สรณคมนิยเถราปทานที่ ๓ (๑๑๓) ว่าด้วยผลแห่งการถึงศาสดาเป็นสรณะ
[เล่มที่ 71] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 386
เถราปทาน
มหาปริวารวรรคที่ ๑๒
สรณคมนิยเถราปทานที่ ๓ (๑๑๓)
ว่าด้วยผลแห่งการถึงศาสดาเป็นสรณะ
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 71]
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 386
สรณคมนิยเถราปทานที่ ๓ (๑๑๓)
ว่าด้วยผลแห่งการถึงศาสดาเป็นสรณะ
[๑๑๕] สงครามปรากฏแก่ท้าวเทวราชทั้งสอง (พญายักษ์) กอง ทัพประชิดกันเป็นหมู่ๆ เสียงอันดังกึกก้องได้เป็นไป.
พระศาสดาพระนามว่าปทุมุตตระ ทรงรู้แจ้งโลก สมควร รับเครื่องบูชา ประทับยืนอยู่ในอากาศ ทรงยังมหาชนให้เกิด สังเวช.
เทวดาทั้งปวงมีใจยินดีต่างวางเกราะและอาวุธ ถวาย บังคมพระสัมพุทธเจ้า รวมเป็นอันเดียวกันได้ในขณะนั้น.
พระศาสดาผู้ทรงอนุเคราะห์ ทรงรู้แจ้งโลก ทรงทราบ ความดำริของเราแล้ว ทรงเปล่งวาจาสัตบุรุษ ทรงยังมหาชน ให้เย็นใจว่า
ผู้เกิดเป็นมนุษย์มีจิตประทุษร้าย เบียดเบียนสัตว์เพียง ตัวหนึ่ง จะต้องเข้าถึงอบายเพราะจิตประทุษร้ายนั้น.
เปรียบเหมือนช้างในค่ายสงคราม เบียดเบียนสัตว์เป็น อันมาก ท่านทั้งหลายจงดับ (ระงับ) จิตของตน อย่าเดือด ร้อนบ่อยๆ เลย.
แม้พวกเสนาของพญายักษ์ทั้งสอง ได้ประชุมกัน นับถือ พระโลกเชษฐ์ผู้คงที่เป็นอันดี เป็นสรณะ.
ส่วนพระศาสดาผู้มีพระจักษุ ทรงยังหมู่ชนให้ยินยอมแล้ว ทรงเพ่งดูในเบื้องบนจากเทวดาทั้งหลาย บ่ายพระพักตร์ทาง ทิศอุดรเสด็จกลับไป.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 387
เราได้นับถือพระองค์ผู้จอมสัตว์ผู้คงที่เป็นสรณะก่อนใครๆ เราไม่ได้เข้าถึงทุคติเลยตลอดแสนกัป.
ใน ๓ หมื่นกัปแต่กัปนี้ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๑๖ ครั้ง มีพระนามว่ามหาจุนทภิ และพระนามว่ารเถสภะ.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระสรณคมนิยเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย ประการฉะนี้แล.
จบสรณคมนิยเถราปทาน
๑๑๓. อรรถกถาสรณคมนิยเถราปทาน
อปทานของท่านพระสรณคมนิยเถระ มีคำเริ่มต้นว่า อุภินฺนํ เทวราชูนํ ดังนี้.
แม้พระเถระรูปนี้ ก็ได้เคยบำเพ็ญกุศลมาแล้วในพระพุทธเจ้า พระองค์ก่อนๆ ทุกๆ ภพนั้นจะสร้างสมบุญอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานเป็นประจำเสมอ ในเวลาที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า ปทุมุตตระ บังเกิดขึ้น ท่านรูปนี้ได้เกิดเป็นจอมเทพประจำป่าหิมวันต์. สมัยหนึ่ง เมื่อจอมเทพนั้น ตระเตรียมเพื่อจะทำสงครามระหว่างยักษ์กับ จอมเทพฝ่ายอื่น พวกบริวารของยักษ์มากมายประมาณได้ ๒,๐๐๐ ตน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 388
ต่างก็ถือโล่และอาวุธเป็นต้นเข้าประชิดเพื่อจะทำสงครามกัน. ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่าปทุมุตตระ ได้ทรงบังเกิดความกรุณา ในสัตว์เหล่านั้น จึงเสด็จไปยังสถานที่นั้นโดยทางอากาศ แล้วทรงแสดง ธรรมให้แก่หมู่จอมเทพพร้อมด้วยบริวาร ในกาลนั้น หมู่จอมเทพทั้งปวง นั้น ต่างก็พากันทิ้งโล่และอาวุธ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วย ความเคารพนับถือเป็นอย่างมาก แล้วได้ถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ. หมู่ จอมเทพเหล่านั้นได้ถึงสรณะที่ ๑ คือพระพุทธเจ้านี้แล. ด้วยบุญอันนั้น เขาจึงได้ท่องเที่ยวไปในเทวโลกและมนุษยโลกหลายครั้ง ได้เสวยสมบัติ ทั้งสองแล้ว ครั้นในพุทธุปบาทกาลนี้ เขาได้เกิดมาในเรือนที่มีสกุล เจริญวัยแล้ว เลื่อมใสในพระศาสดา บวชแล้วไม่นานนักก็ได้เป็นพระอรหันต์.
ในกาลต่อมา ท่านได้ระลึกถึงกุศลในกาลก่อนได้ เกิดความโสมนัส เมื่อจะประกาศถึงเรื่องราวที่ตนเคยได้ประพฤติมาแล้วในกาลก่อน จึงกล่าว คำเริ่มต้นว่า อุภินฺนํ เทวราชูนํ ดังนี้. ในคำเริ่มต้นนั้นมีอรรถาธิบายว่า จอมยักษ์ทั้งสอง ไม่ปรากฏชื่อและโคตร เหมือนสุจิโลมยักษ์ ชรโลมยักษ์ อาฬวกยักษ์ ท้าวกุมภีร์ และท้าวกุเวรเป็นต้น เมื่อจะแสดงอ้างถึง โดยประการอื่น ท่านจึงกล่าวคำเริ่มต้นว่า อุภินฺนํ เทวราชูนํ ดังนี้.
บทว่า สงฺคามิ สมุปฏฺิโต ความว่า ชื่อว่า สงคราม เพราะ อรรถว่า เป็นสถานที่กลืนกินชั้นดี คือเข้าไปประชิดเพื่อการทะเลาะวิวาท สงครามนั้นมีการตระเตรียม (ล่วงหน้า) เป็นอย่างดี คือตระเตรียมที่จะยึด ในสถานที่แห่งหนึ่ง. บทว่า อโหสิ สมุปพฺยูฬฺโห ความว่า เป็นกอง เข้าไปประชิดใกล้อย่างพร้อมเพรียง.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 389
บทว่า สํเวเชสิ มหาชนํ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่ง ในอากาศแล้วยังหมู่ยักษ์เหล่านั้น ให้เกิดความสลดใจด้วยพระธรรมเทศนา อริยสัจ ๔ ได้แก่ทรงให้ถือเอา คือให้ทราบ ให้ตรัสรู้ ด้วย ทรงชี้แจง ถึงโทษ. คำที่เหลือในที่ทุกแห่งมีเนื้อความง่ายทั้งนั้น.
จบอรรถกถาสรณคมนิยเถราปทาน