พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

ปทุมปุปผิยเถราปทานที่ ๑๐ (๙๐) ว่าด้วยผลแห่งการโยนดอกปทุมขึ้นบูชา

 
บ้านธัมมะ
วันที่  27 พ.ย. 2564
หมายเลข  41080
อ่าน  329

[เล่มที่ 71] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 325

เถราปทาน

ติมิรปุปผิยวรรคที่ ๙

ปทุมปุปผิยเถราปทานที่ ๑๐ (๙๐)

ว่าด้วยผลแห่งการโยนดอกปทุมขึ้นบูชา


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 71]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 325

ปทุมปุปผิยเถราปทานที่ ๑๐ (๙๐)

ว่าด้วยผลแห่งการโยนดอกปทุมขึ้นบูชา

[๙๒] เราเข้าไปยังป่าบัว บริโภคเหง้าบัวอยู่ ได้เห็นพระสัมพุทธเจ้าพระนามว่าผุสสะ มีพระลักษณะอันประเสริฐ ๓๒ ประการ.

เราจับดอกปทุมโยนขึ้นไปในอากาศ เราระลึกถึงกรรมอัน ลามกแล้ว ออกบวชเป็นบรรพชิต.

ครั้นบวชแล้ว มีกายและใจอันสำรวมแล้ว ละวจีทุจริต ชำระอาชีพให้บริสุทธิ์.

ในกัปที่ ๙๒ แต่กัปนี้ เราบูชา (พระพุทธเจ้าด้วย) ดอกไม้ ใด ด้วยกรรมนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา.

ได้เป็นพระเจ้าแผ่นดิน (จักรพรรดิ) ๑๘ ครั้ง ทรงพระนาม เหมือนกันว่า ปทุมภาสะ ในกัปที่ ๑๘ ได้เป็นพระเจ้าแผ่นดิน ๔๘ ครั้ง.

คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

ทราบว่า ท่านพระปทุมปุปผิยเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย ประการฉะนี้แล. จบปทุมปุปผิยเถราปทาน

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 326

๙๐. อรรถกถาปทุมปุปผิยเถราปทาน

อปทานของท่านพระปทุมปุปผิยเถระ มีคำเริ่มต้นว่า โปกฺบรวนํ ปวิฏฺโ ดังนี้.

พระเถระแม้นี้ ก็ได้บำเพ็ญกุศลสมภารในพระพุทธเจ้าองค์ก่อนๆ สั่งสมบุญทั้งหลายอันเป็นอุปนิสัยแก่พระนิพพานในภพนั้นๆ. ในกาลแห่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า ผุสสะ บังเกิดในเรือนมีตระกูลแห่งหนึ่ง เจริญวัยแล้ว เข้าไปสู่สระโบกขรณีแห่งหนึ่งอันสมบูรณ์ด้วยดอกปทุม กัด กินเหง้าบัว เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าผุสสะเสด็จไป ณ ที่ไม่ไกล แห่งสระโบกขรณี มีใจเลื่อมใส เก็บดอกปทุมจากสระขว้างไปบนอากาศ บูชาพระผู้มีพระภาคเจ้า. ได้กระทำดอกไม้เหล่านั้นให้เป็นเพดานในอากาศ. ท่านมีใจเสื่อมใสโดยประมาณยิ่ง บวชแล้ว มีวัตรปฏิบัติเป็นสาระ บำเพ็ญสมณธรรม จุติจากอัตภาพนั้นแล้ว เป็นเหมือนกระทำมละใน ภพชั้นดุสิต เกิดในที่นั้น และเสวยกามาวจร ๖ ชั้น ตามลำดับ ใน พุทธุปบาทกาลนี้ บังเกิดในเรือนมีตระกูลแห่งหนึ่ง เจริญวัยแล้ว เกิด ศรัทธา บวชแล้วไม่นานนักก็ได้เป็นพระอรหันต์.

ครั้นภายหลังท่านระลึกถึงบุพกรรมของตน เกิดโสมนัส เมื่อจะ ประกาศปุพพจริตาปทาน จึงกล่าวคำมีอาทิว่า โปกฺขรวนํ ปวิฏฺโ ดังนี้.

ในบทเหล่านั้น มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้:- ชื่อว่า โปกขระ เพราะ กล้าแข็งกว่า ก้าน ใบ ของไม้อ้อโดยประการ ชื่อว่า โปกขรวนะ เพราะเป็นที่ประชุม เพราะรถว่า ตั้งขึ้นแห่งใบบัว. อธิบายว่า ข้าพเจ้า

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 327

ได้เข้าไปสู่ท่ามกลาง อันประดับด้วยกอและกองแห่งปทุม. คำที่เหลือใน บททั้งปวงมีอรรถตื้นทั้งนั้นแล.

จบอรรถกถาปทุมปุปผิยเถราปทาน

จบอรรถกถาติมิรปุปผิยวรรคที่ ๙

รวมอปทานที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ติมิรปุปผิยเถราปทาน ๒. คตสัญญกเถราปทาน ๓. นิปันนัญชลิกเถราปทาน ๔. อโธปุปผิยเถราปทาน ๕. รังสิสัญญกเถราปทาน ๖. รังสิสัญญิกเถราปทาน ๗. ผลทายกเถราปทาน ๘. สัททสัญญกเถราปทาน ๙. โพธิสิญจกเถราปทาน ๑๐. ปทุมปุปผิยเถราปทาน.

ในวรรคนี้ท่านประกาศคาถาไว้ ๕๖ คาถา.

จบติมิรปุปผิยวรรคที่ ๙