รังสิสัญญิกเถราปทานที่ ๖ (๘๖) ว่าด้วยผลแห่งการทําจิตใจให้เลื่อมใสในพระพุทธรัศมี
[เล่มที่ 71] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 316
เถราปทาน
ติมิรปุปผิยวรรคที่ ๙
รังสิสัญญิกเถราปทานที่ ๖ (๘๖)
ว่าด้วยผลแห่งการทําจิตใจให้เลื่อมใสในพระพุทธรัศมี
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 71]
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 316
รังสิสัญญิกเถราปทาน
ว่าด้วยผลแห่งการทำจิตใจให้เลื่อมใสในพระพุทธรัศมี
[๘๘] เราทรงผ้าเปลือกไม้กรองอยู่ที่ภูเขาหิมวันต์ ขึ้นสู่ที่จงกรม แล้ว นั่งผินหน้าไปทางทิศปราจีน เราได้เห็นพระสุคตเจ้า พระนามว่าผุสสะ ผู้ยินดีในฌานทุกเมื่อ (เสด็จมา) บนภูเขา จึงประนมอัญชลีแล้ว ยังจิตให้เลื่อมใสในพระรัศมี.
ในกัปที่ ๙๒ แต่กัปนี้ เราได้ทำกรรมใดในกาลนั้น ด้วย กรรมนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งสัญญาในพระรัศมี.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระรังสิสัญญิกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย ประการฉะนี้แล.
จบรังสิสัญญิกเถราปทาน
๘๖. อรรถกถาทุติยรังสิสัญญกเถราปทาน (๑)
อปทานของท่านพระทุติยรังสิสัญญกเถระ มีคำเริ่มต้นว่า ปพฺพเต หิมวนฺตมฺหิ ดังนี้.
พระเถระแม้นี้ ได้บำเพ็ญกุศลสมภารในพระพุทธเจ้าองค์ก่อนๆ สั่งสมบุญทั้งหลาย อันเป็นอุปนิสัยแก่พระนิพพานในภพที่ตนเกิดแล้วๆ
๑. บาลี รังสิสัญญิกเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 317
ในกาลแห่งพระพุทธเจ้าพระนามว่า ผุสสะ บังเกิดในเรือนมีตระกูลแห่ง หนึ่ง เจริญวัยแล้ว อยู่ครองเรือนเห็นโทษในการครองเรือนนั้น ละการ ครองเรือนนั้นบวชเป็นดาบส อยู่ที่หิมวันตบรรพต นุ่งห่มเปลือกปอ อยู่ด้วยความสุขอันเกิดแต่วิเวก. สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า ผุสสะ เสด็จถึงประเทศนั้น เห็นพระพุทธรังสีมีพรรณะ ๖ อันซ่าน ออกจากพระสรีระของพระองค์ ซ่านไปข้างโน้นข้างนี้อยู่ เหมือนแผ่ ซ่านออกแห่งไฟชนวน เลื่อมใสในพระองค์ ประคองอัญชลีถวายบังคม ยังจิตให้เลื่อมใส กระทำกาละด้วยปีติและโสมนัสนั้นๆ เอง บังเกิดใน เทพชั้นดุสิตเป็นต้น เสวยกามาวจร ๖ ชั้น ในภพเหล่านั้น และครั้น ภายหลังเสวยมนุษยสมบัติ ในพุทธุปบาทกาลนี้ บังเกิดในเรือนมีตระกูล แห่งหนึ่ง เจริญวัยแล้ว บวช ด้วยอำนาจวาสนาในกาลก่อน ไม่นานนัก ก็ได้เป็นพระอรหันต์.
ครั้นภายหลัง ท่านระลึกถึงบุพกรรมของตน เกิดโสมนัส เมื่อจะ ประกาศปุพพจริตาปทาน จึงกล่าวคำมีอาทิว่า ปพฺพเต หิมวนตฺมหิ ดังนี้. คำนั้นทั้งหมดมีอรรถตื้นทั้งนั้นแล.
จบทุติยรังสิสัญญกเถราปทาน