พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

ปัจจุปัฏฐานสัญญกเถราปทานที่ ๙ (๑๑๙) ว่าด้วยผลแห่งการทำกรรมที่ได้โดยยาก

 
บ้านธัมมะ
วันที่  27 พ.ย. 2564
หมายเลข  41112
อ่าน  319

[เล่มที่ 71] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 405

เถราปทาน

มหาปริวารวรรคที่ ๑๒

ปัจจุปัฏฐานสัญญกเถราปทานที่ ๙ (๑๑๙)

ว่าด้วยผลแห่งการทํากรรมที่ได้โดยยาก


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 71]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 405

ปัจจุปัฏฐานสัญญกเถราปทานที่ ๙ (๑๑๙)

ว่าด้วยผลแห่งการทํากรรมที่ได้โดยยาก

[๑๒๑] ในลำดับกาล เมื่อพระสุคตเจ้าพระนามว่าอัตถทัสสี เสด็จนิพพาน ในกาลนั้น ข้าพระองค์เข้าถึงกำเนิดยักษ์และ บรรลุถึงยศ.

ข้าพระองค์คิดว่า ความได้ด้วยยาก แสงสว่างได้ด้วยยาก การตั้งขึ้นยาก ได้มีแก่เราแล้วหนอ เมื่อโภคสมบัติของเรา มีอยู่ พระสุคตเจ้าผู้มีพระจักษุปรินิพพานเสียแล้ว ดังนี้.

พระสาวกนามว่าสาคระ รู้ความดำริของข้าพระองค์ ท่าน ต้องการจะสอนข้าพระองค์ จึงมาในสำนักของข้าพระองค์ กล่าวว่า

จะโศกเศร้าทำไมหนอ อย่ากลัวเลย จงประพฤติธรรม เถิดท่านผู้มีเมธาดี พระพุทธเจ้าทรงส่งเสริมวิทยาสมบัติของ ชนทั้งปวงว่า

ผู้ใดพึงบูชาพระสัมพุทธเจ้าผู้เป็นนายกของโลก ยังดำรง พระชนม์อยู่ก็ดี พึงบูชาพระธาตุแม้ประมาณเท่าเมล็ดผักกาด ของพระพุทธเจ้า แม้นิพพานแล้วก็ดี.

เมื่อจิตอันเลื่อมใสของผู้นั้นเสมอกัน บุญก็มีผลมาก เสมอกัน เพราะฉะนั้น ท่านจงทำสถูปบูชาพระธาตุของพระชินเจ้าเถิด.

ข้าพระองค์ได้ฟังวาจาของท่านสาคระแล้ว ได้ทำพุทธสถูป ข้าพระองค์บำรุงพระสถูปอันอุดมของพระมุนีอยู่ ๕ ปี.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 406

ข้าแต่พระองค์ผู้จอมสัตว์ เชษฐบุรุษของโลก ประเสริฐ กว่านระ ด้วยกรรมนั้น ข้าพระองค์เสวยสมบัติแล้วได้บรรลุ อรหัต.

ในกัปที่ ๗๐๐ แต่กัปนี้ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๔ ครั้ง มีพระนามว่าภูริปัญญา ทรงสมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ มีพละมาก.

คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

ทราบว่า ท่านพระปัจจุปัฏฐานสัญญกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย ประการฉะนี้แล.

จบปัจจุปัฏฐานสัญญกเถรา

๑๑๙. อรรถกถาปัจจุปัฏฐานสัญญกเถราปทาน

อปทานของท่านพระปัจจุปัฏฐานสัญญกเถระ อันมีคำเริ่มต้นว่า อตฺถทสฺสิมฺหิ สุคเต ดังนี้.

แม้พระเถระรูปนี้ ก็ได้เคยบำเพ็ญกุศลมาแล้วในพระพุทธเจ้าพระองค์ก่อนๆ ทุกๆ ภพนั้นจะสร้างสมแต่บุญอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานเป็นประจำเสมอ ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 407

อัตถทัสสี ท่านได้บังเกิดในกำเนิดยักษ์ เพราะความที่ไม่ได้เข้าเฝ้าในขณะ พระผู้มีพระภาคเจ้ายังทรงพระชนม์อยู่ ภายหลังเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ปรินิพพานแล้ว เขาจึงได้รับความเศร้าโศกเป็นอย่างมาก. จริงอยู่ ใน ครั้งนั้น อัครสาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น มีนามว่า สาวก เมื่อจะพร่ำสอนเขาจึงกล่าวว่า การบูชาพระสารีริกธาตุของพระผู้มีพระพระภาคเจ้า ย่อมมีผลมาก คล้ายกับทำการบูชาในขณะพระผู้มีพระภาคเจ้า ยังทรงพระชนม์อยู่ อำนาจแห่งจิตที่เลื่อมใสในพระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อม มีผลมากมาย จึงชักชวนเขาให้สร้างสถูปด้วยคำว่า ท่านจงสร้างสถูปเถิด. ครั้นเขาได้บูชาพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นแล้ว จุติจากกำเนิดยักษ์ นั้นแล้ว ได้เสวยสวรรค์สมบัติในเทวโลก และจักรพรรดิสมบัติใน มนุษยโลกแล้ว ในพุทธุปบาทกาลนี้ ได้เกิดในเรือนอันมีตระกูลแห่ง หนึ่งในพระนครสาวัตถี บรรลุนิติภาวะแล้ว เลื่อมใสในพระศาสดา บวช แล้วไม่นานนักก็ได้เป็นพระอรหันต์.

ในกาลต่อมา ท่านระลึกถึงบุพกรรมของตนเองได้ เกิดความ โสมนัส เมื่อจะประกาศถึงเรื่องราวที่ตนเคยได้ประพฤติมาแล้วในกาลก่อน จึงกล่าวคำเริ่มต้นว่า อตฺถทสฺสิมฺหิ สุคเต ดังนี้. ถ้อยคำนั้นทั้งหมด ข้าพเจ้าได้กล่าวไว้แล้วในหนหลังแล. ส่วนในบทว่า ยกฺขโยนึ อุปปชฺชึ นี้ มีวิเคราะห์ว่า ชื่อว่า ยักษ์ เพราะเมื่อจะเคี้ยวกินเพื่อนบ้านของตน หรือสัตว์ทั้งหลายที่มาถึงเข้า ย่อมวิ่งไล่ขับจับ. กำเนิด คือชาติของพวก ยักษ์ ชื่อว่า กำเนิดยักษ์. อธิบายว่า เกิดในกำเนิดยักษ์.

บทว่า ทุลฺลทฺธํ วต เม อาสิ ความว่า ยศที่เราได้รับแล้ว นับว่าเป็นยศที่ได้มาโดยยาก. เราได้รับความล้มเหลว เพราะไม่ได้ทำ

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 408

สักการะแด่พระศาสดาผู้เป็นพระพุทธเจ้า. บทว่า ทุปฺปภาตํ ความว่า ราตรีนั้นรุ่งสว่างได้โดยยาก, คือกระทำราตรีให้สว่างได้ยาก อธิบายว่า เราทำปัญญาให้สว่างได้ยาก. บทว่า ทุรุฏฺิตํ แปลว่า ขึ้นได้ยาก. อธิบายว่า การขึ้นไปแห่งพระอาทิตย์ยาก หรือการลุกขึ้นทำความเพียร ของเราก็ยาก คำที่เหลือในที่ทุกแห่งมีเนื้อความง่ายทั้งนั้น.

จบอรรถกถาปัจจุปัฏฐานสัญญกเถราปทาน