พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

จิตกปูชกเถราปทานที่ ๖ (๑๑๖) ว่าด้วยผลแห่งการบูชาด้วยดนตรีและดอกไม้

 
บ้านธัมมะ
วันที่  27 พ.ย. 2564
หมายเลข  41109
อ่าน  338

[เล่มที่ 71] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 396

เถราปทาน

มหาปริวารวรรคที่ ๑๒

จิตกปูชกเถราปทานที่ ๖ (๑๑๖)

ว่าด้วยผลแห่งการบูชาด้วยดนตรีและดอกไม้


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 71]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 396

จิตกปูชกเถราปทานที่ ๖ (๑๑๖)

ว่าด้วยผลแห่งการบูชาด้วยดนตรีและดอกไม้

[๑๑๘] ข้าพระองค์เป็นรุกขเทวดา พร้อมด้วยอำมาตย์และบริวาร อยู่ที่ไม้เกด เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าสิขี ผู้เป็น เผ่าพันธุ์ของโลก ปรินิพพานแล้ว.

ข้าพระองค์มีจิตเลื่อมใสโสมนัส ได้ไปสู่พระจิตกาธาร ประโคมดนตรี ณ ที่นั้น โปรยของหอมและดอกไม้บูชา.

ข้าพระองค์มีจิตเลื่อมใสโสมนัส ทำการบูชาที่พระจิตกาธาร ไหว้พระจิตกาธารแล้วกลับมาสู่ภพของตน.

ข้าพระองค์เข้าไปในภพแล้ว ยังระลึกถึงการบูชาพระจิตกาธาร ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมสัตว์เชษฐบุรุษของโลก ประเสริฐกว่านระ ด้วยกรรมนั้น.

ข้าพระองค์ได้เสวยสมบัติในเทวดาและมนุษย์แล้ว ละ ความชนะและความแพ้แล้ว บรรลุถึงฐานะอันไม่หวั่นไหว.

ในกัปที่ ๓๑ แต่กัปนี้ ข้าพระองค์บูชาพระจิตกาธารด้วย ดอกไม้ใด ด้วยกรรมนั้น ข้าพระองค์ไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็น ผลแห่งการบูชาพระจิตกาธาร.

ในกัปที่ ๒๙ แต่กัปนี้ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๑๖ ครั้ง มีพระนามชื่อว่าอุคคตะ มีพละมาก.

คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ อภิญญา ๖ เราได้ทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 397

ทราบว่า ท่านพระจิตกปูชกเถระได้กล่าคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ ฉะนี้แล.

จบจิตกปูชกเถราปทาน

๑๑๖. อรรถกถาจิตกปูชกเถราปทาน

อปทานของท่านพระจิตกปูชกเถระ อันมีคำเริ่มต้นว่า วสามิ ราชายตเน ดังนี้.

แม้พระเถระรูปนี้ ก็ได้เคยบำเพ็ญกุศลมาแล้ว ในพระพุทธเจ้า พระองค์ก่อนๆ เบื้องหน้าแต่ที่ได้เกิดแล้วในภพ จะสร้างสมแต่บุญอัน เป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพาน ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนาม ว่า สิขี ได้เกิดเป็นรุกขเทวดาอยู่ประจำไม้เกด ในระหว่างนั้น ได้ฟังธรรม ร่วมกับพวกเทวดา เลื่อมใสแล้ว เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าปรินิพพานแล้ว ตนพร้อมกับบริวารช่วยกันถือของหอม เทียน ธูป ดอกไม้ และเภรี เป็นต้น ไปยังสถานที่ประชุมเพลิงพระบรมศพของพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้ว บูชาด้วยเทียนเป็นต้นแล้ว ก็บูชาพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ด้วยดนตรีและสังคีตนานาชนิด. ตั้งแต่นั้นมา ถึงตนเองจะกลับไปยังภพ ของตนแล้วก็ตาม ยังคงระลึกถึงพระผู้มีพระภาคเจ้าเหมือนเดิม คล้ายกับ ว่ากำลังถวายบังคมอยู่เฉพาะพระพักตร์. ด้วยบุญนั้นนั่นแหละ เทพบุตร นั้นมีจิตเลื่อมใส จุติจากต้นเกดไปเกิดยังภพมีภพดุสิตเป็นต้น เสวย ทิพยสมบัติแล้ว ต่อแต่นั้น (ก็ได้มาเกิด) ในมนุษย์ เสวยมนุษยสมบัติ ในพุทธุปบาทกาลนี้ เขาได้มาเกิดในเรือนที่มีสกุล พอบรรลุนิติภาวะ

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 398

แล้ว มีจิตเลื่อมใสในพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงบวชในพระศาสนาของ พระผู้มีพระภาคเจ้า ไม่นานนักก็ได้เป็นพระอรหันต์.

ในกาลต่อมา ท่านได้ระลึกถึงบุพกรรมของตนได้ เกิดความ โสมนัส เมื่อจะประกาศถึงเรื่องราวที่ตนเคยได้ประพฤติมาแล้วในกาลก่อน จึงกล่าวคำเริ่มต้นว่า วสามิ ราชายตเน ดังนี้. บทว่า ราชายตเน ได้แก่ ที่อยู่ของพวกเทวดา ชื่อราชายตนะ. อีกอย่างหนึ่ง คำว่า ราชายตนะนั้น เป็นชื่อของต้นไม้. บทว่า ปรินิพฺพุเต ภควติ เชื่อมความ ว่า ในเวลาดับขันธปรินิพพานไม่มีอะไรเหลือโดยรอบ แห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นเผ่าพันธุ์แห่งโลก พระนามว่า สิขี ผู้ปรินิพพานแล้ว. บทว่า จิตกํ อคมาสหํ วิเคราะห์ว่า ชื่อว่า จิตะ เพราะเป็นสถานที่ที่พวก คนก่อทำให้เป็นกองด้วยไม้หอม มีไม้จันทน์ ไม้กฤษณา ไม้เทพทาโร ไม้การบูร และไม้กระวานเป็นต้น. จิตะนั่นแหละ เป็นจิตกะ. อธิบายว่า ข้าพเจ้าได้ไปยังที่ใกล้จิตกาธาร เพื่อบูชาจิตกาธารด้วยความเคารพใน พระพุทธเจ้า. เมื่อจะแสดงถึงหน้าที่ที่ตนไปกระทำในที่นั้น จึงกล่าว คำเป็นต้นว่า ตุริยํ ตตฺถ วาเทตฺวา ดังนี้. คำที่เหลือทั้งหมดนั้น บัณฑิต พอจะรู้ได้เองโดยง่ายทีเดียวแล.

จบอรรถกถาจิตกปูชกเถราปทาน