัยแล้วบวชบำเพ็ญรุกขมูลิกังคธุดงค์อยู่ในป่า. สมัยนั้นอาพาธกล้าเกิดขึ้น ท่านถูกอาพาธนั้นบีบคั้น เป็นผู้น่าสงสารอย่างยิ่ง. ในกาลนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าได้เสด็จไป ณ ที่นั้น ด้วยมีพระกรุณาแก่ท่าน. ขณะนั้นท่านนอนอยู่นั่นแล ไม่สามารถจะลุกได้ จึงประคองอัญชลีเหนือเศียรแล้ว ได้กระทำการนอบน้อมพระผู้มีพระภาคเจ้า. ท่านจุติจากอัตภาพนั้นแล้วเกิดในภพชั้นดุสิต เสวยสมบัติใน ภพนั้น แล้วเสวยสมบัติในชั้นกามาวจรสวรรค์ ๖ ชั้นด้วยอาการอย่างนี้ ในพุทธุปบาทกาลนี้ บังเกิดในเรือนมีตระกูลแห่งหนึ่ง เจริญวัยแล้ว เลื่อมใสในพระศาสดา บวชแล้วไม่นานนักก็ได้เป็นพระอรหันต์. ด้วย อำนาจบุญกรรมที่ตนทำไว้ในกาลก่อน ท่านจึงปรากฏโดยนามว่า นิปันนัญชลิกถระ ดังนี้.

ครั้นภายหลัง ท่านตรวจดูบุญสมบัติของตน เกิดโสมนัส เมื่อจะ ประกาศปุพพจริตาปทาน จึงกล่าวคำมีอาทิว่า รุกฺขมูเล นิสินฺโนหํ ดังนี้.

ในบทเหล่านั้น มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ ชื่อว่า รุกขะ เพราะงอกคือ ชูขึ้นเบื้องบนๆ อธิบายว่า ที่โคนคือที่ใกล้แห่งควงต้นไม้นั้น. บทว่า

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 309

พฺยาธิโต ปรเมน จ ความว่า ถูกโรคคือพยาธิอย่างแรงกล้าอย่างยิ่ง เบียดเบียน คือเราประกอบด้วยพยาธิ. บทว่า ปรมการุฺปฺปตโตมฺหิ เชื่อมความว่า เป็นผู้ถึงความน่าสงสาร ความเข็ญใจ ความทุกข์ยากอย่างยิ่ง ในป่านั้น.

บทว่า ปญฺเจวาสุํ มหาสิขา ความว่า มวยผมท่านเรียกว่า สิขา เพราะอรรถว่า เป็นเครื่องประดับศีรษะ อธิบายว่า สิขะ เพราะท่านมี มกุฎโชติช่วงด้วยแก้วมณี ท่านเป็นจักรพรรดิ ๕ ครั้ง มีพระนาม อย่างเดียวกันว่า จักรพรรดิ. คำที่เหลือในบททั้งปวงมีอรรถตื้นทั้งนั้น แล.

จบนิปันนัญชลิกเถราปทาน