ติปุปผิยเถราปทานที่ ๖ (๙๖) ว่าด้วยผลแห่งการเก็บในแคฝอยทิ้ง
[เล่มที่ 71] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 340
เถราปทาน
สุธาวรรคที่ ๑๐
ติปุปผิยเถราปทานที่ ๖ (๙๖)
ว่าด้วยผลแห่งการเก็บในแคฝอยทิ้ง
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 71]
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 340
ติปุปผิยเถราปทานที่ ๖ (๙๖)
ว่าด้วยผลแห่งการเก็บในแคฝอยทิ้ง
[๙๘] เมื่อก่อนเราเป็นพรานเนื้ออยู่ในชัฏใหญ่ เราเห็นไม้แคฝอยอันเขียวสด อันเป็นโพธิ์ ของพระผู้มีระภาคเจ้า พระนามว่าวิปัสสี จึงบูชาด้วยดอกไม้ ๓ ดอก.
เวลานั้น เราเก็บใบแคฝอยที่แห้งๆ ไปทิ้งในภายนอก เรากราบไหว้ไม้แคฝอย เหมือนถวายบังคมพระสัมพุทธเจ้า พระนามว่าวิปัสสี นายกของโลก ผู้บริสุทธิ์ทั้งภายในภายนอก ผู้พ้นวิเศษแล้ว ไม่มีอาสวะ เฉพาะพระพักตร์ แล้วทำกาละ ณ ที่นั้นเอง.
ในกัปที่ ๙๑ แต่กัปนี้ เราได้บูชาไม้โพธิ์ใด ด้วยกรรมนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการบูชาไม้โพธิพฤกษ์ ใน กัปที่ ๓๐ แต่กัปนี้ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๑๓ ครั้ง ทรง พระนามว่าสมันตปาสาทิกะ มีพละมาก.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระติปุปผิยเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ ฉะนี้แล.
จบติปุปผิยเถราปทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 341
๙๖. อรรถกถาติปุปผิยเถราปทาน
อปทานของท่านพระติปุปผิยเถระ มีคำเริ่มต้นว่า มิคลุทฺโธ ปุเร อาสึ ดังนี้.
พระเถระแม้นี้ ได้บำเพ็ญกุศลสมภารในพระพุทธเจ้าองก์ก่อนๆ เพราะอกุศลบางอย่างตัดรอน ท่านจึงเกิดเป็นนายพรานเนื้ออยู่ในตระกูล นายพรานในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า วิปัสสี ในกาลนั้น นายพรานนั้นเห็นต้นโพธิ์ ชื่อว่า ปาฏลิ (ไม้แคฝอย) ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าวิปัสสี มีใบอ่อนพร้อมพรั่ง มีสีเขียวสด มีรัศมีเขียวน่า รื่นรมย์ใจ จึงบูชาด้วยดอกไม้ ๓ ดอก เก็บใบเก่าทิ้งเสีย ไหว้ไม้แคฝอย มหาโพธิ์ ดุจไหว้ในที่เฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคเจ้า. ด้วยบุญกรรม นั้น ท่านจุติจากอัตภาพนั้นแล้ว เกิดในเทวโลก เสวยทิพยสมบัติแล้วๆ เล่าๆ ในเทวโลกนั้น จุติจากเทวโลกนั้นแล้ว เกิดในมนุษย์ เสวย จักรพรรดิสมบัติในมนุษย์นั้น ในพุทธุปบาทกาลนี้ บังเกิดในเรือนมี ตระกูลเจริญวัยแล้ว ฟังพระธรรมเทศนาของพระศาสดา ได้หทัยประกอบ ด้วยโสมนัส ละเรือนออกบวชแล้ว ไม่นานนักก็ได้เป็นพระอรหันต์.
ท่านครั้นบรรลุความสำเร็จอย่างนี้ ระลึกถึงบุพกรรมของตน เกิด โสมนัส เมื่อจะประกาศปุพพจริตาปทาน จึงกล่าวคำมีอาทิว่า มิคลุทฺโธ ปุเร อาสึ ดังนี้.
ในบทเหล่านั้น ชื่อว่า มิคะ เพราะไปคือถึงโดยมรณะ. อีกอย่าง หนึ่ง ชื่อว่า มิคะ เพราะค้นหาไปคือเป็นไป. ชื่อว่า มิคลุทธะ เพราะ อยากได้ มักได้ ติดอยู่ในการฆ่าเนื้อ. เชื่อมความว่า เราได้เป็นพราน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 342
เนื้อในป่าใหญ่ กล่าวคือ หมู่ไม้ ในกาลก่อน คือในสมัยที่เราบำเพ็ญ บุญ. บทว่า ปาฏลึ หริตํ ทิสฺวา ความว่า ชื่อว่า ปาฏลิ ไม้แคฝอย เพราะ. ในต้นไม้นั้นมีพื้นมีสีแดงเป็นประการ. เรียกว่า ปาฏลิ เพราะมีดอกสีแดง. อธิบายว่า เห็นต้นโพธิ์ ชื่อว่า ปาฏลิ มีสีเขียว เพราะมีใบเขียว คือมี สีเขียว. คำที่เหลือในบททั้งปวงมีอรรถตื้นทั้งนั้นแล.
จบอรรถกถาติปุปผิยเถราปทาน