พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

สุปีฐิยเถราปทานที่ ๒ (๙๒) ว่าด้วยผลแห่งการถวายตั่ง

 
บ้านธัมมะ
วันที่  27 พ.ย. 2564
หมายเลข  41082
อ่าน  320

[เล่มที่ 71] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 332

เถราปทาน

สุธาวรรคที่ ๑๐

สุปีฐิยเถราปทานที่ ๒ (๙๒)

ว่าด้วยผลแห่งการถวายตั่ง


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 71]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 332

สุปีฐิยเถราปทานที่ ๒ (๙๒)

ว่าด้วยผลแห่งการถวายตั้ง

[๙๔] เรายินดีมีจิตโสมนัส ได้ถวายตั่งอันสวยงามแด่พระพุทธเจ้าพระนามว่าติสสะ ผู้เป็นนาถะของโลก เป็นเผ่าพันธุ์ พระอาทิตย์.

ในกัปที่ ๓๘ แต่กัปนี้ เราได้เป็นพระราชาพระนามว่า มหารุจิ โภคสมบัติอันไพบูลย์และที่นอนมิใช่น้อย ได้มี แล้วแก่เรา เรามีใจผ่องใสได้ถวายตั่งแด่พระพุทธเจ้า ย่อม เสวยกรรมของตน ที่ตนได้ทำไว้ดีแล้วในกาลก่อน.

ในกัปที่ ๙๒ แต่กัปนี้ เราได้ถวายตั่งใดในกาลนั้น ด้วย กรรมนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการถวายตั่ง.

ในกัปที่ ๓๘ แต่กัปนี้ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๓ ครั้ง ครั้งที่ ๑ พระนามว่ารุจิ ครั้งที่ ๒ พระนามว่าอุปรุจิ และ ครั้งที่ ๓ พระนามว่ามหารุจิ.

คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้

ทราบว่า ท่านพระสุปีฐิยเถระได้กล่าวคาถาเหล่านั้น ด้วยประการ ฉะนี้แล.

จบสุปีฐิยเถราปทาน

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 333

๙๒. อรรถกถาสุปีฐิยเถราปทาน

อปทานของท่านพระสุปีฐิยเถระ มีคำเริ่มต้นว่า ติสฺสสฺส โลกนาถสฺส ดังนี้.

พระเถระแม้นี้ ได้บำเพ็ญกุศลสมภารไว้ในพระพุทธเจ้าองค์ก่อนๆ สั่งสมบุญเพื่อบรรลุพระนิพพานในอเนกชาติ ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่าติสสะ บังเกิดในเรือนมีตระกูลแห่งหนึ่ง เจริญวัย แล้วเลื่อมใสในพระศาสดา ได้ถวายตั่งอันมีค่าแล้วด้วยไม้บริสุทธิ์สละสลวย เพื่อเป็นที่ประทับนั่งแห่งพระศาสดา. ด้วยบุญกรรมนั้น ท่านเสวยสุข ในสุคติ ท่องเที่ยวไปในภพนั้นๆ ในพุทธุปบาทกาลนี้ บังเกิดในเรือน มีตระกูลแห่งหนึ่ง เจริญวัยแล้วเลื่อมใสในพระศาสดา บวชแล้วไม่นาน นัก ก็ได้เป็นพระอรหันต์.

ท่านบรรลุพระอรหัตตผลแล้ว ระลึกถึงบุพกรรม เกิดโสมนัส เมื่อ จะประกาศปุพพจริตาปทาน จึงกล่าวคำมีอาทิว่า ติสฺสสฺส โลกนาถสฺส ดังนี้. คำทั้งหมดนั้นมีอรรถตื้นทั้งนั้นแล.

จบอรรถกถาสุปีฐิยเถราปทาน