พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

สุวรรณปุปผิยเถราปทานที่ ๕ (๑๑๕) ว่าด้วยผลแห่งการโปรยดอกไม้ทอง ๖ ดอก

 
บ้านธัมมะ
วันที่  27 พ.ย. 2564
หมายเลข  41108
อ่าน  333

[เล่มที่ 71] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 393

เถราปทาน

มหาปริวารวรรคที่ ๑๒

สุวรรณปุปผิยเถราปทานที่ ๕ (๑๑๕)

ว่าด้วยผลแห่งการโปรยดอกไม้ทอง ๖ ดอก


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 71]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 393

สุวรรณปุปผิยเถราปทานที่ ๕ (๑๑๕)

ว่าด้วยผลแห่งการโปรยดอกไม้ทอง ๖ ดอก

[๑๑๗] พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าวิปัสสี เชษฐบุรุษของโลก ประเสริฐกว่านระ ประทับนั่งแสดงอมตบทแก่หมู่ชนอยู่.

เราฟังธรรมของพระองค์ผู้เป็นจอมสัตว์ ผู้คงที่แล้ว ได้ โปรยดอกไม้ทอง ๔ ดอก บูชาแด่พระพุทธเจ้า.

ดอกไม้ทองนั้น กลายเป็นหลังคาทองบังร่มตลอดทั่วบริษัท ในกาลนั้น รัศมีของพระพุทธเจ้าและรัศมีทองรวมเป็นแสง สว่างอันไพบูลย์.

เรามีจิตเบิกบานดใจ เกิดโสมนัส ประนมกรอัญชลี เกิดปีติ เป็นผู้นำความสุขในปัจจุบันมาให้แก่ชนเหล่านั้น.

เราทูลวิงวอนพระสัมพุทธเจ้า และถวายบังคมพระองค์ ผู้มีวัตรอันงาม ยังความปราโมทย์ให้เกิดแล้ว กลับเข้า สู่ภพของตน.

ครั้นกลับเข้าสู่ภพแล้ว ยังระลึกถึงพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุดอยู่ ด้วยจิตอันเลื่อมใสนั้น เราได้เข้าถึงชั้นดุสิต.

ในกัปที่ ๙๑ แต่กัปนี้ เราบูชาพระพุทธเจ้าด้วยดอกไม้ ทองใด ด้วยกรรมนั้นเราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่ง พุทธบูชา.

ในกัปที่ ๓๔ แต่กัปนี้ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๑๖ ครั้ง ทรงพระนามว่าเนมิสมมต มีพละมาก.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 394

คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ อภิญญา ๖ เราได้ทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

ทราบว่า ท่านพระสุวรรณปุปผิยเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย ประการฉะนี้แล.

จบสุวรรณปุปผิยเถราปทาน

๑๑๕. อรรถกถาสุวรรณปุปผิยเถราปทาน

อปทานของท่านพระสุวรรณปุปผิยเถระ มีคำเริ่มต้นว่า วิปสฺสี นาม ภควา ดังนี้.

แม้พระเถระรูปนี้ ได้เคยบำเพ็ญกุศลมาแล้วในพระพุทธเจ้าพระองค์ ก่อนๆ ทุกๆ ภพนั้นจะสร้างสมแต่บุญอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพาน เป็นประจำเสมอ ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า วิปัสสี ท่านได้เกิดเป็นภุมัฏฐกเทพบุตร ณ สถานที่แห่งหนึ่ง ได้ฟังธรรมของ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นแล้ว มีจิตเลื่อมใสบูชาด้วยดอกไม้ ๔ ดอก ดอกไม้เหล่านั้น ได้กลายเป็นเพดานทองคำปกคลุมบนอากาศ รัศมี แห่งทองคำ กับรัศมีแห่งพระสรีระของพระพุทธเจ้า ได้รวมเป็นอัน เดียวกันแล้ว กลายเป็นแสงสว่างอย่างมหาศาล. เทพบุตรนั้นมีความ เลื่อมใสเป็นยิ่งนัก แม้ไปถึงภพที่อยู่ของตนแล้ว ก็ยังระลึกถึงอยู่เป็นนิตย์ ด้วยบุญกรรมนั้น เทพบุตรนั้นท่องเที่ยวไปในสุคติทั้งหลาย มีสวรรค์

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 395

ชั้นดุสิตเป็นต้นอยู่นั่นแหละ ได้เสวยทิพยสมบัติแล้ว มาในพุทธุปบาทกาลนี้ ได้เกิดในเรือนที่มีสกุล พอได้บรรลุนิติภาวะแล้ว ฟังพระธรรมเทศนาของพระศาสดา ได้บวชถวายชีวิตในพระศาสนา ไม่นานนัก ได้เป็นพระอรหันต์.

ในกาลต่อมา ท่านระลึกถึงบุพกรรมของตนได้ เกิดความโสมนัส เมื่อจะประกาศถึงเรื่องราวที่ตนเคยได้ประพฤติแล้วในกาลก่อน จึงกล่าว คำเป็นต้นว่า วิปสฺสี นาม ภควา ดังนี้. คำเริ่มต้นนั้นได้มีเนื้อความ ตามที่ได้กล่าวไว้แล้วในหนหลังแล.

บทว่า ปาโมชฺชํ ชนยิตฺวาน ความว่า ยังปีติอันมีกำลังให้เกิด ขึ้นแล้ว คือ ให้เกิดความเป็นผู้มีใจเป็นของตน ดุจในประโยคเป็นต้นว่า ความปราโมทย์ ความรื่นเริง ความบันเทิง การยิ้ม การยิ้มแย้ม ความ ปลื้มใจ ความยินดี ความเป็นผู้มีใจเป็นของตน. คำที่เหลือในที่ทุกแห่ง มีเนื้อความง่ายทั้งนั้น.

จบอรรถกถาสุวรรณปุปผิยเถราปทาน