พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

มธุปิณฑิกเถราปทานที่ ๗ (๙๗) ว่าด้วยผลแห่งการถวายน้ําผึ้ง

 
บ้านธัมมะ
วันที่  27 พ.ย. 2564
หมายเลข  41087
อ่าน  427

[เล่มที่ 71] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 343

เถราปทาน

สุธาวรรคที่ ๑๐

มธุปิณฑิกเถราปทานที่ ๗ (๙๗)

ว่าด้วยผลแห่งการถวายน้ำผึ้ง


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 71]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 343

มธุปิณฑิกเถราปทานที่ ๗ (๙๗)

ว่าด้วยผลแห่งการถวายน้ำผึ้ง

[๙๙] ความยินดีเป็นอันมากแก่เรา เพราะได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าสิทธัตถะ ผู้ประเสริฐกว่าบรรดาฤาษี ผู้สมควรรับเครื่องบูชา ผู้ดับแล้ว เป็นมหานาค ผู้องอาจดัง ม้าอาชาไนย ผู้รุ่งโรจน์เหมือนดาวประกายพฤกษ์ อันหมู่ เทวดานมัสการอยู่.

ในป่าชัฏสงัดเสียงไม่อากูล ญาณเกิดขึ้นแล้วในขณะนั้น เราได้ถวายน้ำผึงแด่พระศาสดาผู้เสด็จอออกจากสมาธิ.

เรามีใจผ่องใส ถวายบังคมพระบาทของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าสิทธัตถะด้วยเศียรเกล้า แล้วบ่ายหน้ากลับไป ทางทิศประจิม.

ในกัปที่ ๓๔ แต่กัปนี้ เราได้เป็นพระราชาพระนามว่า สุทัสสนะ ในกาลนั้น น้ำผึ้งออกจากรากไม้ไหลลงในโภชนาหารของเรา ฝนน้ำผึ้งตกลง นี้เป็นผลแห่งบุพกรรม.

ในกัปที่ ๙๔ แต่กัปนี้ เราได้ถวายน้ำผึ้งใด ในกาลนั้น ด้วยกรรมนั้นเราไม่รู้จักทุติเลย นี้เป็นผลแห่งการถวายน้ำผึ้ง.

ในกัปที่ ๓๔ แต่กัปนี้ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๔ ครั้ง มีพระนามว่าสุทัสสนะ ทรงสมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ มี พละมาก.

คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 344

ทราบว่า ท่านพระมธุปิณฑิกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านั้น ด้วยประการ ฉะนี้แล.

จบมธุปิณฑิกเถราปทาน

๙๗. อรรถกถามธุปิณฑิกเถราปทาน

อปทานของท่านพระมธุปิณฑิกเถระ มีคำเริ่มต้นว่า วิวเน กานเน ทิสฺวา ดังนี้.

พระเถระแม้นี้ ได้บำเพ็ญกุศลสมภารในพระพุทธเจ้าองค์ก่อนๆ สั่งสมบุญทั้งหลายอันเป็นอุปนิสัยแก่พระนิพพานในภพนั้นๆ ในกาลแห่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า สิทธัตถะ บังเกิดในกำเนิดนายพราน อาศัยอยู่ในป่าใหญ่. ในกาลนั้น ท่านได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าพระเจ้าพระนามว่า สิทธัตถะ ผู้เพียบพร้อมด้วยความยินดียิ่งในวิเวก ได้ถวายน้ำผึ้งมีรสอร่อย แด่พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ผู้ออกจากสมาธิ. ก็ท่านมีใจเลื่อมใสในพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ถวายบังคมแล้วหลีกไป. ด้วยบุญกรรมนั้น ท่านเสวย สมบัติ ท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ในพุทธุปบาทกาลนี้ บังเกิดในเรือนมีตระกูลแห่งหนึ่ง เจริญวัยแล้ว เลื่อมใสในพระศาสดา บวชแล้ว ไม่นานก็ได้เป็นพระอรหันต์.

ครั้นภายหลังท่านระลึกถึงบุพกรรมของตน เกิดโสมนัส เมื่อจะ ประกาศปุพพจริตาปทาน จึงกล่าวคำมีอาทิว่า วิวเน กานเน ทิสฺวา ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วิวเน ความว่า ป่าที่แผ่ไปโดยพิเศษ ชื่อว่า วิวนะ อธิบายว่า ป่าที่ไปปราศ คือที่ปราศจากเสียง ช้าง ม้า รถ

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 345

และเสียงกลอง และปราศจากวัตถุกามและกิเลสกาม. เชื่อมความว่า ในป่า ใหญ่ กล่าวคือป่าดงดิบ. บทว่า โอสธึว วิโรจนฺตํ ความว่า ชื่อว่า โอสธะ เพราะยังความอยากได้ปรารถนาของผู้ก่อสร้างภพให้สำเร็จ. ชน ทั้งหลายอาศัยเหตุเกิดแห่งความรุ่งเรือง แล้วยกขึ้นให้สูง ย่อมถือเอาด้วย การขึ้นของดวงดาวใด ดาวนั้น ชื่อว่า โอสธิ เมื่อควรจะกล่าวว่า โอสธิตารกา อิว วิโรจนฺติ ย่อมไพโรจน์ดุจดวงดาวประจำรุ่ง แต่ท่านกล่าว เสียว่า โอสธึว วิโรจนฺตํ เพื่อสะดวกแก่การประพันธ์คาถา. คำที่เหลือ ในบททั้งปวงมีอรรถตื้นทั้งนั้นแล.

จบอรรถกถามธุปิณฑิกเถราปทาน