พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

อโปุปผิยเถราปทานที่ ๔ (๘๔) ว่าด้วยผลการโปรยดอกไม้บูชา

 
บ้านธัมมะ
วันที่  27 พ.ย. 2564
หมายเลข  41074
อ่าน  376

[เล่มที่ 71] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 310

เถราปทาน

ติมิรปุปผิยวรรคที่ ๙

อโปุปผิยเถราปทานที่ ๔ (๘๔)

ว่าด้วยผลการโปรยดอกไม้บูชา


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 71]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 310

อโปุปผิยเถราปทานที่ ๔ (๘๔)

ว่าด้วยผลการโปรยดอกไม้บูชา

[๘๖] ภิกษุชื่ออภิภู เป็นอัครสาวกของพระพุทธเจ้าพระนามว่า สิขี มีอานุภาพมาก บรรลุวิชชา ๓ เข้ามาสู่ภูเขาหิมวันต์

ในกาลนั้น แม้เราก็เป็นฤาษีผู้ชำนาญในอัปปมัญญาและ ฤทธิ์ อยู่ในอาศรม รมณียสถาน ใกล้ภูเขาหิมวันต์ เรา ปรารถนาภูเขาอย่างยิ่ง เปรียบเหมือนนกในอากาศปรารถนา อากาศฉะนั้น เราเก็บดอกไม้ที่เชิงเขาแล้ว มาสู่ภูเขา.

หยิบดอกไม้ ๗ ดอกโปรยลงเบื้องบนพระเศียร เราอัน พระวีรเจ้าแลดูแล้ว เดินบ่ายหน้าไปทางทิศปราจีน.

เรามุ่งไปสู่ที่อยู่ ถ้งอาศรมแล้วเก็บหาบเครื่องบริขาร แล้ว เดินไปตามระหว่างภูเขา.

งูเหลือมเป็นสัตว์ร้ายกาจ มีกำลังมาก รัดเรา เราระลึก ถึงบุพกรรม ได้ทำกาละ ณ ที่นั้น.

ในกัปที่ ๓๑ แต่กัปนี้ เราโปรยดอกไม้ใด ด้วยกรรมนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการบูชาด้วยดอกไม้.

คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

ทราบว่า ท่านพระอโธปุปผิยเถระได้กล่าวคาถาเหล่านั้น ด้วยประการ ฉะนี้แล.

จบอโธปุปผิยเถราปทาน

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 311

๘๔. อรรกถาอโธปุปผิยเถราปทาน

อปทานของท่านพระอโธปุปผิยเถระ มีคำเริ่มต้นว่า อภิภู นาม โส ภิกฺขุ ดังนี้.

พระเถระแม้นี้ ได้บำเพ็ญกุศลสมภารไว้ในพระพุทธเจ้าองค์ก่อนๆ สั่งสมบุญทั่งหลายอันเป็นอุปนิสัยแก่พระนิพพานในภพเป็นอันมาก ในกาล แห่งพระพุทธเจ้าพระนามว่า สิขี บังเกิดในเรือนมีตระกูล เจริญวัยแล้ว อยู่ครองเรือน ครั้นภายหลังท่านเห็นโทษในกามทั้งหลาย ละการอยู่ ครองเรือนนั้นแล้ว บวชเป็นฤาษี ได้อภิญญา ๕ สมาบัติ ๘ และถึง ความเป็นผู้ชำนาญ อาศัยอยู่ในป่าหิมวันต์. พระอัครสาวกชื่อว่า อภิภู ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า สิขี นั้น ยินดียิ่งในวิเวก ได้ไปสู่ ป่าหิมวันต์. ครั้งนั้น เราเห็นพระอัครสาวกเถระนั้นแล้ว ขึ้นสู่ภูเขาที่พระเถระยืนอยู่ ถือเอาดอกไม้ ๗ ดอกสมบูรณ์ด้วยสี มีกลิ่นหอม จากพื้น ภายใต้แห่งภูเขามาบูชา. ครั้งนั้นพระเถระนั้น ได้กระทำอนุโมทนาแก่ท่าน. ฝ่ายดาบสนั้นก็ได้ไปยังอาศรมของตน. ท่านถูกงูเหลือมตัวหนึ่งในที่นั้น รัดเอา ภายหลังท่านมีฌานไม่เสื่อม ถูกอันตรายนั้นนั่นรบกวนกระทำ กาละแล้ว ได้มีพรหมโลกเป็นที่ไปในเบื้องหน้า เสวยพรหมสมบัติ และฉกามาวจรสมบัติ และยังมนุษยสมบัติทั้งหลายให้สิ้นไป ในพุทธุปบาทกาลนี้ บังเกิดในเรือนมีตระกูลแห่งหนึ่ง เจริญวัยแล้ว ฟังธรรม ของพระผู้มีพระภาคเจ้า มีใจเลื่อมใสบวชแล้ว ไม่นานนักก็ได้เป็นพระอรหันต์. ภายหลังท่านปรากฏโดยนามแห่งบุญกรรมที่ตนทำไว้ว่า อโธปุปผิยเถระ ดังนี้.

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 312

วันหนึ่งท่านระลึกถึงบุพกรรมของตน เกิดโสมนัส เมื่อจะประกาศ ปุพพจริตาปทาน จึงกล่าวคำมีอาทิว่า อภิภู นาม โส ภิกฺขุ ดังนี้.

ในบทเหล่านี้ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้. ชื่อว่า อภิภู เพราะครอบงำ คนเหล่าอื่นด้วยศีลและสมาธิ, อีกอย่างหนึ่งชื่อว่า อภิภู เพราะครอบงำ คือท่วมทับมารมีขันธมารเป็นต้น อีกอย่างหนึ่งชื่อว่า อภิภู เพราะครอบงำ คือกำจัดกิเลสที่อยู่ในสันดานของตนและของตนเหล่าอื่น. ชื่อว่า ภิกขุ เพราะมีปกติขอ คือมีการขอเป็นปกติ อีกอย่างหนึ่งชื่อว่า ภิกขุ เพราะ ทรงไว้ซึ่งแผ่นผ้าที่ถูกตัดถูกทำลาย อธิบายว่า ภิกษุผู้เป็นพระอัครสาวกนั้น ชื่อว่า อภิภู. เชื่อมความว่า พระอัครสาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่าสิขี.

บทว่า อชคโร มํ ปิเฬสิ๑ ความว่า งูเหลือมใหญ่เบียดเบียน พระดาบสผู้สมบูรณ์ด้วยศีลเห็นปานนั้น ท่านถูกอันตรายนั้นนั่นแลรบกวน มีฌานไม่เสื่อม ทำกาละแล้ว มีพรหมโลกเป็นที่ไปในเบื้องหน้า. คำที่เหลือ ในบททั้งปวงมีอรรถตื้นทั้งนั้นแล.

จบอรรถกถาอโธปุปผิยเถราปทาน


๑. บาลีว่า อชคโรปิ บีเฬสิ.