พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

อุทกปูชกเถราปทานที่ ๖ (๑๐๖) ว่าด้วยผลแห่งการถวายน้ํา

 
บ้านธัมมะ
วันที่  27 พ.ย. 2564
หมายเลข  41099
อ่าน  347

[เล่มที่ 71] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 365

เถราปทาน

ภิกขทายิวรรคที่ ๑๑

อุทกปูชกเถราปทานที่ ๖ (๑๐๖)

ว่าด้วยผลแห่งการถวายน้ำ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 71]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 365

อุทกปูชกเถราปทานที่ ๖ (๑๐๖)

ว่าด้วยผลแห่งการถวายน้ำ

[๑๐๘] ข้าพระองค์ ได้เห็นพระสัมพุทธเจ้ามีพระฉวีวรรณดังทอง ผู้รุ่งเรืองดังกองไฟ เหมือนพระอาทิตย์ เป็นที่รองรับเครื่อง บูชาเสด็จไปในอากาศ.

จึงเอามือทั้งสองกอบน้ำแล้วโยนขึ้นไปในอากาศ พระพุทธเจ้ามหาวีระมีพระกรุณาในข้าพระองค์ ทรงรับไว้.

พระศาสดามีพระนามว่าปทุมุตตระ ประทับยืนอยู่ใน อากาศทรงทราบความดำริของข้าพระองค์ จึงได้ตรัสพระคาถา เหล่านี้ว่า

ด้วยการถวายน้ำนี้และด้วยเกิดปีติ เขาจะไม่เข้าถึงทุคติ เลยในแสนกัป ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมสัตว์ เชษฐบุรุษ ของโลกผู้นราสภ ด้วยกรรมนั้น ข้าพระองค์ละความแพ้ และความชนะแล้ว บรรลุถึงฐานะอันไม่หวั่นไหว.

ในกัปที่ ๖,๕๐๐ แต่กัปนี้ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๓ ครั้ง มีพระนามว่าสหัสสราช เป็นจอมชน ปกครองแผ่นดิน มีสมุทรสาคร ๔ เป็นที่สุด.

คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 366

ทราบว่า ท่านพระอุทกปูชกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย ประการฉะนี้แล.

จบอุทกปูชกเถราปทาน

๑๐๖. อรรถกถาอุทกปูชกเถราปทาน

อปทานของท่านพระอุทกปูชกเถระ มีคำเริ่มต้นว่า สุวณฺณวณฺณํ สมฺพุทธํ ดังนี้.

พระเถระแม้นี้ ได้สั่งสมกุศลที่ตนบำเพ็ญในพระพุทธเจ้าองค์ก่อนๆ บำเพ็ญบุญทั้งหลายอันเป็นอุปนิสัยแก่พระนิพพานในภพนั้นๆ ในกาลแห่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่า ปทุมุตตระ บังเกิดในเรือนมีตระกูล แห่งหนึ่ง เจริญวัยแล้ว รู้ถึงกุศลกรรมและอกุศลกรรม เลื่อมใส ในพระรัศมีมีวรรณะ ๖ ที่ซ่านออกของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตระ กอบน้ำบูชาด้วยมือทั้งสอง. ท่านเลื่อมใสยิ่ง บังเกิดในเทพ ชั้นดุสิตเป็นต้น ด้วยโสมนัสนั่นแล เสวยทิพยสมบัติ และภายหลังเสวย มนุษยสมบัติ ในพุทธุปบาทกาลนี้ บังเกิดในเรือนมีตระกูล บรรลุ นิภาวะแล้ว เลื่อมใสในพระศาสดา บวชแล้วไม่นานก็ได้เป็นพระอรหันต์.

ครั้นภายหลัง ท่านระลึกถึงบุญกรรมของตน เมื่อจะประกาศ ปุพพจริตาปทาน จึงได้กล่าวคำมีอาทิว่า สุวณฺณวณฺณํ สมฺพุทิธํ ดังนี้. คำนั้นท่านได้กล่าวไว้แล้วในหนหลังแล. เนยใสท่านเรียกว่า ฆตะ ใน บทว่า ฆตาสนํว ชลิตํ นี้. ที่เคี่ยวกลั่น คือที่รองรับเปรียง เพราะ-

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 367

ฉะนั้น ชื่อว่า ฆตาสนะ ได้แก่ ไฟ. อีกอย่างหนึ่ง ธรรมชาติใดย่อมกิน คือบริโภคสิ่งนั้น เหตุนั้น สิ่งนั้น ชื่อว่า ฆตาสนํ คือ ไฟนั้นเอง อธิบายว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรุ่งเรืองอยู่ดุจกองเพลิง เหมือน เมื่อไฟลุกลามมา เปลวไฟก็รุ่งโรจน์อย่างยิ่งฉะนั้น. บทว่า อาทิตฺตํว หุตาสนํ ความว่า เครื่องสักการบูชา ท่านเรียกว่า หุตะ ที่เป็น ที่รองรับวัตถุที่เขานำมาบูชา คือบูชาสักการะ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า หุตาสนะ เชื่อมความว่า เราได้เห็นพระสัมพุทธเจ้า ผู้มีวรรณะ ดุจวรรณะแห่งทอง รุ่งโรจน์ด้วยมหาปุริสลักษณะ ๓๒ มีมณฑลแห่ง รัศมีด้านละวา เหมือนพระอาทิตย์รุ่งโรจน์อยู่ เสด็จไปอยู่ในกลางหาว อันหาร่องรอยมิได้. คำที่เหลือมีอรรถตื้นทั้งนั้นแล.

จบอรรถกถาอุทกปูชกเถราปทาน