พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

มัคคสัญญกเถราปทานที่ ๘ (๑๑๘) ว่าด้วยผลแห่งการบอกทางให้แก่พระสาวก

 
บ้านธัมมะ
วันที่  27 พ.ย. 2564
หมายเลข  41111
อ่าน  329

[เล่มที่ 71] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 402

เถราปทาน

มหาปริวารวรรคที่ ๑๒

มัคคสัญญกเถราปทานที่ ๘ (๑๑๘)

ว่าด้วยผลแห่งการบอกทางให้แก่พระสาวก


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 71]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 402

มัคคสัญญกเถราปทานที่ ๘ (๑๑๘)

ว่าด้วยผลแห่งการบอกทางให้แก่พระสาวก

[๑๒๐] พระสาวกทั้งหลายของพระพุทธเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ เที่ยวไปในป่า เป็นผู้หลงทางเหมือนคนตาบอดเที่ยวอยู่ในป่า ใหญ่.

บุตรของพระมุนีเหล่านั้นผู้หลงทางอยู่ในป่าใหญ่ ระลึกถึง พระสัมพุทธเจ้า พระนามว่า ปทุมุตตระ ผู้เป็นนายกของโลก.

ข้าพระองค์ (เป็นเทพบุตร) ลงจากภพมาในสำนักของ พระภิกษุ บอกทางให้แก่พระสาวกเหล่านี้ และได้ถวาย โภชนาหาร.

ข้าแต่พระองค์ผู้จอมสัตว์ เชษฐบุรุษของโลก ประเสริฐ กว่านระ ด้วยกรรมนั้น ข้าพระองค์ได้บรรลุพระอรหัตแต่อายุ ๗ ปีโดยกำเนิด.

ในกัปที่ ๕๐๐ แต่กัปนี้ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๑๒ ครั้ง มีพระนามชื่อว่าสจักขุ ทรงสมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ มีพละมาก.

คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

ทราบว่า ท่านพระมัคคสัญญกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย ประการฉะนี้แล.

จบมัคคสัญญกเถราปทาน

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 403

๑๑๘. อรรถกถามัคคสัญญกเถราปทาน

อปทานของท่านพระมัคคสัญญกเถระ อันมีคำเริ่มต้นว่า ปทุมุตฺ- ตรพุทฺธสฺส ดังนี้.

แม้พระเถระรูปนี้ ก็ได้เคยบำเพ็ญกุศลมาแล้วในพระพุทธเจ้าพระองค์ก่อนๆ ทุกๆ ภพนั้นจะสร้างสมแต่บุญอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานเป็นประจำเสมอ. ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตระ ท่านเกิดเป็นเทพบุตรประจำอยู่หิมวันตประเทศ ไปป่าชี้ทางแก่ พวกพระสาวกผู้หลงทางกำลังค้นหาทางออก และให้พระสาวกทั้งหลาย บริโภค แล้วบอกทางให้. ด้วยบุญอันนั้น เทพบุตรนั้นจึงได้เสวยสวรรค์- สมบัติ และมนุษย์สมบัติ ทุกๆ ภพที่เกิดแล้วทั้งหมด ไม่เคยหลง มีสัญญาแม่นยำ. ต่อมาในพุทธุปบาทกาลนี้ เขาได้บังเกิดในเรือนอันมีสกุล พอบรรลุนิติภาวะแล้ว ไม่ติดใจในฆราวาส จึงบวช ไม่นานก็ได้เป็น พระอรหันต์.

ในกาลต่อมา ท่านได้ระลึกถึงบุพกรรมของตน แล้วเกิดความ โสมนัส เมื่อจะประกาศถึงเรื่องราวที่ตนเคยได้ประพฤติมาแล้วในกาลก่อน จึงกล่าวคำเริ่มต้นว่า ปทุมุตฺตรพุทฺธสฺส ดังนี้. บทว่า สาวกา วนจาริโน เชื่อมความว่า ชื่อว่า สาวก เพราะตั้งใจฟังคำสั่งสอนที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสแสดงโดยชอบคือโดยความเอื้อเฟื้อ หรืออีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า สาวก เพราะตั้งใจฟังพระสัทธรรม โดยส่งญาณไปตามแนวพระธรรมเทศนาของ

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 404

พระผู้มีพระภาคเจ้า โดยความว่า พระสาวกทั้งหลายผู้เที่ยวจาริกไปในป่า หลงทางคล้ายกับคนตาบอดปราศจากดวงตา ฉะนั้น จึงได้แต่เที่ยวหา ช่องทาง. คำที่เหลือในที่ทุกแห่งมีเนื้อความง่ายทั้งนั้น.

จบอรรถกถามัคคสัญญกเถราปทาน