พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

เอกาสนิยเถราปทานที่๔ (๑๑๔) ว่าด้วยผลแห่งการเอาดนตรีประโคมบูชาไม้โพธิ์

 
บ้านธัมมะ
วันที่  27 พ.ย. 2564
หมายเลข  41107
อ่าน  321

[เล่มที่ 71] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 390

เถราปทาน

มหาปริวารวรรคที่ ๑๒

เอกาสนิยเถราปทานที่๔ (๑๑๔)

ว่าด้วยผลแห่งการเอาดนตรีประโคมบูชาไม้โพธิ์


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 71]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 390

เอกาสนิยเถราปทานที่ ๔ (๑๑๔)

ว่าด้วยผลแห่งการเอาดนตรีประโคมบูชาไม้โพธิ์

[๑๑๖] ในกาลนั้น เราเป็นท้าวเทวราชมีนามชื่อว่าวรุณะ พร้อม ด้วยยาน พลทหารและพาหนะ บำรุงพระสัมพุทธเจ้า.

เมื่อพระโลกนาถพระนามว่า อัตถทัสสี ผู้สูงสุดกว่าสัตว์ เสด็จนิพพานแล้ว เราได้ถือเอาดนตรีทั้งปวงไปประโคมไม้ โพธิ์อันอุดม.

เราประกอบด้วยการประโคม การฟ้อนรำ และกังสดาล ทุกอย่าง บำรุงไม้โพธิ์พฤกษ์อันอุดมดังบำรุงพระสัมพุทธเจ้า เฉพาะพระพักตร์.

ครั้นบำรุงโพธิ์พฤกษ์อันงอกขึ้นที่ดินดื่มรสด้วยรากนั้นแล้ว นั่งคู้บัลลังก์ แล้วทำกาลกิริยา ณ ที่นั่นเอง.

เราปรารภด้วยกรรมของตน เลื่อมใสในโพธิพฤกษ์อันอุดม ได้อุบัติยังชั้นนิมมานรดีด้วยจิตอันเลื่อมใสนั้น.

นักดนตรี ๖ หมื่น แวดล้อมเราทุกเมื่อ เป็นไปในภพน้อย ใหญ่ ทั้งในมนุษย์และในเทวดา.

ไฟ ๓ กองของเราดับแล้ว ภพทั้งปวงเราถอนขึ้นได้แล้ว เราทรงกายอันมีในที่สุดไว้ ในศาสนาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า.

ในกัปที่ ๕๐๐ แต่กัปนี้ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิจอมกษัตริย์ ๓๔ ครั้ง มีพระนามชื่อว่าสุพาหุ ทรงสมบูรณ์ด้วย แก้ว ๗ ประการ.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 391

คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

ทราบว่า ท่านพระเอกาสนิยเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ ฉะนี้แล.

จบเอกาสนิยเถราปทาน

๑๑๔. อรรถกถาเอกานิยเถราปทาน

อปทานของท่านพระเอกาสนิยเถระ มีคำเริ่มต้นว่า วรุโณ นาม นาเมน ดังนี้.

แม้พระเถระรูปนี้ ก็ได้เคยบำเพ็ญกุศลมาแล้วในพระพุทธเจ้าพระองค์ก่อนๆ ทุกๆ ภพนั้นจะสร้างแต่บุญอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพาน เป็นประจำเสมอ ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า อัตถทัสสี ท่านได้เกิดเป็นจอมเทพชื่อว่า วรุณะ. วรุณเทพนั้นเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้ว มีจิตใจเลื่อมใส จึงพร้อมด้วยบริวาร พากันบำรุงบูชาด้วยของหอม และระเบียบดอกไม้เป็นต้น และด้วยเพลงขับ. ในกาลอื่นต่อจากนั้นมา เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จปรินิพพานแล้ว เขาพร้อมด้วยบริวารได้นำ เครื่องดนตรีทุกชิ้นและผู้แสดงดนตรีมา ทำการแสดงยังที่ต้นมหาโพธิ์ของ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น คล้ายกับแสดงต่อพระพักตร์พระพุทธเจ้า ฉะนั้น. ด้วยบุญนั้นเขาจุติจากเทวโลกชั้นนั้นแล้ว มาบังเกิดในนิมมานรดีเทวโลก. ครั้นเขาได้เสวยสวรรค์สมบัติอย่างนี้แล้ว ต่อมาได้เป็นมนุษย์

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 392

ในหมู่มนุษย์ ก็ได้เสวยจักรพรรดิสมบัติอีก พอมาในพุทธุปบาทกาลนี้ ได้มาเกิดในเรือนที่มีสกุล บรรลุนิติภาวะแล้ว จึงได้บวชในพระศาสนา ของพระศาสดา ต่อกาลไม่นานนักก็ได้บรรลุเป็นพระอรหันต์.

ภายหลังท่านได้ระลึกถึงกรรมของตน รู้ถึงกรรมนั้นตามความเป็น จริงแล้ว เกิดความโสมนัส เมื่อจะประกาศถึงเรื่องราวที่ตนเคยได้ประพฤติ มาแล้วในกาลก่อน จึงกล่าวคำเริ่มต้นว่า วรุโณ นาม นาเมน ดังนี้. ในคำเริ่มต้นนั้น มีการเชื่อมความว่า ในเวลาที่เราได้บูชาพระพุทธเจ้า และต้นโพธิ์เพื่อการตรัสรู้พร้อมนั้น เราได้เป็นจอมเทพนามว่า วรุณะ. พึงทราบอรรถวิเคราะห์ในบทว่า ธรณีรุหปาทปํ ดังนี้ ชื่อว่า ธรณี เพราะรองรับซึ่งต้นไม้ เครือเถา ภูเขาและรัตนะ ๗ ประการเป็นต้นไว้ได้, ชื่อว่า ธรณีรุหะ. เพราะงอกงามตั้งมั่นอยู่บนพื้นแผ่นดินนั้น, ชื่อว่า ปาทโป เพราะดูดน้ำได้จากทางราก, อธิบายว่า ย่อมดูดกินน้ำที่รดแล้วทางราก ได้แก่ย่อมแผ่รสแห่งอาโปไปตามลำต้น กิ่งและก้านของต้นไม้. เชื่อม ความว่า ต้นโพธิ์นั้นดูดกินน้ำทางรากงอกงามตั้งอยู่บนแผ่นดิน. บทว่า สกกมฺมาภิรทฺโธ มีการเชื่อมความว่า ด้วยกุศลกรรมของตน จึงยินดี เลื่อมใส คือเลื่อมใสในต้นโพธิ์อันอุดมแล. คำที่เหลือในที่ทุกแห่งมีเนื้อ ความง่ายทั้งนั้น.

จบอรรถกถาเอกาสนิยเถราปทาน