พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

คันโธทกิยเถราปทานที่ ๔ (๑๒๔) ว่าด้วยผลแห่งการประพรมน้ําหอม

 
บ้านธัมมะ
วันที่  27 พ.ย. 2564
หมายเลข  41117
อ่าน  370

[เล่มที่ 71] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 423

เถราปทาน

เสเรยยวรรคที่ ๑๓

คันโธทกิยเถราปทานที่ ๔ (๑๒๔)

ว่าด้วยผลแห่งการประพรมน้ำหอม


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 71]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 423

คันโธทกิยเถราปทานที่ ๔ (๑๒๔)

ว่าด้วยผลแห่งการประพรมน้ำหอม

[๑๒๖] เรานั่งอยู่ในปราสาทอันประเสริฐ ได้เห็นพระชินเจ้า พระนามว่า วิปัสสี งามดังไม้รกฟ้า ผู้กำจัดความมืด ผู้เป็น สัพพัญญู เป็นผู้นำอันอุดม.

พระองค์ผู้นำของโลก เสด็จดำเนินในที่ไม่ไกลปราสาท รัศมีของพระองค์สว่างไสว ในเมื่อพระอาทิตย์อัสดงคตแล้ว.

เราประคองน้ำหอม ประพรม (บูชา) พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด ด้วยจิตอันเลื่อมใสนั้น เราทำกาลกิริยา ณ ที่นั้น.

ในกัปที่ ๙๑ แต่กัปนี้ เราได้ประพรมน้ำหอมใด ด้วย กรรมนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา.

ในกัปที่ ๓๑ แต่กัปนี้ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิจอมกษัตริย์ พระนามว่าสุคันธะ ทรงสมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ มี พละมาก.

คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

ทราบว่า ท่านพระคันโธทกิยเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย ประการฉะนี้แล.

จบคันโธทกิยเถราปทาน

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 424

๑๒๔. อรรถกถาคันโธทกิยเถราปทาน

อปทานของท่านพระคันโธทถิยเถระ มีคำเริ่มต้นว่า นิสชฺช ปาสาทวเร ดังนี้.

แม้พระเถระรูปนี้ ก็ได้เคยบำเพ็ญกุศลมาแล้ว ในพระพุทธเจ้า พระองค์ก่อนๆ ทุกๆ ภพนั้นจะสั่งสมแต่บุญอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพาน ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า วิปัสสี ท่าน ได้เกิดในตระกูลเศรษฐี บรรลุนิติภาวะแล้ว มีทรัพย์มากมาย มีโภคสมบัติ มากมาย เสวยความสุขในโลกมนุษย์ คล้ายกับเสวยความสุขอันเป็นทิพย์ ฉะนั้น วันหนึ่งนั่งอยู่ในปราสาทอันประเสริฐ. ในกาลนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จดำเนินไปตามถนน คล้ายกับเสด็จดำเนินไปบนภูเขา ทองลูกใหญ่ฉะนั้น เขาได้พบพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เสด็จดำเนินไปนั้นแล้ว มีใจเลื่อมใส เข้าไปถวายบังคมแล้ว ประคองน้ำหอมอย่างดี ประพรม บูชาพระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วยบุญนั้น เขาได้ท่องเที่ยวไปในเทวโลกและ มนุษยโลก ในพุทธุปบาทกาลนี้ เขาได้เกิดในเรือนอันมีสกุลแห่งหนึ่ง บรรลุนิติภาวะแล้ว ไม่ติดใจในทางฆราวาส ได้บวชในสำนักของพระศาสดา เรียนกัมมัฏฐาน เจริญวิปัสสนาไม่นานนักก็ได้เป็นพระอรหันต์.

ในกาลต่อมา ท่านระลึกถึงกุศลกรรมในครั้งก่อนของตนได้ เกิด ความโสมนัส เมื่อจะประกาศถึงเรื่องราวที่ตนเคยได้ประพฤติมาแล้วใน กาลก่อน จึงกล่าวคำเริ่มต้นว่า นิสชฺช ปาสาทวเร ดังนี้. บรรดาบท เหล่านั้น บทว่า ปาสาโท มีวิเคราะห์ว่า ชื่อว่า ปราสาท เพราะให้ ความเลื่อมใส คือความดีใจเกิดขึ้น คืออุบัติขึ้น, อธิบายว่า ทำความ

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 425

เลื่อมใสให้บังเกิดขึ้นแก่มวลชน ผู้เข้าไปเห็นความวิจิตรต่างๆ เช่น มาลากรรม จิตรกรรม และสุวรรณกรรม เป็นต้น ในปราสาทนั้น. ปราสาทด้วย ความประเสริฐ เพราะอรรถว่า อันบุคคลพึงปรารถนานั้น ด้วย รวมเรียกว่า ปาสาทวระ, เชื่อมความว่า เรานั่งอยู่ในปราสาทอัน ประเสริฐนั้น ได้เห็นพระชินวรพุทธเจ้าพระนามว่า วิปัสสี. คำที่เหลือ ในที่ทุกแห่งมีเนื้อความง่ายทั้งนั้น.

จบอรรถกถาคันโธทกิยเถราปทาน