พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

ปายาสทายกเถราปทานที่ ๓ (๑๒๓) ว่าด้วยผลแห่งการถวายข้าวปายาสใส่ถาดสําริด

 
บ้านธัมมะ
วันที่  27 พ.ย. 2564
หมายเลข  41116
อ่าน  305

[เล่มที่ 71] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 419

เถราปทาน

เสเรยยวรรคที่ ๑๓

ปายาสทายกเถราปทานที่ ๓ (๑๒๓)

ว่าด้วยผลแห่งการถวายข้าวปายาสใส่ถาดสําริด


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 71]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 419

ปายาสทายกเถราปทานที่ ๓ (๑๒๓)

ว่าด้วยผลแห่งการถวายข้าวปายาสใส่ถาดสำริด

[๑๒๕] เราต้องการบวงสรวงบูชายัญ จึงคดข้าวปายาสใส่ในถาด สำริดด้วยมือของตน แล้วไปสู่ป่างิ้ว ได้เห็นพระสัมพุทธเจ้า มีพระฉวีวรรณดังทองคำ มีพระลักษณะประเสริฐ ๓๒ ประการ แวดล้อมด้วยภิกษุสงฆ์ เสด็จออกจากป่าใหญ่.

สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเชษฐบุรุษของโลกประเสริฐ กว่านระ เสด็จขึ้นเดินจงกรมในอากาศอันเป็นทางลม เรา เห็นความอัศจรรย์อันไม่เคยเป็นขนลุกชูชันนั้นแล้ว วางถาด สำริดลง ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าวิปัสสี.

ทูลว่า ข้าแต่พระมหามุนี พระองค์เป็นพระสัพพัญญู พุทธเจ้าในโลก พร้อมทั้งเทวโลกและมนุษย์โลก ขอจงทรง อนุเคราะห์รับข้าวปายาสของข้าพระองค์เถิด.

พระผู้มีพระภาคเจ้าสัพพัญญูผู้นำของโลก เป็นศาสดา ผู้ยอดเยี่ยมในโลก ทรงทราบความดำริของเราแล้ว ทรงรับ.

ในกัปที่ ๙๑ แต่กัปนี้ เราได้ถวายทานใดในกาลนั้น ด้วย ทานนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการถวายข้าว ปายาส.

ในกัปที่ ๔๑ แต่กัปนี้ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิจอมกษัตริย์ พระนามว่าพุทโธ ทรงสมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ มี พละมาก.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 420

คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้. ทราบว่า ท่านพระปายาสทายกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย ประการฉะนี้แล.

จบปายาสทายกเถราปทาน

๑๒๓. อรรถกถาปายาสทายกเถราปทาน

อปทานของท่านพระปายาสทายกเถระ มีคำเริ่มต้นว่า สุวณฺณวณฺโณ สมฺพุทฺโธ ดังนี้.

แม้พระเถระรูปนี้ ก็ได้เคยบำเพ็ญกุศลมาแล้วในพระพุทธเจ้าพระองค์ก่อนๆ ทุกๆ ภพนั้นจะสั่งสมแต่บุญอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพาน เป็นประจำเสมอ ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า วิปัสสี ท่านได้เกิดในเรือนอันมีสกุลแห่งหนึ่ง ซึ่งสมบูรณ์ด้วยสมบัติ บรรลุนิติ- ภาวะแล้ว อยู่ครอบครองเรือน ก็สมบูรณ์ด้วยสมบัติ เช่น ช้าง ม้า เงิน ธัญญชาติ และรัตนะ ๗ ประการเป็นต้น ถึงพร้อมด้วยศรัทธา เชื่อ กรรมและผลแห่งกรรม สั่งให้คนใช้ทำถาดทองคำประมาณ ๑,๐๐๐ ถาด แล้วให้เขาบรรจุนมสดและข้าวปายาสจนเต็มในถาด ๑,๐๐๐ ถาดนั้น แล้ว ให้ถือถาดทั้งหมดนั้นไปยังป่าไม้งิ้ว. สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 421

พระนามว่า วิปัสสี ทรงเปล่งพระรัศมีมีพรรณ ๖ ประการ เนรมิตที่จง กรมในอากาศ เสด็จจงกรมอยู่. ฝ่ายเศรษฐีนั้นได้มองเห็นความอัศจรรย์ นั้นแล้วเลื่อมใสยิ่งนัก จึงวางถาดทั้งหมดลงถวายบังคมแล้ว กราบทูล เพื่อให้ทรงรับ. ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอาศัยความอนุเคราะห์ รับแล้ว ก็แลครั้นทรงรับแล้ว เพื่อจะให้เศรษฐีนั้นเกิดความโสมนัส พระองค์พร้อมกับภิกษุสงฆ์ประมาณ ๑,๐๐๐ รูป จึงได้เสวย ภิกษุ หลายพันรูปฉันอาหารนั้นไม่เหลือเลย ด้วยบุญนั้น เศรษฐีนั้นจึงได้ท่อง เที่ยวไปในสุคติภพทั้งหลาย ในพุทธุปบาทกาลนี้ ได้บังเกิดในเรือนอันมี สกุล บรรลุนิติภาวะแล้ว ได้มีศรัทธาบวชแล้ว ไม่นานนักก็ได้เป็นพระอรหันต์.

ในกาลต่อมา ท่านพิจารณาถึงกุศลกรรมของตน ระลึกถึงกุศลนั้น ได้ เกิดความโสมนัส เมื่อจะประกาศถึงเรื่องราวที่ตนเคยได้ประพฤติมา แล้วในกาลก่อน จึงกล่าวคำเริ่มต้นว่า สุวณฺณวณฺโณ สมฺพุทฺโธ ดังนี้. ถ้อยคำนั้นทั้งหมด ข้าพเจ้าได้กล่าวไว้แล้วในหนหลังแล. บทว่า จงฺกมํ สุสมารุฬฺโห มีวิเคราะห์ว่า ชื่อว่า จังกมะ เพราะเปล่งรัศมีการทำการ ย่างเท้า ก้าวไปคือเดินไป, อธิบายว่า ประเทศแห่งแผ่นดินเป็นที่รองรับ ย่างเท้าก้าวไป ชื่อว่า การจงกรม เชื่อมความว่า การจงกรมนั้น เป็น ศัพท์รู้ได้ง่าย. บทว่า อมฺพเร อนิลายเน มีวิเคราะห์ว่า ชื่อว่า วระ เพราะเป็นเครื่องป้องกันปกปิด ชื่อว่า อัมพระ เพราะไม่มีเครื่องป้องกัน ปกปิด, อธิบายว่า อากาศคล้ายกับผ้าสีขาว. ชื่อว่า อนิละ เพราะไม่มี ที่แอบซ่อน ป้องกัน, ชื่อว่า อายนะ เพราะมีฤทธิ์เป็นเครื่องไปได้

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 422

รอบด้าน, อนิละด้วย อายนะนั้นด้วย รวมเรียกว่า อนิลายนะ อธิบายว่า ทรงเนรมิตที่จงกรมในอากาศอันเป็นทางลมนั้น. คำที่เหลือในที่ทุกแห่ง มีเนื้อความง่ายทั้งนั้น.

จบอรรถกถาปายาสทายกเถราปทาน