พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

อุปปลหัตถิยเถราปทานที่ ๓ (๑๐๓) ว่าด้วยผลแห่งการถวายดอกอุบลกํามือหนึ่ง

 
บ้านธัมมะ
วันที่  27 พ.ย. 2564
หมายเลข  41093
อ่าน  341

[เล่มที่ 71] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 359

เถราปทาน

ภิกขทายิวรรคที่ ๑๑

อุปปลหัตถิยเถราปทานที่ ๓ (๑๐๓)

ว่าด้วยผลแห่งการถวายดอกอุบลกํามือหนึ่ง


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 71]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 359

อุปปลหัตถิยเถราปทานที่ ๓ (๑๐๓)

ว่าด้วยผลแห่งการถวายดอกอุบลกำมือหนึ่ง

[๑๐๕] ในกาลนั้น เราเป็นช่างดอกไม้อาศัยอยู่ในนครติวรา ได้ เห็นพระพุทธเจ้าผู้ปราศจากธุลี พระนามว่าสิทธัตถะ อัน ชาวโลกบูชา.

มีจิตเลื่อมใสโสมนัส ได้ถวายดอกอุบลกำมือหนึ่ง เรา อุบัติในภพใดๆ เพราะผลของกรรมนั้น.

เราได้เสวยผลอันน่าปรารถนา ที่ตนทำไว้แล้วในปาง ก่อน แวดล้อมด้วยพวกนักมวยชั้นเยี่ยม นี้เป็นผลแห่งสัญญา ของตน.

ในกัปที่ ๙๔ แต่กัปนี้ เราบูชาพระพุทธเจ้าด้วยดอกไม้ใด ด้วยกรรมนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา.

ในกัปใกล้เคียงที่ ๙๔ เว้นกัปปัจจุบัน. ได้เป็นพระราชา ๕๐๐ ครั้ง มีพระนามเหมือนกันว่านัชชุปมะ.

คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

ทราบว่า ท่านพระอุปปลหัตถิยเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย ประการฉะนี้.

จบอุปปลหัตถิยเถราปทาน

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 360

๑๐๓. อรรถกถาอุปปลหัตถิยเถราปทาน

อปทานของท่านพระอุปปลหัตถิยเถระ มีคำเริ่มต้นว่า ติวรายํ นิวาสีหํ ดังนี้.

พระเถระแม้นี้ ได้บำเพ็ญกุศลไว้ในพระชินวรพุทธเจ้าองค์ก่อนๆ สั่งสมบุญทั้งหลายอันเป็นอุปนิสัยแก่พระนิพพานในภพนั้นๆ ในกาลแห่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า สิทธัตถะ บังเกิดขึ้นตระกูลแห่งช่าง ดอกไม้ เจริญวัยแล้ว ขายดอกไม้เป็นอันมาก เลี้ยงชีพด้วยการงานแห่ง ช่างดอกไม้เป็นอยู่. ภายหลังวันหนึ่ง ท่านถือเอาดอกไม้เที่ยวไป เห็น พระผู้มีพระภาคเจ้ากำลังเสด็จเที่ยวไป เหมือนแก้วมณีที่มีค่ามาก บูชาด้วย ดอกอุบลแดง ท่านจุติจากอัตภาพนั้นแล้ว ด้วยบุญกรรมนั้นนั่นเอง เสวย บุญสมบัติในสุคติ ในพุทธุปบาทกาลนี้ บังเกิดในเรือนมีตระกูล เจริญ วัยแล้ว เกิดศรัทธา บวชแล้วไม่นานนักก็ได้เป็นพระอรหันต์.

ครั้นภายหลัง ท่านระลึกถึงบุพกรรมของตน เกิดโสมนัส เมื่อจะ ประกาศปุพพจริตาปทาน จึงกล่าวคำมีอาทิว่า ติวรายํ นิวาสีหํ ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ติวรา ความว่า นครที่สร้างโดยปิดการ สัญจรไปมา รวม ๓ ครั้ง เราอยู่ในติวรานครนั้น คือมีการอยู่เป็นปกติ นั้น หรืออยู่ในเรือน อันเป็นที่อยู่ของตน. บทว่า อโหสึ มาลิโก ตทา ความว่า ในกาลนั้น คือในสมัยเป็นที่บำเพ็ญบุญสมภารเพื่อประโยชน์ แก่พระนิพพาน กระทำการค้าขายเลี้ยงชีพ เหมือนช่างดอกไม้ คือนาย มาลาการ เก็บดอกไม้ฉะนั้น. บทว่า ปุปฺผหตฺถมทาสหํ ความว่า เรา เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า สิทธัตถะ ได้ถวายกำดอกอุบลบูชา. คำที่เหลือในบททั้งปวงมีอรรถง่ายทั้งนั้นแล.

จบอุปปลหาตถิยเถราปทาน