พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

รังสิสัญญกเถราปทานที่ ๕ (๘๕) ว่าด้วยผลแห่งการถวายบังคม

 
บ้านธัมมะ
วันที่  27 พ.ย. 2564
หมายเลข  41075
อ่าน  336

[เล่มที่ 71] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 313

เถราปทาน

ติมิรปุปผิยวรรคที่ ๙

รังสิสัญญกเถราปทานที่ ๕ (๘๕)

ว่าด้วยผลแห่งการถวายบังคม


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 71]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 313

รังสิสัญญกเถราปทานที่ ๕ (๘๕)

ว่าด้วยผลแห่งการถวายบังคม

[๘๗] เมื่อก่อน เราสำเร็จการอยู่ที่ภูเขาหิมวันต์ เรานุ่งห่มหนัง สัตว์อยู่ในระหว่างภูเขา เราได้เห็นพระสัมพุทธเจ้า มีพระฉวีวรรณดังทองคำ ดุจพระอาทิตย์แผดแสง เสด็จเข้าป่า งามเหมือนพญารังมีดอกบาน.

จึงยังจิตให้เลื่อมใสในพระรัศมี แล้วนั่งกระโหย่งประนม อัญชลี ถวายบังคมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าวิปัสสี ด้วยเศียรเกล้า.

ในกัปที่ ๙๑ แต่กัปนี้ เราได้ทำกรรมใดในกาลนั้น ด้วย กรรมนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งสัญญาในพระรัศมี.

คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมก ์ ๘ และ อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

ทราบว่า ท่านพระรังสิสัญญกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านั้น ด้วยประการ ฉะนี้แล.

จบรังสิสัญญกเถราปทาน

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 314

๘๕. อรรถกถารังสิสัญญกเถราปทาน

อปทานของท่านพระรังสิสัญญกเถระ มีคำเริ่มต้นว่า ปพฺพเต หิมวนฺตมฺหิ ดังนี้.

พระเถรแม้นี้ ได้บำเพ็ญกุศลสมภารไว้ในพระพุทธเจ้าองค์ก่อนๆ สั่งสมบุญทั้งหลายอันเป็นอุปนิสัยแก่พระนิพพานในภพนั้นๆ ในกาลแห่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า วิปัสสี บังเกิดในเรือนมีตระกูลแห่งหนึ่ง เจริญวัยแล้ว อยู่ครองเรือนเห็นโทษในกามทั้งหลาย ละการครองเรือน บวชเป็นดาบส ทรงหนังเสือเหลือง สำเร็จการอยู่ในหิมวันตบรรพต สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า วิปัสสี เสด็จไปยังหิมวันตบรรพต. ลำดับนั้น ดาบสนั้นเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้เสด็จเข้าหิมวันตบรรพตนั้น เลื่อมใสในพุทธรังสีมีวรรณะ๖ อันซ่านออกจากพระวรกาย แห่งพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ประคองอัญชลี ได้การทำนอบน้อมด้วยองค์ ๕ ด้วยบุญกรรมนั้นนั่นเอง ท่านจุติจากอัตภาพนั้นแล้ว เสวยทิพยสมบัติใน เทพชั้นดุสิตเป็นต้น ครั้นภายหลังเสวยมนุษยสมบัติ ในพุทธุปบาทกาลนี้ บังเกิดในเรือนมีตระกูลแห่งหนึ่ง เจริญวัยแล้ว อยู่ครองเรือน เห็นโทษ ในการอยู่ครองเรือนนั้น ละเรือนบวช ไม่นานนักก็ได้เป็นพระอรหันต์.

ครั้นภายหลัง ท่านระลึกถึงบุพกรรมของตน เกิดโสมนัส เมื่อจะ ประกาศปุพพจริตาปทาน จึงกล่าวคำมีอาทิว่า ปพฺพเต หิมวนฺตมฺหิ ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปพฺพเต ความว่า ชื่อว่า ปัพพตะ เพราะพอกพูนคือเจริญโดยประการ ชื่อว่า หิมวันตะ เพราะภูเขานั้นมี

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 315

หิมะ, ภูเขานั้นด้วย หิมวันต์ด้วย เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า หิมวันตบรรพต เมื่อจะกล่าว หิมวนฺตปพฺพโต ท่านกล่าวเสียว่า ปพฺพเต หิมวนฺตมฺหิ เพื่อสะดวกแก่คำเป็นคาถา. เชื่อมความว่า ในกาลก่อนเรา สำเร็จการอยู่ ณ บรรพต ชื่อว่า หิมวันต์นั้น. คำที่เหลือมีอรรถตื้น ทั้งนั้นแล.

จบรังสิสัญญกเถราปทาน