พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

ผลทายกเถราปทานที่ ๗ (๑๒๗) ว่าด้วยผลแห่งการถวายเมล็ดบัว

 
บ้านธัมมะ
วันที่  27 พ.ย. 2564
หมายเลข  41120
อ่าน  298

[เล่มที่ 71] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 435

เถราปทาน

เสเรยยวรรคที่ ๑๓

ผลทายกเถราปทานที่ ๗ (๑๒๗)

ว่าด้วยผลแห่งการถวายเมล็ดบัว


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 71]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 435

ผลทายกเถราปทานที่ ๗ (๑๒๗)

ว่าด้วยผลแห่งการถวายเมล็ดบัว

[๑๒๙] เรา (เป็นพราหมณ์) ผู้เล่าเรียน ทรงจำมนต์รู้จบไตรเพท อยู่ในอาศรมในที่ไม่ไกลภูเขาหิมวันต์.

เครื่องบูชาไฟเมล็ดบัวขาวของเรามีอยู่ เราใส่ไว้ในห่อ แล้วห้อยไว้บนยอดไม้.

พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ ทรงรู้แจ้งโลก สมควรรับเครื่องบูชา พระองค์ประสงค์จะถอนเราขึ้น จึงเสด็จภิขามาที่เรา

เรามีจิตเลื่อมใสมีใจโสมนัส ได้ถวายเมล็ดบัวแด่พระพุทธเจ้า พระศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้ามีพระฉวีวรรณดัง ทองคำ สมควรรับเครื่องบูชา ทรงยังปีติให้เกิดแก่เรา ทรง นำสุขมาให้เราในปัจจุบัน ประทับยืนอยู่ในอากาศได้ตรัส คาถาพระนี้ว่า

ด้วยการถวายเมล็ดบัวนี้ และด้วยการตั้งเจตนาไว้ ผู้นี้ จะไม่เข้าถึงทุคติเลยตลอดแสนกัป.

ด้วยกุศลมูลนั้นนั่นแล เราได้เสวยสมบัติแล้ว ละความ ชนะและความแพ้ บรรลุถึงฐานะอันไม่หวั่นไหว.

ในกัปที่ ๗๐๐ แต่กัปนี้ เราได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิราช มีนามว่าสุมังคละ สมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ มีพละมาก.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 436

คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา วิโมกข์ ๘ และ อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

ทราบว่า ท่านพระผลทายกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการ ฉะนี้แล.

จบผลทายกเถราปทาน

๑๒๗. อรรถกถาผลทายกเถราปทาน

อปทานของท่านพระผลทายกเถระ มีคำเริ่มต้นว่า อชฺฌายโก มนฺตธโร ดังนี้.

แม้พระเถระรูปนี้ ก็ได้เคยบำเพ็ญกุศลมาแล้วในพระพุทธเจ้า พระองค์ก่อนๆ หลายๆ ภพที่ผ่านมาจะสั่งสมแต่บุญอันเป็นอุปนิสัย แห่งพระนิพพานเป็นประจำเมื่อ ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าทรง พระนามว่าปทุมุตตระ ท่านได้เกิดในตระกูลพราหมณ์ บรรลุนิติภาวะแล้ว ศึกษาจบศิลปศาสตร์ของตนคือไตรเพท เป็นอาจารย์ของพวกพราหมณ์ จำนวนหลายพันคน (ต่อมา) มองไม่เห็นที่สุดแห่งศิลปะทั้งหลายของตน และมองไม่เห็นสาระประโยชน์ในศิลปะนั้น จึงละเพศฆราวาสบวชเป็น ฤๅษี สร้างอาศรมอยู่ไม่ไกลจากหิมวันต์ประเทศนัก เลี้ยงชีวิตอยู่ร่วมกับ พวกศิษย์. ในสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า ปทุมุตตระ เสด็จไปภิกขาจารถึงยังประเทศถิ่นนั้น เพื่อจะทรงอนุเคราะห์เขา. ดาบส

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 437

พอได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ก็มีจิตเลื่อมใส ได้ถวายเมล็ดบัวชนิด อร่อย ที่เก็บไว้ในห่อเพื่อส่วนตัวแล้ว คล้องไว้ที่ปลายไม้ ถวายพร้อม กับน้ำผึ้ง. พระผู้มีพระภาคเจ้าเสวยในขณะที่เขากำลังมองดูอยู่นั้นแล เพื่อให้เขาเกิดความโสมนัสแล้ว ประทับยืนในอากาศ ตรัสแสดงอานิสงส์ แห่งผลทานแล้วก็เสด็จหลีกไป.

ด้วยบุญอันนั้น เขาท่องเที่ยวไปในเทวโลกแลมนุษยโลก ได้เสวย สมบัติทั้งสองแล้ว ในพุทธุปบาทกาลนี้ เขาได้เกิดในเรือนอันมีสกุล แห่งหนึ่ง ซึ่งสมบูรณ์ด้วยสมบัติ เพียงอายุได้ ๗ ปีเท่านั้นก็บรรลุ พระอรหัต ได้ระลึกถึงกุศลกรรมที่คนเคยทำไว้ในปางก่อนไค้ เกิดความ โสมนัส เมื่อจะประกาศถึงเรื่องราวที่ตนเคยได้ประพฤติมาแล้วในกาลก่อน จึงกล่าวคำเริ่มต้นว่า อชฺฌายโก มนฺตธโร ดังนี้. พึงทราบวิเคราะห์ ในบทนั้นดังนี้ ชื่อว่า อชฺฌายิ เพราะย่อมศึกษา คือ ย่อมคิด, อชฺฌายิ ก็คือ อชฺฌายโก แปลว่า ผู้ศึกษาเล่าเรียน. จริงอยู่ อักษรในบทว่า อชฺฌายโก นี้ ย่อมเป็นไปในอรรถ ๑๐ ประการ ดังที่ท่านกล่าวไว้ อย่างนี้ว่า อักษรเป็นไปในอรรถปฏิเสธ ในความเจริญ ในความเป็น เช่นนั้น ฯลฯ ในความว่างเปล่า และในอรรถว่า เล็กน้อย. อธิบายว่า อชฺฌายโก ก็คือ เป็นคนช่างคิด เพราะอรรถว่า ย่อมศึกษาเล่าเรียน ย่อมคิดถึงสิ่งที่เป็นประโยชน์ ได้แก่ย่อมทำการสาธยาย ด้วยวิธีฟังและ จำเป็นต้นของพวกศิษย์. ชื่อว่า มันตธโร เพราะอรรถว่า ย่อมทรงจำ ทบทวนร่ายมนต์ทั้งหมดตามที่ศึกษาเล่าเรียนในสำนักของอาจารย์ได้จนขึ้น ใจ. บทว่า ติณฺณํ เวทาน ปารคู ความว่า ญาณท่านก็เรียกอย่างนี้

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 438

เหมือนกัน, ที่เรียกว่า เวท เพราะพึงทราบ คือ พึงตรัสรู้ได้ด้วยเวท, คัมภีร์ทั้ง ๓ คือ อิรุพเวท ยชุรเวท สามเวท, ชื่อว่าปารคู เพราะบรรลุ ถึงฝั่ง คือที่สุดยอดแห่งเวททั้ง ๓ เหล่านั้น. คำที่เหลือมีเนื้อความปรากฏ ชัดแล้วทั้งหมดแล.

จบอรรถกถาผลทายกเถราปทาน